นรารัตน์

วันพฤหัสบดีที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2555

รูปภาพสมุนไพรที่น่ารู้จัก











































วีธีการปลูกพืชสมุนไพร



การปลูกและการดูแลรักษาพืชสมุนไพร
 
หลักการทั่วไปของการปลูกและการดูแลรักษาพืชทั่วไปและพืชสมุนไพรไม่แตกต่างกันแต่ ความอุดมสมบูรณ์ของพืชสมุนไพรจะเป็นเครื่องชี้บอกคุณภาพของสมุนไพรได้ พืชสมุนไพรต้องการการปลูก และการดูแลรักษาใกล้เคียงกับลักษณะธรรมชาติของพืชสมุนไพรนั้นมากที่สุด เช่นว่านหางจระเข้ ต้องการดินปนทราย และอุดมสมบูรณ์ แดดพอเหมาะ หรือ ต้นเหงือกปลาหมอ ชอบขึ้นในที่ดินเป็นเลนและที่ดินกร่อยชุ่มชื้น เป็นต้น หากผู้ปลูกสมุนไพรเข้าใจสิ่งเหล่านี้จะทำให้สามารถเลือกวิธีปลูกและจัดสภาพแวดล้อมของต้นไม้ได้เหมาะสมพืชสมุนไพรก็จะเจริญเติบโตดี เป็นผลทำให้คุณภาพพืชสมุนไพรที่นำมารักษาโรคมีฤทธิ์ดีขึ้นด้วย
การปลูกและการบำรุงรักษาพืชสมุนไพร โดยอาศัยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ในประเทศไทย ยังไม่จริงจังเท่าที่ควร บางประเทศได้ทดลองเพื่อหาคำตอบว่า สภาพแวดล้อมอย่างไรจึงจะทำให้สาระสำคัญในพืชสมุนไพรชนิดนั้น ๆ มากที่สุด ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือมากกว่าหนึ่งหน่วยงาน หรือการหาคำตอบว่าวิธีการขยายพันธุ์พืชสมุนไพรแต่ละชนิดจะทำอย่างไร จึงจะเหมาะสมและประหยัดมากที่สุด ในประเทศไทยหน่วยงานของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์มีงานวิจัยด้านนี้อยู่บ้างและกำลังค้นคว้าไปต่อไป การปลูกพืชสมุนไพรเป็นการนำเอาส่วนของพืช เช่น เมล็ด หน่อ กิ่ง หัว ผ่านการเพาะหรือการชำหรือวิธีการอื่นๆ ใส่ลงในดิน หรือวัสดุอื่น เพื่อให้งอกหรือเจริญเติบโตต่อไป
ลักษณะการปลูกพืชสมุนไพร
การปลูกพืชสมุนไพรบนพื้นดิน หมายถึงการนำเอาพันธุ์ไม้มาปลูกในสถานที่ที่เป็นพื้นดิน ถ้าพันธุ์ที่ปลูกเป็นพันธุ์ไม้ยืนต้นหรือไม้พุ่ม จะปลูกเป็นต้น ๆ ไป โดยขุดหลุมให้มีขนาดกว้างและยาว ประมาณ 1 เมตร ลึกประมาณ 70 เซนติเมตร เวลาขุดเอาดินบนกองไว้ข้างหนึ่ง เอาดินล่างกองไว้อีกข้างหนึ่ง เสร็จแล้วหาหญ้าแห้ง ฟางแห้งและปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักมาใส่ลงในหลุมพอประมาณ แล้วเอาดินบนใส่ลงไปประมาณครึ่งหลุม เพราะดินบนมีความอุดมสมบูรณ์กว่า จากนั้นคลุกเคล้าดินที่เหลือกับปุ๋ยให้เข้ากันดีนำใส่ลงในหลุมและนำต้นไม้ลงปลูกหลุมละ 1 ต้น กดดินให้แน่นพอควร หากพืชต้นสูงก็ควรหาไม้มาปักค้ำยันจนกว่าจะตั้งตัวได้ พืชสมุนไพรส่วนใหญ่จะใช้ปลูกโดยวิธีนี้เนื่องจากพืชสมุนไพรส่วนใหญ่เป็นไม้ยืนต้น เช่น ต้นสะเดา,ชุมเห็ดเทศ,เพกา เป็นต้น
การปลูกในแปลง เตรียมดินโดยการขุดดินและยกร่องให้เป็นแปลงขนาดกว้าง 1 เมตร ยาว 4 เมตร พืชสมุนไพรที่ใช้ปลูกโดยวิธีนี้มักเป็นพืชต้นเล็ก อายุสั้นเพียงฤดูเดียวหรือ สองฤดู เช่น ต้นกะเพรา, หอม, กระเทียม, ฟักทอง เป็นต้น
การปลูกในภาชนะ ปลูกโดยใช้ดินที่ผสมแล้ว มีผลดีคือสามารถเคลื่อนย้ายได้ตามความพอใจ ดูแลรักษาง่าย พืชที่นิยมใช้ปลูกเช่น ต้นฟ้าทะลายโจร, ว่านมหากาฬ, เสลดพังพอน เป็นต้น
ในการปลูกต้นไม้ในภาชนะในบ้านเรา ส่วนใหญ่ใช้กระถางดินเผาเพราะหาได้ง่ายและมีหลายขนาดให้เลือกหรือจะใช้ถุงดำก็จะประหยัดมากขึ้น
การปลูกทำได้หลายวิธี คือ
การปลูกด้วยเมล็ดโดยตรง วิธีนี้ไม่ต้องเพาะเป็นต้นกล้าก่อน นำเมล็ดมาหว่านลงแปลงได้เลย หลังจากนั้นใช้ดินร่วน หรือทรายหยาบโรยทับบาง ๆ รดน้ำให้ชื้นตลอดทั้งวัน เมื่อเมล็ดงอก เป็นต้นอ่อนจึงถอนต้นอ่อนแอออก เพื่อให้มีระยะห่างตามสมควร ปกติมักใช้ในการปลูกผักหรือพืชล้มลุกและพืชอายุสั้น เช่น กะเพรา โหระพา
ส่วนการหยอดลงหลุมโดยตรง มักใช้กับพืชที่มีเมล็ดใหญ่ เช่น ฟักทอง โดยหยอดในแต่ละหลุมมากกว่าจำนวนต้นที่ต้องการ แล้วถอนออกภายหลัง
การปลูกด้วยต้นกล้าหรือกิ่งชำ ปลูกโดยการนำเมล็ดหรือกิ่งชำ ปลูกให้แข็งแรงดีในถุงพลาสติก หรือในกระถางแล้วย้ายไปปลูกในพื้นที่ที่ต้องการ การย้ายต้นอ่อนจากภาชนะเดิมไปยังพื้นที่ที่ต้องการต้องไม่ทำลายราก ถ้าเป็นถุงพลาสติกก็ใช้มีดกรีดถุงออกถ้าเป็นกระถางถอดกระถางออกโดยใช้มือดันรูกลมที่ก้นกระถาง ถ้าดินแน่นมาก ให้ใช้เสียมแซะดินแล้วใช้น้ำหล่อก่อน จะทำให้ถอน ง่ายขึ้น หลุมที่เตรียมปลูกควรกว้างกว่ากระถางหรือถุงพลาสติกเล็กน้อย จึงทำให้ต้นอ่อนเจริญเติบโตได้สะดวก วางต้นไม้ให้ระดับรอยต่อระหว่างลำต้นกับราก อยู่เสมอกับระดับขอบหลุม พอดีแล้วกลบด้วยดินร่วนซุยหรือดินร่วนปนทราย กดดินให้แน่นพอประมาณ นำเศษไม้ใบหญ้ามาคลุมไว้รอบโคนต้น เพื่อรักษาความชุ่มชื้นและป้องกันแรงกระแทกเวลารดน้ำ หาไม้หลักซึ่งสูงมากกว่าต้นไม้มาปักไว้ข้าง ๆ ผูกเชือกยึดกับต้นไม้ คอยพยุงไม้ให้ต้นไม้ล้มหรือโยกคลอนได้ ปกติใช้กับต้น คูน แคบ้าน ชุมเห็ดเทศ สะแก ขี้เหล็ก เป็นต้น หรือใช้กับพันธุ์ไม้ที่งอกยากหรือมีราคาแพง จึงจำเป็นต้องเพาะเมล็ดก่อน
การปลูกด้วยหัว ปกติจะมีหัวที่เกิดจากรากและลำต้น เรียกชื่อแตกต่างกัน ในที่นี้จะรวมเรียกเป็นหัวหมด โดยไม่แยกรายละเอียดไว้
สำหรับการปลูกไม้ประเภทหัว ควรปลูกในที่ระบายน้ำได้ดี มิฉะนั้นจะเน่าได้ การปลูกก็โดยการฝังหัวให้ลึกพอประมาณ (ปกติลึกไม่เกิน 3 เท่า ของความกว้างหัว) กดดินให้แน่นพอสมควร คลุมแปลงปลูกด้วยฟางหรือหญ้าแห้ง เช่น การปลูกหอม กระเทียม การปลูกด้วยหน่อหรือเหง้านั้น อ่านรายละเอียดในการขยายพันธุ์พืชสมุนไพรทบทวนได้ในใบความรู้ลำดับที่ 7
การปลูกด้วยไหล ปกตินิยมเอาส่วนของไหลมาชำไว้ก่อน แล้วจึงย้ายปลูกในพื้นที่ที่เตรียมไว้อีกครั้งหนึ่ง เช่น บัวบก แห้วหมู
การปลูกด้วยจุก หรือตะเกียง โดยการนำจุกหรือตะเกียง มาชำไว้ในดินที่เตรียมไว้ โดยให้ตะเกียงตั้งขึ้นตามปกติ กลบดินเฉพาะด้านล่าง เช่นสับปะรด
การปลูกด้วยใบ เหมาะสำหรับพืชที่มีใบหนาใหญ่และแข็งแรง คล้ายกับการปลูกด้วยส่วนของกิ่งและลำต้น คือการตัดใบไปปักหรือวางบนดินที่ชุ่มชื้นให้เกิดต้นใหม่ เช่น ว่านลิ้นมังกร
การปลูกด้วยราก โดยตัดส่วนของรากไปปักชำให้เกิดต้นใหม่ เช่น ดีปลี เป็นต้น
การปลูกด้วยหน่อหรือเหง้า ในกรณีที่มีต้นพันธุ์อยู่แล้วทำการแยกหน่อที่แข็งแรง โดยตัดแยกหน่อจากต้นแม่ นำหน่อที่ได้ มาตัดรากที่ช้ำหรือใบที่มากเกินไปออกบ้าง แล้วจึงนำไปปลูกในดินที่เตรียมไว้ กดดินให้แน่นและรดน้ำให้ชุ่ม ควรบังร่มเงาให้จนกว่าต้นจะแข็งแรง
สำหรับการปลูกพืชสมุนไพรในกระถางมีขั้นตอนในการปลูกพืช ดังนี้
ก่อนที่จะปลูกต้นไม้ลงในกระถาง จะต้องเลือกกระถางให้มีขนาดที่พอเหมาะกับต้นไม้นั้น เมื่อได้กระถางมาแล้ว ก็ใช้เศษกระถางแตกขนาดประมาณ 2-3 นิ้ว วางปิดรูก้นกระถาง ทุบอิฐมอญเป็นก้อนเล็ก ๆ ใส่ลงก้นกระถางให้สูงประมาณ 1 นิ้วเพื่อช่วยให้เก็บความชื้นและระบายน้ำได้ดีขึ้น
ใช้ดินที่ผสมแล้วใส่ลงไปประมาณครึ่งกระถาง นำต้นไม้วางลงตรงกลางแล้วใส่ดินผสมลงในกระถางจนเกือบเต็ม โดยให้ต่ำกว่าขอบกระถาง 1 นิ้ว กดดินให้แน่นพอประมาณ เพื่อไม่ให้ต้นไม้ล้ม
รดน้ำให้ชุ่มแล้วยกวางในร่มหรือในเรือนเพาะชำจนกว่าต้นไม้จะทรงตัว แล้วจึงยกออกวางกลางแจ้งได้


พืชสมุนไพรบางชนิดที่ปลูกโดยการเพาะเมล็ด


พืช-ระยะปลูก (ต้น แถว)- อัตราการใช้พันธุ์-การเพาะเมล็ด
กระเจี๊ยบแดง 1 x 1.2 ม. ใช้เมล็ด 300 กรัม / ไร่ หยอดหลุมละ 3-5 เมล็ด แล้วถอนแยกเมื่อต้นสูง 20-25 ซม.

กานพลู 4.5 6 ม. จำนวน 60 ต้น / ไร่ เลือกเมล็ดสุกซึ่งมีสีดำ เพาะเมล็ดทันทีเพราะจะสูญเสียอัตรางอกภายใน 1 สัปดาห์


กะเพราแดง 5 15 ซม. ใช้เมล็ด 2 กก. / ไร่ ใช้วิธีหว่าน

ขี้เหล็ก 2 2 ม. จำนวน 400 ต้น / ไร่ แช่เมล็ดในน้ำอุ่น 50 องศาเซลเซียส
3-5 นาที
คำฝอย 30 30-50 ซม. ใช้เมล็ด 2-2.5 กก. / ไร่ ต้องการความชื้น แต่อย่าให้แฉะเมล็ด จะเน่า

ชุมเห็ดเทศ 3 4 ม. จำนวน 130 ต้น / ไร่ เพาะเมล็ดจากฝักแก่จัด เมล็ดสีเทาอมน้ำตาล
มะขามแขก 50 100 ซม. จำนวน 3,000 ต้น / ไร่ หยอดหลุมละ 2-3 เมล็ด แล้วถอนออกให้เหลือหลุมละต้น
ฟ้าทะลายโจร 15 20 ซม. ใช้เมล็ด 400 กรัม / ไร่ เลือกเมล็ดแก่สีน้ำตาลแดงแช่น้ำอุ่น 3-5 นาที โรยเมล็ดบาง ๆ ให้น้ำใน แปลงเพาะอย่างสม่ำเสมอ
มะแว้งเครือ 1 1 ม. จำนวน 1,600 ต้น / ไร่ แช่เมล็ดในน้ำอุ่น 50 องศาเซลเซียส 3-5 นาที เพาะในกระบะ 1 เดือน จึง ย้ายปลูก
ส้มแขก 9 9 ม. จำนวน 20 ต้น / ไร่ มีทั้งต้นตัวผู้และตัวเมีย จึงควรเสียบ ยอดพันธุ์ดีของต้นตัวเมียบนต้นตอที่ เพาะจากเมล็ดอีกครั้งหนึ่ง



พืชสมุนไพรบางชนิดที่ปลูกโดยการโดยใช้ส่วนต่าง ๆ ของลำต้น
พืช-วิธีปลูก-ระยะปลูก(ต้น แถว)-อัตราพันธุ์ที่ใช้ต่อไร่-การเตรียมพันธุ์ปลูก
ดีปลี  ปักชำ 1 1 ม. 1,600 ต้น / ไร่ ตัดเถายาว 4-6 ข้อ เพาะชำในถุง 60 วัน
พริกไทย ปักชำ 2 2 ม. 400 ต้น / ไร่ ใช้ยอดหรือส่วนที่ไม่แก่จัด อายุ 1-2 ปี ตัดเป็นท่อน 5-7 ข้อ
พลู ปักชำ 1.5 1.5 ม. 700 ต้น / ไร่ ตัดเถาเป็นท่อนให้มีใบ 3 - 5 ข้อ
พญายอ ปักชำ 50 50 ซม. 4,000 ต้น / ไร่ ตัดกิ่งพันธุ์ 6 - 8 นิ้ว มีตา 3 ตา ใบยอด 1/3 ของกิ่งพันธุ์
เจตมูลเพลิง ปักชำ 50 50 ซม. 4,000 ต้น / ไร่ ใช้กิ่งกึ่งแก่กึ่งอ่อนปักชำ
อบเชย กิ่งตอน 2 2 ซม. 400 ต้น / ไร่
ฝรั่ง กิ่งตอน 4 4 ม. 100 ต้น / ไร่
ขมิ้นชัน เหง้า 30 30 ซม. 10,000 ต้น / ไร่ เหง้าอายุ 7-9 เดือน แบ่งให้มีตาอย่างน้อย 3-5 ตา
ตะไคร้หอม เหง้า 1.5 1.5 ม. 600 หลุม / ไร่ ตัดแบ่งให้มีข้อ 2-3 ข้อ ตัดปลายใบออกปลูก 3 ต้น / หลุม
ไพล เหง้า 50 50 ซม. 4,000 ต้น / ไร่ เหง้าอายุมากกว่า 1 ปี มีตาสมบูรณ์ 3-5 ตา
บุก หัว 40 40 ซม. 6,000 หัว / ไร่ หัวขนาดประมาณ 200 กรัม ฝังลึกจากผิวดิน 3-5 ซม.
หางไหล ไหล 1.5 1.5 ม. 700 ต้น / ไร่ เลือกขนาดกิ่ง 0.7-1 ซม. มีข้อ 3-4 ข้อ
เร่ว หน่อ 1 1 ม. 1,600 ต้น / ไร่ ตัดแยกหน่อจากต้นเดิมให้มีลำต้นติดมาด้วย
ว่านหางจระเข้  หน่อ50 70 ซม. 4,500 ต้น / ไร่ แยกหน่อขนาดสูง 10-15 ซม.
การดูแลรักษาพืชสมุนไพร




การดูแลรักษาพืชสมุนไพร
การพรางแสง พืชสมุนไพรหลายชนิดต้องการแสงน้อย จึงต้องมีการพรางแสงให้ตลอดเวลา การพรางแสงอาจใช้ตาข่ายพรางแสง หรืออาจปลูกร่วมกับพืชอื่นที่มีร่มเงา ปลูกบริเวณเชิงเขาหรือปลูกในฤดูฝนซึ่งมีช่วงแสงไม่เข้มนัก เช่น บุก ฟ้าทะลายโจร เร่ว หญ้าหนวดแมว เป็นต้น สำหรับพืชสมุนไพรทั่วไปที่อ่อนแออยู่ ก็ควรพรางแสงให้ชั่วระยะหนึ่งจนพืชนั้นตั้งตัวได้ จึงให้แสงตามปกติ การทำค้างในพืชเถาต่าง ๆ ควรทำค้างเพื่อสะดวกในการเก็บผลผลิต การดูแลรักษาและการเจริญเติบโตของพืช เช่น พริกไทย พลู มะแว้งเครือ อัญชัน เป็นต้น
การให้น้ำ ควรให้น้ำอย่างเพียงพอและสม่ำเสมอ ต้องคำนึงถึงความเหมาะสมโดยพิจารณาลักษณะของพืชแต่ละชนิดว่าต้องการน้ำมากหรือน้อย โดยปกติควรให้น้ำอย่างน้อยวันละครั้ง แต่หากเห็นว่าแฉะเกินไปก็เว้นช่วงได้ หรือแห้งเกินไปก็ให้น้ำเพิ่มเติม จึงต้องคอยสังเกตเนื่องจากแต่ละพื้นที่มีสภาพดินและภูมิอากาศแตกต่างกัน การให้น้ำควรให้จนกว่าพืชจะตั้งตัวได้
ระยะเวลาในการให้น้ำที่เหมาะสมที่สุดคือเวลาเช้า เพราะช่วงเวลานี้พืชเริ่มได้รับแสงแดด มีการสังเคราะห์แสง และเริ่มดูดน้ำและแร่ธาตุต่าง ๆ จากดินขึ้นไปใช้ประโยชน์ในกระบวนการเจริญเติบโตและสามารถดูดได้ทั้งวัน ซึ่งเป็นระยะเวลายาวนาน(ตั้งแต่ 07.00-17.00 น.) น้ำที่ให้แก่พืชจึงถูกพืชดูดไปใช้ประโยชน์ได้มากที่สุด ไม่ควรให้น้ำแก่พืชในเวลากลางคืนหรือเวลาเย็นมากเกินไปหรือเมื่อสิ้นแสงแดด เพราะใบของพืชอาจจะไม่แห้ง ซึ่งจะเป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคต่าง ๆ ได้ง่ายในสภาพที่ใบพืชมีความชื้นสูง เช่น โรคราน้ำค้าง โรคเน่าคอดิน โรคใบไหม้เป็นต้น นอกจากนั้นน้ำที่ให้แก่พืชในเวลาเย็นจะเกิดประโยชน์ต่อพืชน้อยมากหรือ ๆไม่มีประโยชน์เลย เพราะเมื่อไม่มีแสงแดดพืชจะไม่ปรุงอาหารหรือสังเคราะห์แสง ทำให้พืชดูดน้ำได้น้อยหรือไม่ดูดน้ำเลย
การพรวนดิน เป็นการทำให้ดินร่วนซุย ระบายน้ำดีขึ้น ทั้งยังช่วยกำจัดวัชพืชอีกด้วย จึงควรมีการพรวนดินบ้างเป็นครั้งคราวโดยพรวนในขณะที่ดินแห้งพอสมควรและไม่ควรให้กระทบกระเทือน รากมากนัก
การใส่ปุ๋ยโดยปกติจะให้ก่อนการปลูกโดยรองก้นหลุมด้วยปุ๋ยอินทรีย์หรือปุ๋ยวิทยาศาสตร์ ใน การให้ปุ๋ยกับพืชสมุนไพรแนะนำให้ใช้ปุ๋ยอินทรีย์ เพราะปุ๋ยจะค่อย ๆ ย่อยสลายและปล่อยแร่ธาตุที่มีประโยชน์ให้พืชอย่างช้า ๆ และสม่ำเสมอ และยังช่วยให้ดินอุ้มน้ำได้ดี การให้ปุ๋ยควรให้อย่างสม่ำ เสมอประมาณ 1-2 เดือนต่อครั้งโดยอาจใส่แบบเป็นแถวระหว่างพืชหรือใส่รอบ ๆ โคนต้นบริเวณทรงพุ่มก็ได้
การกำจัดศัตรูพืช ควรใช้วิธีธรรมชาติ เช่น
ปลูกพืชหลายชนิดบริเวณเดียวกัน และควรปลูกสมุนไพรที่มีกลิ่นฉุน และมีฤทธิ์ในการรบกวนแมลงแทรกอยู่ด้วย เช่น ดาวเรือง ตะไคร้หอม กะเพรา เสี้ยนดอกม่วง เป็นต้น
อาศัยธรรมชาติจัดสมดุลกันเอง ไม่ควรทำลายแมลงทุกชนิดเพราะบางชนิดเป็นประโยชน์ จะช่วยควบคุมและกำจัดแมลงที่เป็นศัตรูพืชให้ลดลง



ใช้สารจากธรรมชาติ โดยใช้พืชที่มีสารประกอบที่มีฤทธิ์ต่อแมลงที่เป็นศัตรูพืชมากำจัดโดยที่แต่ละพืชจะมีสารประกอบที่ออกฤทธิ์กับแมลงต่างชนิดกัน เช่น
                 สารสกัดจากสะเดา
                 ด้วง
                 เพลี้ยอ่อน
                 เพลี้ยกระโดด
                 ยาสูบ
                 เพลี้ยอ่อน
                ไรแดง
                โรครา
                 หางไหลแดง
                 เพลี้ย
                  ด้วง
การบำรุงรักษาพืชสมุนไพร ควรเลือกวิธีดูแลรักษาให้เป็นไปตามธรรมชาติมากที่สุด และควรหลีกเลี่ยงสารเคมีไม่ว่าด้านการให้ปุ๋ย การกำจัดวัชพืชหรือศัตรูพืช เนื่องจากอาจมีพิษตกค้างในพืชและยังมีผลกับคุณภาพและปริมาณสารสำคัญในพืชอีกด้วย
 














สมุนไพรที่สามารถนำมาประกอบอาหาร



สมุนไพรคืออะไร
          คำว่า สมุนไพร ตามพระราชบัญญัติหมายความถึง ยาที่ได้จากพืช สัตว์ และแร่ ซึ่งยังมิได้มีการผสมปรุงหรือแปรสภาพ (ยกเว้นการทำให้แห้ง) เช่น พืชก็ยังคงเป็นส่วนของราก ลำต้น ใบ ดอก ผล ฯลฯ ยังไม่ได้ผ่านขั้นตอนการแปรรูปใดๆ เช่น การหั่น การบด การกลั่น การสกัดแยก รวมทั้งการผสมกับสารอื่นๆ แต่ในทางการค้า สมุนไพรมักจะถูกดัดแปลงในรูปแบบต่างๆ เช่น ถูกหั่นเป็นชิ้นเล็กลง บดให้เป็นผง อัดให้เป็นแท่ง หรือปอกเปลือกออก เป็นต้น เมื่อพูดถึงสมุนไพร คนทั่วๆ ไปมักจะนึกถึงเฉพาะพืชที่นำมาใช้ประโยชน์ในทางยา ทั้งนี้เพราะ สัตว์ และแร่มีการใช้น้อย จะใช้เฉพาะในโรคบางชนิดเท่านั้น
ประวัติของการใช้สมุนไพร
          สมุนไพร คือ ของขวัญที่ธรรมชาติมอบให้กับมวลมนุษยชาติ มนุษย์เรารู้จักใช้สมุนไพรในด้านการบำบัดรักษาโรค นับแต่ยุคนีแอนเดอร์ทัลในประเทศอิรัก
          ปัจจุบันที่หลุมฝังศพพบว่ามีการใช้สมุนไพร
          หลายพันปีมาแล้วที่ชาวอินเดียแดงในเม็กซิโก ใช้ต้นตะบองเพชร(Peyate) เป็นยาฆ่าเชื้อและรักษาบาดแผล ปัจจุบันพบว่า ตะบองเพชรมีฤทธิ์กล่อมประสาท
          ประมาณ 4,000 ปีมาแล้ว ที่ชาวสุเมเรียนได้เข้ามาตั้งรกราก ณ บริเวณแม่น้ำไทกริสและยูเฟรติสปัจจุบัน คือ ประเทศอิรัก ใช้สมุนไพร เช่น ฝิ่น ชะเอม ไทม์ และมัสตาร์ด และต่อมาชาวบาบิโลเนียน ใช้สมุนไพรเพิ่มเติมจากชาวสุเมเรียน ได้แก่ใบมะขามแขก หญ้าฝรั่น ลูกผักชี อบเชย และกระเทียม
          ในยุคต่อมาอียิปต์โบราณมี อิมโฮเทป แพทย์ผู้มีชื่อเสียงซึ่งต่อมาได้รับการยกย่องให้เป็นเทพเจ้าแห่งการรักษาโรคของอียิปต์ มีตำราสมุนไพรที่เก่าแก่ คือ Papytus Ebers ซึ่งเขียนเมื่อ 1,600 ปี ก่อนคริสตศักราช ซึ่งค้นพบโดยนักอียิปต์วิทยาชาวเยอรมันนี ชื่อ Georg Ebers ในตำรานี้ได้กล่าวถึงตำราสมุนไพรมากกว่า 800 ตำรับ และสมุนไพรมากกว่า 700 ชนิด เช่น ว่านหางจระเข้ เวอร์มวูด(warmwood) เปปเปอร์มินต์ เฮนเบน(henbane) มดยอบ, hemp dagbane ละหุ่ง mandrake เป็นต้น รูปแบบในการเตรียมยาในสมัยนั้น ได้แก่ การต้ม การชง ทำเป็นผง กลั่นเป็นเม็ด ทำเป็นยาพอก เป็นขี้ผึ้ง
          นอกจากนี้ยังพบว่าชาติต่างๆ ในแถบยุโรปและแอฟริกา มีหลักฐานการใช้สมุนไพร ตามลำดับก่อนหลังของการเริ่มใช้สมุนไพร คือ หลังจากสมุนไพรได้เจริญรุ่งเรืองในอียิปต์แล้ว ก็ได้มีการสืบทอดกันมา เช่น กรีก โรมัน อาหรับ อิรัก เยอรมัน โปรตุเกส สวีเดน และโปแลนด์
          ส่วนในแถบเอเซีย ตามบันทึกประวัติศาสตร์พบว่ามีการใช้สมุนไพรที่อินเดียก่อน แล้วสืบทอดมาที่จีน มะละกา และประเทศไทย
ประวัติการใช้สมุนไพรในประเทศไทย
          ประเทศไทยมีภูมิอากาศที่เหมาะสมต่อการเจริญงอกงามของพืชนานาชนิด โดยเฉพาะพืชสมุนไพรมีอยู่มากมายเป็นแสนๆ ชนิด ทั้งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติและจากการเพาะปลูก บางชนิดก็ใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตยาแผนปัจจุบัน สมุนไพรหลายชนิด ถูกนำมาใช้ในรูปของยากลางบ้าน ยาแผนโบราณ รากฐานของวิชาสมุนไพรไทยได้รับอิทธิพลจากประเทศอินเดียเป็นส่วนใหญ่ เพราะตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์ชาติไทยได้อพยพถิ่นฐานมาจากบริเวณเทือกเขาอัลไตน์ประเทศจีน มาจนถึงประเทศไทยในปัจจุบัน จึงมีส่วนได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรม ประเพณี ศาสนา ตลอดจนการบำบัดรักษาโรคจากประเทศอินเดียเป็นจำนวนมาก ซึ่งปรากฏหลักฐานชัดเจนว่าได้อาศัยคัมภีร์อายุรเวทของอินเดียเป็นบรรทัดฐาน คือ การวินิจฉัยโรค  ชื่อสมุนไพรที่ใช้รักษาโรคมีเค้าชื่อของภาษาบาลีสันสกฤตอยู่ไม่น้อย เช่นคำว่า มะลิ (ภาษาสันสกฤตว่า มัลลิ) เป็นต้น
          มีผู้ประมาณว่าในแต่ละปีมีผู้ใช้สมุนไพรในประเทศเป็นมูลค่ากว่า 500 ล้านบาท (สมุนไพรเหล่านี้ได้มาจากทั้งในประเทศ และนำเข้าจากนอกประเทศโดยเฉพาะ จีน เกาหลี และอินเดีย) ทั้งนี้เนื่องจากป่าไม้ถูกทำลาย ทำให้ต้องมีการรณรงค์ให้มีการปลูกเป็นสวนสมุนไพรขึ้น ในปีพุทธศักราช 1800 ซึ่งตรงกับรัชสมัยของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ซึ่งนับเป็นยุคทองของสมุนไพรไทย สวนป่าสมุนไพรของพระองค์ใหญ่โตมากอยู่บนยอดเขาคีรีมาศ อ.คีรีมาส จ.สุโขทัย มีเนื้อที่หลายร้อยไร่ ซึ่งปัจจุบันยังคงได้รับการอนุรักษ์ไว้ เป็นป่าสงวนเพื่อเป็นแหล่งศึกษาค้นคว้าของผู้ที่สนใจ
ต่อมาในรัชกาลของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงเห็นว่าสมุนไพรเป็นทั้งยาและอาหาร
ประจำครอบครัว ชาติจะเจริญมั่นคงได้ก็ด้วยครอบครัวเล็กๆ ที่มีความมั่นคงแข็งแรง มีสุขภาพพลานามัยสมบูรณ์ทั้งทางกายและจิตใจ จึงทรงมีพระกรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ ให้ดำเนินโครงการตามพระราชดำริ สวนสมุนไพรขึ้นในประเทศในปีพุทธศักราช 2522 โดยทรงมีพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีการรวบรวมศึกษาค้นคว้า ในเรื่องเกี่ยวกับสมุนไพรทุกด้าน เช่น ด้านวิชาการทางชีววิทยา ทางการแพทย์ การบำบัด การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะพืชที่เป็นประโยชน์ก่อให้เกิดโครงการพระราชดำริ สวนป่าสมุนไพรขึ้นมากมายหลายแหล่ง อีกทั้งยังมีการศึกษาวิจัยอย่างกว้างขวางโดยสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อหาสาระสำคัญของสมุนไพรที่มีพิษ ทางเภสัชมาสกัดเป็นยาแทนยาสังเคราะห์ที่ใช้กันในปัจจุบัน
คนไทยไม่เพียงแต่ใช้พืชสมุนไพรเป็นยารักษาโรคเท่านั้น แต่ได้นำมาดัดแปลงเพื่อบริโภคในรูปของอาหาร
และเครื่องดื่มสมุนไพร ซึ่งในที่นี้จะกล่าวถึงเฉพาะ “สมุนไพรที่นำมาใช้เป็นเครื่องดื่มบำรุงสุขภาพ”
  ชีวิตความเป็นอยู่ของคนไทยนั้นมีรากฐานมานานนับร้อยนับพันปี อารยธรรมต่างๆ ที่ถือเป็นเอกลักษณ์ในการแสดงถึงชาติ แสดงถึงเผ่าพันธุ์ และความเป็นผู้ที่เจริญแล้ว สิ่งหนึ่งที่แสดงออกมาได้เป็นอย่างดีก็คือ ศิลปะที่ผสมผสานและผูกพันอยู่ในการใช้ชีวิตประจำวันของคนไทยนั่นเอง ศิลปะดังกล่าวนี้รวมไปถึงเรื่องการกินอยู่ด้วยอาทิ เช่น การจัดตั้งสำรับ และการประกอบจัดอาหาร ก็ไม่เพียงเพื่อความอร่อยลิ้นอย่างวิเศษเพียงประการเดียว  ยังมีความสวยงามในการจัดแต่งเป็นองค์ประกอบของอาหารให้งามตายิ่งขึ้นไปอีก  จึงไม่ใช่เรื่องแปลกเลยที่เครื่องดื่มของไทยนั้นจะแฝงไว้ด้วยเจตนารมณ์ให้ผู้ดื่มได้ซึมซับทั้งรสชาติและคุณประโยชน์ไปพร้อมๆ  กันอย่างชาญฉลาด
          หากจะสืบสาวถึงความเป็นมาของเครื่องดื่มสมุนไพรก็มีมาตั้งแต่ครั้งสมัยพุทธกาล มีน้ำชนิดหนึ่งเรียกว่า “อัชบาล” หรือ น้ำปานะ ซึ่งพระสงฆ์สามารถฉันน้ำชนิดนี้ได้ตลอดทั้งวันแทนการขบเคี้ยวอาหารหลังมื้อเพลตามบัญญัติของพุทธศาสนา น้ำปานะนี้ใช้สมุนไพร หรือพืชผลชนิดที่มีความเผ็ดร้อน เช่น ขิง ข่า กระทือ ตะไคร้ เป็นต้น ต้มในน้ำร้อนและผสมน้ำตาลทรายแดงให้พอมีรสปะแล่มๆ  ซึ่งต่อมานิยมดื่มกันแพร่หลายมาถึงฆราวาสด้วย
ประโยชน์ของสมุนไพร คือ
          1. ใช้เป็นยาบำบัดรักษาโรค
          2. ใช้เป็นอาหาร
          3. ใช้เป็นเครื่องสำอางค์
          4. ใช้เป็นอาหารเสริมบำรุงร่างกาย
          5. ใช้ขับสารพิษ
          6. ใช้เป็นเครื่องดื่ม
          7. ช่วยส่งเสริมความมั่นคงทางด้านเศรษฐกิจ
ประเภทของสมุนไพร
การจำแนกเครื่องดื่มสมุนไพรของไทยตามที่มาและกรรมวิธี นั้นแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ
1. น้ำดื่มธรรมดา ซึ่งใช้ตามประเพณี หรือพิธี ได้แก่
          – น้ำที่นำไปอบด้วย เครื่องหอมได้แก่กระดังงาลนไฟลอยด้วยดอกมะลิหรือกลีบกุหลาบมอญใช้ถวายพระสงฆ์ในงานพิธีตามประเพณี เช่น งานทำบุญเลี้ยงพระ งานประเพณีสงกรานต์ เป็นต้น หรือเป็นน้ำที่ถวายเจ้านายในวังเพื่อใช้เสวยเป็นประจำ
2. น้ำผลไม้ และน้ำดื่มซึ่งเกิดจากการปรุงแต่ง
          -จากน้ำอัชบาล หรือน้ำปานะ อันเป็นเครื่องดื่มของพระสงฆ์ในสมัยพุทธกาลนั้น ในเวลาต่อมาเนื่องจากเมืองไทยเป็นเมืองที่มีพืชพันธ์อุดมสมบูรณ์ และมีผลไม้นานาชนิดที่สลับหมุนเวียนกันตลอดทั้งปี จึงเกิดความนิยมนำเอาพืชสมุนไพรและผลไม้มาทำเป็นเครื่องดื่ม โดยอาศัยการปรุงแต่งรสชาติด้วยการเติมน้ำตาล หรือเกลือบ้าง เพื่อให้เกิดความอร่อยขึ้น อาทิ น้ำมะตูม น้ำกระเจี๊ยบ น้ำมะนาว น้ำใบเตย น้ำตะไคร้ และน้ำใบบัวบก เป็นต้น
แต่เดิมพืชและผลไม้ที่จะนำมาทำเป็นเครื่องดื่มนั้น มักจะเก็บมาสดๆ และใช้ทันที รสชาติที่ทำจึงมีความสด และทรงคุณค่าตามธรรมชาติ มาถึงปัจจุบันนี้เครื่องดื่มได้ถูกประยุกต์ขึ้นต่างรูปแบบ มีการนำวิทยาการสมัยใหม่มาใช้ในการผลิต มีการบรรจุในภาชนะแบบต่างๆ เพื่อความสะดวกต่อการใช้ในชีวิตประจำวัน เครื่องดื่มของไทยนั้นให้ทั้งรสชาติ และคุณประโยชน์ควบคู่กันไป คุณประโยชน์ที่กล่าวถึงคือ สรรพคุณทางยาที่ได้จากพืชผลที่นำมาเป็นเครื่องดื่มนั่นเอง อีกทั้งยังมีสารอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายตามธรรมชาติรวมอยู่ด้วย


สมุนไพรที่สามารถนำมาประกอบอาหาร


อาหารพื้นเมืองอีสานมักจะต้องมีส่วนปรุงรส หรือชูรสด้วยผักพื้นบ้านอีสาน ซึ่งมีเอกลักษณ์ทางด้านถิ่นกำเนิด กลิ่นและรสที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะ หายากเพราะมีผลผลิตออกมาตามฤดูกาล นอกจากนั้นยังเป็นพืชผักที่ให้คุณค่าทางด้านสุขภาพอนามัย ปลอดสารพิษ ทำให้เป็นที่นิยมกันทั่วไป ไม่ว่าจะทำอาหารประเภทลาบ ก้อย ต้ม แกง อ่อม ล้วนต้องใช้ผักพื้นเมืองเป็นส่วนประกอบทั้งสิ้น
            ในอาหารที่แนะนำให้รู้จักได้กล่าวถึงผักหลายชนิด ท่านอาจจะสงสัยว่า คือผักอะไรกันแน่ มีสรรพคุณอย่างไร เรามารู้จักกันหน่อยดีกว่า

1. ผักหอมเป หรือ ผักชีฝรั่ง (Stink Weed) มีคุณค่าทางอาหารมาก นำไปกินใบสดหรือใช้เป็นส่วนประกอบในอาหาร ประเภทต้ม ลาบ ก้อย ป่น เพื่อดับกลิ่นคาวของเนื้อสัตว์ ส่วนคุณค่าทางยา จะได้วิตามินหลายชนิด เช่น วิตามิน ซี, บี 1, บี 2, ไนอาซีน และเบต้า-แคโรทีน ซึ่งเป็นสารเริ่มต้นของการสร้างวิตามินเอ



2. ตะไคร้ (Lemon grass) มีคุณค่ากับอาหารไทยมานานแล้ว ใส่ในต้มยำ แกงต่างๆ หรือจะหั่นฝอยใส่ยำ ใส่หม่ำ เพิ่มกลิ่นหอม เพิ่มรสชาติและดับกลิ่นคาวของเนื้อสัตว์ คุณค่าทางยา จะช่วยลดการบีบตัวของลำไส้บรรเทาอาการปวดท้อง ลดอาการจุกเสียด แน่นท้อง ท้องอืด ท้องเฟ้อ ใช้หัวนำมาคั่วไฟกินแก้ขับปัสสาวะ แก้ขัดเบา แก้นิ่วในระยะแรกๆ แก้ปัสสาวะหยด และยังใช้ใบมาย่างไฟให้เหลือง แก้อาการปวดท้อง ท้องขึ้น ท้องเฟ้อ บรรเทาอาการร้อนใน ริมฝีปากแห้ง
ตะไคร้หอม บางท้องถิ่นเรียก ตะไคร้แดง เพราะลำต้นสีแดง สรรพคุณแก้ริดสีดวง เป็นแผลในปาก ริมฝีปากแตก ร้อนในกระหายน้ำ สตรีมีครรภ์กินมากไม่ได้ กินแก้ขับเลือดเสีย ขับลมในลำไส้ ใช้ทาตามแขน ขา มือ เท้าป้องกันยุงและแมลงรบกวนได้ดี
3. สะระแหน่ (Kitchen mint) เป็นผักที่มีกลิ่นดี หอมเย็น เป็นผักกินสดๆ วิตามินจึงไม่ลดลงไปเพราะการใช้ความร้อน ใช้โรยหน้าต้มยำ ลาบ ก้อย คุณค่าทางอาหารและทางยาให้ความสดชื่น ความคิดแจ่มใส ตากแห้งผสมกับใบชาชงเป็นชาหอมได้ มีเบต้า-แคโรทีน และวิตามินซีสูง
4. ผักขะแยง (Balloon vine) ผักที่มีกลิ่นรสหอมฉุน ใช้ปรุงรสอาหารโดยเฉพาะแก่งอ่อมกบ แกงหน่อไม้ คุณค่าทางยา คั้นน้ำจากต้นแก้ไข้ ทั้งต้นเป็นยาขับน้ำนม ขับลมและเป็นยาระบาย มีวิตามินและแร่ธาตุหลายชนิด

5. ชะอม (Cha-om) ช่วยเพิ่มรสชาติให้อาหาร กินยอดอ่อนทั้งสดและลวก ยอดอ่อนแกงกับหน่อไม้ หรือทอดใส่ไข่จิ้มน้ำพริก คุณค่าทางยา แก้ท้องเฟ้อ ขับลมในลำไส้ แก้ปวดเสียวในลำไส้ มีเส้นใยอาหาร ป้องกันโรคหัวใจขาดเลือด และมีเบต้า-แคโรทีนสูง รากใช้ฝนกับน้ำหรือเหล้าขาวแก้ขับลมในกระเพาะอาหาร ท้องอืดเฟ้อ
6. ข่า (Greater galangal) เป็นพืชล้มลุก มีลำต้นอยู่ใต้ดินเรียกว่า เหง้า ใช้ประกอบอาหารช่วยดับกลิ่นคาวของเนื้อสัตว์ เป็นเครื่องแกง อาหารไทยหลายชนิดใช้ข่าเป็นเครื่องปรุงหลัก เช่น ต้มข่าไก่ แกงเผ็ด แกงเขียวหวาน คุณค่าทางยาในเหง้าจะมีน้ำมันหอมระเหยต่างๆ ทำให้ช่วยขับลม ท้องอืดท้องเฟ้อ ขับเสมหะ ใบใช้ตำพอกหรือทาโรคผิวหนัง หิด กลาก เกลื้อน ถ้าหญิงคลอดลูกใหม่ๆ เลือดขัดให้ใช้หัวข่าสดมาบดผสมน้ำมะขามเปียกและเกลือแกง บีบคั้นเอาแต่น้ำ ประมาณชามแกงย่อมๆ ให้ดื่มจนหมด จะช่วยขับเลือดเสียและทำให้มดลูกเข้าอู่เร็วขึ้น

7. ขิง (Ginger) เป็นพืชล้มลุก มีแง่งใต้ดินแตกแขนงคล้ายนิ้วมือ เนื้อในสีเหลืองแกมเขียว มีส่วนประกอบของน้ำมันหอมระเหยและสารจากธรรมชาติ นิยมนำมาทำอาหารทั้งคาวหวาน เช่น ไก่ผัดขิง ใบใช้กินกับซุปหน่อไม้ ส้มตำ หัวผสมกับกระชายทำน้ำยาขนมจีน หรือนำมาต้มทำน้ำขิงใส่น้ำตาล คุณค่าทางยา ช่วยระบบทางเดินหายใจ เป็นหวัดคัดจมูก แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่นจุกเสียด ขับลม ช่วยบรรเทาอาการไอ ลดโคเลสเตอรอล
เหง้าขิงแห้ง เป็นยาจำพวกอายุวัฒนะ บำรุงร่างกาย หัวใจ ไฟธาตุ ขับลมในลำไส้ให้ตด (ผายลม) ออกมา แก้ร้อนในกระหายน้ำ ช่วยย่อยอาหาร แก้ลมพรรดึก แก้อาการปวดท้อง คลื่นเหียนอาเจียน แก้บิดมีตัว บิดมูกเลือก แก้อุจจาระเป็นฟองเหลือง ขับละลายก้อนนิ่ว ตำรับยาแผนโบราณใช้แก้ลมพานไส้ แน่นหน้าอก นอนไม่หลับ โรคปากเปื่อยฯ





8. กระชายหรือโสมไทย (Chinese Deys) นิยมใช้แต่งรสชาติอาหาร เช่น แกงป่า ผัดเผ็ด แกงส้มเนื้อ น้ำยาขนมจีน ถือว่าเป็นเครื่องเทศอย่างหนึ่ง กระชายมี 3 ประเภท เช่น กระชายดำ กระชายแดง กระชายเหลือง ที่ใช้ประกอบอาหารคือ กระชายเหลือง คุณค่าทางยาเชื่อว่ามีสรรพคุณคล้ายโสมบำรุงกำลัง เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ เช่น กระชายดำ ซึ่งเป็นที่กล่าวขานกันมากในปัจจุบัน อาจจะเรียกว่าโสมไทย จะมีน้ำมันหอมระเหยสรรพคุณดับกลิ่นคาว ทำให้กระเพาะลำไส้เคลื่อนไหวดี สรรพคุณทางยาของกระชาย ถ้าใช้หัวปรุงแก้อาการปากเปื่อย ปากเป็นแผล ปากแตกแห้ง ร้อนในกระหายน้ำ แก้ปวดท้อง จุกเสียด แก้บิดมูกเลือด บำรุงกำลัง บำรุงน้ำดีฯ
9. บัวบก (Indian penny wort) กินได้ทั้งต้นเป็นผักสดหรือลวกกินกับอาหารเช่น ป่น ลาบ แจ่ว นำไปประกอบอาหารอื่นเช่น แกงหวาย ยำกับปลาแห้ง คุณค่าทางยา นำมาต้มกินแก้ฟกช้ำ ลดอาการอักเสบได้ ทำเป็นครีมลบรอยแผลเป็น รักษาแผลในกระเพาะอาหาร ช่วยผ่อนคลายทำให้ความจำและสมองทำงานได้ดี
10. ผักหวานป่า (pagwan pa) เป็นผักพื้นบ้านมีบางฤดู ส่วนที่นำมาปรุงเป็นอาหารได้คือ ยอดอ่อนและใบอ่อน เช่น แกงเลียง แกงจืดใส่หมูบะช่อ แกงใส่ปลาย่าง ผัดใส่หมู หรือผัดไฟแดง คุณค่าทางยาเพราะมีใบสีเขียวจึงมีวิตามิน เกลือแร่และเบต้า-แคโรทีนมาก
11. ผักกระเฉด (Water mimosa) คุณค่าทางอาหารกินสดกับขนมจีน หรือน้ำพริกกะปิ ยำกระเฉด หรือผัดไฟแดง ใส่แกงส้ม คุณค่าทางยา ถ้ากินสดจะได้ วิตามินบี, วิตามินซี เบต้า-แคโรทีน ไนอาซีนและเกลือแร่ต่างๆ
12. เสี้ยน (ดอง) (pagsian, Capparidaceae) นิยมนำมาดองเค็มหรือดองเปรี้ยวกินกับป่น หรือแจ่ว คุณค่าทางยาแม้จะผ่านการดองแล้วแต่ปริมาณเบต้า-แคโรทีน ซึ่งเป็นสารเริ่มต้นของวิตามินเอยังสูงอยู่ และมีวิตามินแร่ธาตุอื่นๆ อีก
13. มะขาม (Tamarind) สรรพคุณ เป็นยาระบาย แก้อาการท้องผูก แก้ไอ และแก้หวัดคัดจมูก มีวิตามินซี ช่วยให้ ฟันและเหงือกแข็งแรง และทำให้ผิวพรรณดี [ อ่านเพิ่มเติม ]
14. กะถิน ยอดและฝักใช้กินเป็นผักสด แก้ร้อนในกระหายน้ำ ช่วยให้เจริญอาหาร บำรุงหัวใจ เมล็ดแก่ กินแก้ขับลม ขับระดูในสตรี บำรุงไตและตับ แก้อาการนอนไม่หลับ เป็นยาอายุวัฒนะ แต่มียูริกสูงต้องห้ามสำหรับคนเป็นโรคเก๊าท์
15. กะเพรา ใช้ใบดอกประกอบอาหาร เพิ่มรสชาด สรรพคุณทางยาบำรุงธาตุ แก้ปวดท้อง ท้องขึ้น แก้ลมตาล ลมทรางในเด็ก ใช้ปรุงผสมกับสมุนไพรอื่นๆ เป็นยาเขียว ยาลมธาตุ ยาแก้กษัย ส่วนรากใช้ฝนใส่ฝาหม้อดินผสมกับสุราขาวหยอดใส่ปากเด็กโต 3-5 ขวบขึ้นไป ช่วยไล่ลมในกระเพาะ ลำไส้ แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ
16. กระเทียม ใช้ปรุงอาหารต่างๆ ช่วยให้มีกลิ่นเผ็ดร้อน ชวนรับประทาน ใช้หัวสดตำทาแก้โรคผิวหนัง เช่น เกลื้อน กลาก ตลอดจนเม็ดผดผื่นคันตามตัวทั่วไป ปรุงผสมสมุนไพรอื่นๆ ช่วยแก้ริดสีดวงทวาร ริดสีดวงลำไส้ ขับลมในกระเพาะ เป็นยาระบายอ่อนๆ ช่วยให้นอนหลับง่าย แก้โรคหืด
17. ขี้เหล็ก ใบอ่อนนำมาต้มจนเปื่อย หมดรสขม นำมาแกงใส่อุ้งตีนวัว หรือหนังวัว/ควายตากแห้ง ปิ้งไฟทุบให้นุ่ม ใส่น้ำใบยานาง บางคนก็ชอบกะทิใส่ลงไปแซบอีหลีเด้อสิบอกให่ สรรพคุณทางยา แก่นต้นขี้เหล็กนั้นแก้ธาตุพิการ อาหารไม่ย่อย บำรุงธาตุไฟแก้หนองในและกามโรคในบุรุษ ราก แก้ไข้หัวลม อากาศเปลี่ยนฤดู แก้ปวดเมื่อย เหน็บชา แก้กษัย บำรุงไต ดอก แก้โรคประสาทอาการนอนไม่หลับ แก้หอบหืด บดผสมน้ำฟอกผมบนศรีษะขจัดรังแค เปลือก แก้ริดสีดวงทวาร ริดสีดวงลำไส้ แก้โรคเบาหวาน สมานแผลให้หายเร็ว ใบแก่ แก้ถอนพิษ ถ่ายพิษ กามโรค ตำพอกที่แข้งขา มือเท้าที่มีอาการบวมเนื่องจากเหน็บชา ดับพิษร้อนถอนพิษไข้ พิษจากแมลงสัตว์กัดต่อย กิ่ง-ใบ ทำเป็นยาระบายถ่ายพิษ ขับเสลดในคอ แก้ไข้จับสั่น (มาลาเรีย) ฯ
18. แคขาว แคแดง ยอดใบ ดอกและฝักเรานำมากินเป็นผัก นึ่งใส่ปลา ลวกจิ้มแจ่ว แซบแท้ๆ และยังเป็นยาแก้ท้องเดิน ท้องร่วง สมานแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้ แก้บิด มูกเลือด แก้ไข้หัวลม เปลือกต้นแคนั้นมีสรรพคุณทางยาแก้ร้อนในกระหายน้ำ ขับเสมหะในลำคอ ใช้ฝนเอามาทาแผลเปื่อย แผลสดได้ผลดี ส่วนใบนำมาตำพอกแผลสดเพื่อสมานเนื้อให้หายเร็ว
19. ตำลึง ใบตำนิน (ก็ว่า) ใบเป็นผักใช้ทำอาหารได้หลายอย่างทั้ง ผัด ลวก นึ่ง หรือจะใส่ในแกงก็อร่อย มีสรรพคุณทางยาดังนี้ ใบ ใช้ตำหรือบดผสมแป้งดินสอพอง พอกแผล ฝี ช่วยบีบรีดหนองให้แตกออกมา เพื่อให้แผลฝีหายเร็ว ใช้ใบปรุงกับสมุนไพรอื่นๆ เป็นยาเขียว ยาเย็น แก้ขับอาการร้อนในและพิษไข้ให้ตัวเย็นลง หรือนำใบไปตำทาตามผิวหนังแก้ผด ผื่นคัน เถา ใช้ตัดมาคลึงให้นิ่ม บีบเอาน้ำภายในออกมา หยอดตา แก้ตาฝ้า ฟาง ตาแดง ตาแฉะ มีขี้ตามาก ราก แก้ตาเป็นฝ้า ติดเชื้อ ดับพิษปวดแสบปวดร้อนในตา บำรุงธาตุเจริญอาหาร บำรุงหัวใจ บำรุงดี ทำให้ระบบขับถ่ายสะดวก รักษาโรคลำไส้และกระเพาะอาหาร ผลสุก มีสีแดงเป็นยาบำรุงร่างกายฯ
20. มะเขือเทศ อีสานบ้านเฮามักเอาใส่ตำบักหุ่ง (แซบอีหลี) ให้วิตามินซี แก้เลือดออกตามไรฟัน (ลักปิดลักเปิด) หากกินสม่ำเสมอจะทำให้ไม่เป็นมะเร็งในลำไส้ แก้โรคนอนไม่ค่อยหลับ หรือมักนอนผวา สะดุ้ง หรืออาการตกใจง่ายๆ
21. มะละกอ หรือหมากหุ่ง หรือบักหุ่ง ผลไม้สารพัดประโยชน์ในด้านอาหารของชาวอีสาน จะแห้งแล้ง อุดมสมบูรณ์ ถ้ามีหมากหุ่งละก็รอดตายเลย ใช้ทำส้มตำรสแซบ แกง หรือผัด ผลสุกกินเป็นของหวาน ตัดเป็นชิ้นๆ ลงในต้มเนื้อจะทำให้เนื้อเปื่อยง่าย เร็ว สรรพคุณทางยา ราก รสฉุนเอียนใช้แก้โรคหนองใน ขับเลือด หนองในกระเพาะปัสสาวะ บำรุงไต ก้านใบ มีสรรพคุณเช่นเดียวกัน กับทั้งฆ่าพยาธิในลำไส้และในกระเพาะอาหาร แก้โรคมุตกิต ระดูขาว เหง้า ตรงที่ฝังดินมีรากงอบโดยรอบ ใช้ทำยาขับและละลายเม็ดนิ่วในกระเพาะปัสสาวะได้ผลดี
22. มะระ ผักไห่ หรือหม่านอย ตามท้องถิ่น คนจีนเรียก โกควยเกี๊ยะ สรรพคุณทางยา ยอดและใบอ่อน แก้โรคปวดตามข้อ ตามกระดูก ที่เรียกว่า รูมาติซั่มและเก๊า แก้อาการร้อนในกระหายน้ำ เมล็ด ฆ่าพยาธิในลำไส้ เป็นยาระบายอ่อนๆ ระลายพิษต่างๆ ให้ออกทางปัสสาวะและอุจจาระ ขับฤดูเสียในสตรี บำรุงดี ตับและม้าม ยอดมะระ ใช้แก้อาการเจ็บคอ ดับพิษร้อนถอนพิษไข้ ในปัจจุบันวงการแพทย์ไทยได้วิจัยค้นพบว่า สามารถใช้แก้โรคเอดส์เบื้องต้นได้ ทำให้เม็ดผื่นคัน แผลในร่างกายไม่ลุกลาม ทำให้กินได้นอนหลับ มีกำลังดีขึ้น
23. มะรุม ผักอีฮุม นำฝักอ่อนมาแกงใส่ปลาอร่อยนักแล สรรพคุณทางยา เปลือก ถากมาต้มน้ำกินเป็นยาช่วยขับลมในกระเพาะและลำไส้ บำรุงธาตุ ราก รสเผ็ด หวานขม ใช้แก้อาการบวมน้ำ บำรุงธาตุไฟ เจริญอาหาร ยอดและฝักอ่อน ช่วยให้เจริญอาหาร แก้ไข้หัวลม (เปลี่ยนฤดู) ช่วยย่อยอาหาร



24. สะเดา (Neem Tree) เป็นพรรณไม้กลางแจ้ง ส่วนที่ใช้ประโยชน์ คือ ก้านใบ ผล เปลือก เมล็ดและราก มียอดใบอ่อนให้กินตลอดปีใช้เป็นอาหาร เป็นต้นไม้ที่แมลงไม่ชอบ จึงเป็นยาปราบศัตรูพืช ยอดของสะเดามีเบตา-แคโรทีนมากช่วยลดน้ำตาลในเลือด และใช้ประโยชน์ทางยาได้มากมาย
25. ขมิ้นชัน (Turmeric, Curcuma) เป็นพืชล้มลุกที่มีอยู่เหง้าอยู่ใต้ดิน มีประโยชน์ในการช่วยดับกลิ่นคาว มีสารสีเหลืองชื่อ เคอร์คูมิน (Curcuma) ฤทธิ์ทางยาแก้ปวดท้อง มีฤทธิ์ช่วยกระตุ้นการหลั่งน้ำดี รักษาอาการนิ่วในถุงน้ำดี รวมทั้งโรคกระเพาะ
26. พริก (Chilli) เป็นพรรณไม้พุ่มขนาดเล็ก ผลใช้เป็นยา ปรุงอาหาร ช่วยเจริญอาหารรักษาอาการอาเจียน โรคหิด ปอดบวม โดยใช้ผลพริกทำเป็นขี้ผึ้งทา
27. คึ่นไช่ (Celery) เป็นพรรณไม้ล้มลุกกลิ่นหอมทั้งต้น ส่วนที่ใช้ประโยชน์ได้แก่ ต้น เมล็ด ราก สรรพคุณทางยา ต้นลดความดัน รักษานิ่ว ปัสสาวะเป็นเลือด เมล็ดขับลมและระงับปวด รากใช้รักษาอาการปวดตามข้อและขับปัสสาวะ
28. ใบยานาง คนที่รู้จัก "ใบย่านาง, ใบยานาง" ส่วนใหญ่แล้วมักจะเป็นคนภาคอีสาน หรือชอบกินอาหารอีสาน เพราะใบย่านางมักถูกใช้เป็นส่วนประกอบหนึ่งของแกงหน่อไม้ และซุปหน่อไม้ คงมีหลายคนที่ชอบกินแต่คงไม่ทราบว่าน้ำสีออกดำๆ เขียวๆ ที่อยู่ในซุปหน่อไม้ หรือแกงหน่อไม้นั้นได้มาจากน้ำของ "ใบย่านาง" นั่นเอง
 แม้ว่าสีของน้ำใบย่านางนั้นอาจจะดูไม่ค่อยน่ากินสักเท่าไร แต่น้ำจากใบย่านางนั้นจะช่วยทำให้หน่อไม้ดองมีกลิ่นหอมและมีรสชาติกลมกล่อม เพราะช่วยกำจัดกลิ่นเปรี้ยวและรสขมออกไป ทำให้อาหารจานนั้นแซบนัวหลายๆ หรือหากจะนำยอดอ่อนใส่ในแกงต่างๆ ก็เพิ่มความอร่อยได้ด้วยเช่นกัน


            นอกจากความเเซบแล้ว ใบย่านางยังมีสรรพคุณในการช่วยถอนพิษ แก้ไข้และลดความร้อนในร่างกายได้ อีกทั้งยังเป็นพืชที่ให้แคลเซียมและวิตามินซีค่อนข้างสูง และยังให้สารอาหารอื่นๆ เช่น ฟอสฟอรัส เหล็ก และวิตามินเอ วิตามินบี 1 บี 2 และเบต้า-แคโรทีน หากกินทั้งใบก็จะมีเส้นใยมาก ส่วนรากของใบย่านางช่วยถอนพิษ แก้ไข้ แก้เมารถ เมาเรือ แก้โรคหัวใจและแก้ลมได้ด้วย ขอแถมให้อีกนิด หากนำน้ำใบย่านางมาสระผม จะช่วยทำให้ผมดกดำ ชลอผมหงอกได้อีกต่างหาก
29. ดาวเรือง (Marigold flower) เป็นไม้ดอกไม้ประดับ นอกจากมีความสวยงาม ยังมีสารแคโรทีนอยด์ ที่เป็นประโยชน์ช่วยบำรุงสายตา รักษาสภาพผิวพรรณ ฯลฯ
30. สาบเสือ (Bitter, bush, Siam weed) เป็นไม้ล้มลุก ส่วนที่ใช้ประโยชน์ทั้งต้นและใบ มีกลิ่นหอมใช้เป็นยาฆ่าแมลงได้
31.กากเมล็ดชา ชาเป็นพรรณไม้ขนาดย่อมถึงกลาง ส่วนใช้ประโยชน์ได้แก่ ใบ ดอก ผล ใบอ่อน กากชา กากเมล็ด ใช้เป็นยา มีสารซาโปนิน คุณสมบัติล้างสิ่งต่างๆ ใช้สระผม ชำระสิ่งสกปรก เส้นผมชุ่มชื่นเป็นมัน
32. ชุมเห็ดเทศ (Ringworm Bush) เป็นพรรณไม้ขนาดกลาง ส่วนที่ใช้ประโยชน์ได้แก่ ต้น ใบ ดอก ฝัก เมล็ด และราก ใช้เป็นยาขับพยาธิ รักษาผิวหนัง กลากเกลื้อน รักษาหูด ขับปัสสาวะ
33. ดอกดึง (Climbing Lily) เป็นพรรณไม้เถาชนิดหนึ่ง ลำต้นเกิดจากหัวหรือเหง้า ส่วนที่ใช้ประโยชน์คือเหง้า มีฤทธิ์ในการบำบัดโรคปวดข้อ โรคเก๊า ฯลฯ
34. หนอนตายยาก เป็นพรรณไม้ล้มลุก รากมีสารกำจัดแมลง เช่น หนอนผีเสื้อ หนอนกระทู้ แมลงวันทอง นำมาสกัดหรือบดแล้วพ่น



ที่มา   http://www.isangate.com/local/food_06.html



















สมุนไพไทยที่น่ารู้


ผักเป็ดแดง
 ชื่อวิทยาศาสตร์ : Joyweed, Alternanthera bettzickiana (Regel) Nichols.
 ชื่อวงศ์ : AMARANTHACEAE ชื่ออื่น : ผักเป็ดฝรั่ง, พรมมิแดง, ผักโหมแดง
 รูปลักษณะ : ผักเป็ดแดง เป็นไม้ล้มลุกอายุหลายปี ลำต้นตั้งตรง สูง 10-20 ซม. ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปสีเหลี่ยมขนมเปียกปูน หรือรูปใบหอกกลับ กว้าง 0.5-1.5 ซม. ยาว 1-5 ซม. สีแดง ดอกช่อ รูปกระบอก หรือทรงกลมออกที่ซอกใบและปลายกิ่ง กลีบรวมสีขาวนวล ผลแห้ง รูปคล้ายโล่ เมล็ดสีน้ำตาล สรรพคุณของ ผักเป็ดแดง : ทั้งต้น รับประทานเป็นผักช่วยขับน้ำนม ต้มกับน้ำรับประทานเป็นยาแก้ไข้ ตำพอกรักษาแผล






ฝาง
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Sappan, Caesalpinia sappan Linn.
ชื่อวงศ์ : FABACEAE
ชื่ออื่น : ฝางส้ม
รูปลักษณะ : ฝาง เป็นไม้พุ่ม สูง 5-8 เมตร มีหนามทั่วไป ใบ ประกอบแบบขนนกสองชั้น เรียงสลับ ใบย่อยรูปไข่ หรือรูปขอบขนาน กว้าง 0.6-0.8 ซม. ยาว 1.5-1.8 ซม. โคนใบเฉียง ดอกช่อ ออกที่ซอกใบตอนปลายกิ่งหรือที่ปลายกิ่ง กลีบดอกสีเหลือง ผล เป็นฝักแบน สีน้ำตาล
สรรพคุณของ ฝาง : แก่น ใช้แก่นเป็นยาขับระดู บำรุงเลือด แก้ปอดพิการ ขับเสมหะ น้ำต้มแก่น ใช้แต่งสีแดงของน้ำอุทัย และแต่งสีขนมหวานต่างๆ สารที่มีสีแดงคือ Brazilin





แกแล
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Maclura cochinchinensis (Lour.) Corner
ชื่อวงศ์ : MORACEAE
ชื่ออื่น : แกก้อง, สักขี, เหลือง, แกล, แหรเข, ช้างงาต้อก, น้ำเคี่ยวโซ่, หนามเข
รูปลักษณะ : แกแล เป็นไม้พุ่ม สูง 5-10 เมตร มียางขาว ใบเดี่ยว เรี่ยงสลับ เวียนรอบกิ่งรูปวงรี กว้าง 1-3.5 ซม. ยาว 2- 9 ซม. มีหนามแหลมออกตรงซอกใบ 1 อัน ยาวประมาณ 1 ซม. ดอกช่อ ออกที่ซอกใบ แยกเพศ อยู่คนละต้น รูปกลม ผล เป็นผลรวม
สรรพคุณของ แกแล : แก่น ใช้แก่นแก้ไข้รากสาด แก้ท้องร่วง บำรุงน้ำเหลือง บำรุงกำลัง บำรุงเลือด






จิก
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Barringtonia acutangula Gaertn.
ชื่อวงศ์ : BARRINGTONIACEAE
ชื่ออื่น : กระโดนทุ่ง, กระโดนน้ำ, จิกน้ำ, ตอง
รูปลักษณะ : จิก เป็นไม้ต้นผลัดใบ สูง 5-15 เมตร ลำต้นเป็นปุ่มปม ปลายกิ่งลู่ลง ใบอ่อนสีน้ำตาลแดง ใบเดี่ยว ออกเวียนสลับถี่ตอนปลายกิ่ง รูปใบหอกหรือรูปไข่กลับ กว้าง 10-13 ซม. ยาว 20-30 ซม. ปลายจะผายกว้างแล้วแหลม โคนแหลมขอบจักถี่ ดอก ออกเป็นช่อยาวที่ปลายกิ่งสีแดง ห้อยลง ยาว 30-40 ซม. กลีบเลี้ยง 4 กลีบ หลุดร่วงง่าย เมื่อบานเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2 ซม. เกสรตัวผู้สีแดงจำนวนมาก ผลกลมยาว เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2.5 ซม. ยาว 3-4 ซม. มีสันตามยาว 4 สัน
สรรพคุณของ จิก : เมล็ด ใช้เป็นยาแก้ไอในเด็ก เข้ายาลม ใช้แก้อาการจุกเสียด ใบแก่ แก้ท้องร่วง เปลือกต้น ใช้เบื่อปลา




ชะมวง
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Garcinia cowa Roxb.
ชื่อวงศ์ : CLUSIACEAE
ชื่ออื่น : กระมวง, มวงส้ม, หมากโมก
รูปลักษณะ : ชะมวง เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง สูง 15-30 เมตร ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปวงรี แกมใบหอก กว้าง 2-3.5 ซม. ยาว 7-15 ซม. เนื้อใบหนาและเหนียว ผิวใบเป็นมัน ดอก แยกเพศอยู่คนละต้น ดอกตัวผู้ออกเป็นกระจุก มีดอกย่อยหลายดอก กลีบดอกสีเหลืองหรือชมพูถึงแดง ดอกตัวเมียเป็นดอกเดี่ยว ผลเป็นผลสด รูปค่อนข้างกลม เมื่อสุกสีเหลืองแกมส้มหม่น
สรรพคุณของ ชะมวง : ใบและผล แก้กระหายน้ำ ระบายท้อง แก้ไข้




ชะเอมไทย
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Albizia myriophylla Benth.
ชื่อวงศ์ : FABACEAE
ชื่ออื่น : ชะเอมป่า, ตาลอ้อย, ส้มป่อยหวาน, อ้อยช้าง, ย่านงาย
รูปลักษณะ : ชะเอมไทย เป็นไม้เถายืนต้น มีหนามตามลำต้นและกิ่งก้าน ใบประกอบแบบขนนกสองชั้น ยาว 10-15 ซม. โคนก้านใบป่องออก ใบย่อยรูปขอบขนานี่ ดอก ช่อ ออกที่ปลายกิ่ง ลักษณะเป็นพู่ กลีบดอกสีขาว กลิ่นหอม ผลเป็นฝัก สีเหลืองถึงน้ำตาล ตรงที่เป็นเมล็ดจะมีรอยนูนเห็นชัด
สรรพคุณของ ชะเอมไทย : ราก มีรสหวาน ใช้เป็นยาแก้ไอ กระหายน้ำ ยาระบาย ผล ขับเสมหะ เนื้อไม้ มีรสหวาน แก้โรคในคอ แก้ไอขับเสมหะ การศึกษาทางเคมีพบว่า สารที่ให้ความหวาน เป็นน้ำตาลกลูโคสและซูโครส




ปีบ
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Indian Cork Tree, Millingtonia hortensis Linn. f.
ชื่อวงศ์ : BIGNONIACEAE
ชื่ออื่น : กาซะลอง, กาดสะลอง
รูปลักษณะ : ปีบ เป็นไม้ยืนต้น สูง 15-25 เมตร ใบประกอบแบบขนนก 2-3 ชั้น เรียงตรงข้าม ใบย่อยรูปไข่แกมใบหอก กว้าง 1.5-2.5 ซม. ยาว 3-5 ซม. ดอกช่อขนาดใหญ่ ออกที่ปลายกิ่ง กลีบดอกสีขาว เป็นหลอดยาว ปลายแยกเป็น 5 แฉก กลิ่นหอม ผลเป็นฝักแบน
สรรพคุณของ ปีบ : ดอกแห้ง ใช้มวนเป็นบุหรี่สูบแก้หืด ราก บำรุงปอด แก้หอบ พบว่าในดอกมีสาร Hispidulin ซึ่งระเหยได้ และมีฤทธิ์ขยายหลอดลม





พุทรา
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Zizyiphus mauritiana Lamk.
ชื่อวงศ์ : RHAMNACEAE
ชื่ออื่น : มะตัน
รูปลักษณะ : พุทรา เป็นไม้ยืนต้น สูง 5-10 เมตร ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปไข่แกมวงรี กว้าง 2-6 ซม. ยาว 3-8 ซม. ท้องใบจะมีขนสีน้ำตาลหรือขาว หลังใบสีเขียวเข้ม ดอกช่อ ออกเป็นกระจุกที่ซอกใบ กลีบดอกสีเขียวอ่อนหรือเหลืองอ่อน ผลเป็นผลสด รูปทรงกลม หรือรูปกระสวย เมื่อสุกสีเหลือง กินได้
สรรพคุณของ พุทรา : ผลแห้งหรือใบ ใช้ปิ้งไฟก่อนชงน้ำดื่ม แก้ไอ






มะกรูด
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Leech Lime, Citrus hystrix DC.
ชื่อวงศ์ : RUTACEAE
ชื่ออื่น : มะขุน, มะขูด, ส้มกรูด
รูปลักษณะ : มะกรูด เป็นไม้ยืนต้น สูง 2-8 เมตร ใบและดอกคล้ายมะนาว ใบ รูปค่อนข้างกลม กว้าง 2.5-5 ซม. ยาว 3-8 ซม. ก้านใบมีครีบขนาดใหญ่เท่าตัวใบ ผลเป็นผลสด รูปร่างค่อนข้างกลม ผิวขรุขระ
สรรพคุณของ มะกรูด : น้ำมะกรูด ใช้เป็นยาแก้ไอ แก้โรคเลือดออกตามไรฟัน ใช้สระผมกันรังแค ผิวมะกรูด ใช้เป็นยาขับลม แก้ปวดท้อง




มะขาม
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Tamarind, Tamarindus indica Linn.
ชื่อวงศ์ : FABACEAE
รูปลักษณะ : มะขาม เป็นไม้ยืนต้น สูง 15-25 เมตร ใบประกอบแบบขนนก เรียงสลับ ใบย่อยรูปขอบขนาน กว้าง 5-8 ซม. ยาว 1-1.5 ซม. ดอกช่อ ออกที่ซอกใบและปลายกิ่ง กลีบดอกสีเหลือง มีลายสีม่วงแดง ผลเป็นฝัก มีเนื้อหุ้มเมล็ด สีน้ำตาล ฉ่ำน้ำ
สรรพคุณของ มะขาม : มะขามเปียก ใช้เป็นยาถ่าย และยาแก้ไอกัดเสมหะที่เหนียวข้น เนื่องจากมีกรดอินทรีย์ เช่น กรด Trataric และกรด Citric เปลือกต้น เป็นยาสมานคุมธาตุ เนื้อในเมล็ด ใช้เป็นยาฆ่าพยาธิไส้เดือน ใบและยอดอ่อน มีรสเปรี้ยว ใช้ในการอาบ อบสมุนไพร





มะขามป้อม
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Emblic Myrobalan, Malacca Tree, Phyllanthus emblica Linn.
ชื่อวงศ์ : EUPHORBIACEAE
ชื่ออื่น : กำทวด
รูปลักษณะ : มะขามป้อม เป็นไม้ยืนต้น สูง 8-20 เมตร ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปขอบขนาน กว้าง 0.25-0.5 ซม. ยาว 0.8-1.2 ซม. ดอกช่อ ออกเป็นกระจุกที่ซอกใบ แยกเพศ อยู่บนต้นเดียวกัน ดอกย่อยสีนวล ผลเป็นผลสด รูปกลม ผิวเรียบ มีเส้นพาดตามยาว 6 เส้น เมล็ด กลม สีเขียวเข้ม
สรรพคุณของ มะขามป้อม : เนื้อผลแห้งหรือสด รับประทานขับเสมหะ ทำให้ชุ่มคอ ผลแห้งต้มกินแก้ไข้ น้ำคั้นผลสดแก้ท้องเสีย ขับปัสสาวะ มีวิตามินซีใช้แก้โรคเลือดออกตามไรฟัน





มะดัน
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Garcinia schomburgkiana Pierre
ชื่อวงศ์ : CLUSIACEAE
รูปลักษณะ : มะดัน เป็นไม้ยืนต้น สูง 3-7 เมตร ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปขอบขนาน รูปใบหอก หรือรูปไข่แกมขอบขนาน กว้าง 2-3 ซม. ยาว 5-8 ซม. ดอกช่อ ออกเป็นกระจุกที่ซอกใบ แยกเพศอยู่บนต้นเดียวกัน กลีบดอกสีเหลืองส้ม ผลเป็นผลสด รูปกระสวย รสเปรี้ยวจัด
สรรพคุณของ มะดัน : ใบและเนื้อผล ใช้ทำยาดอกเปรี้ยวเค็ม เป็นยาแก้ไอ ฟอกเสมหะ แก้ประจำเดือนผิดปกติ ผล ดองน้ำเกลือกิน แก้น้ำลายเหนียว เป็นเมือกในคอ







มะนาว
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Lime, Citrus aurantifolia (Christm. et Panz.) Swing.
ชื่อวงศ์ : RUTACEAE
ชื่ออื่น : ส้มมะนาว
รูปลักษณะ : มะนาว เป็นไม้พุ่ม สูง 2-4 เมตร กิ่งอ่อนมีหนาม ใบประกอบชนิดมีใบย่อยใบเดียว เรียงสลับ รูปไข่ รูปวงรีหรือรูปไข่แกมขอบขนาน กว้าง 3-5 ซม. ยาว 4-8 ซม. เนื้อใบมีจุดน้ำมันกระจาย ก้านใบมีครีบเล็กๆ ดอกเดี่ยวหรือช่อ ออกที่ปลายกิ่งและที่ซอกใบ กลีบดอกสีขาว กลิ่นหอม ร่วงง่าย ผลเป็นผลสด กลมเกลี้ยง ฉ่ำน้ำ
สรรพคุณของ มะนาว : น้ำมะนาวและผลดองแห้ง รับประทานเป็นยาแก้ไอขับเสมหะ น้ำมะนาวเป็นกระสายยาสำหรับสมุนไพรที่ใช้ขับเสมหะอื่นๆ เช่น ดีปลี นอกจากนี้ยังใช้แก้โรคเลือดออกตามไรฟัน เพราะมีวิตามินซี



มะแว้งต้น
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Solanum sanitwongsei Craib
ชื่อวงศ์ : SOLANACEAE
รูปลักษณะ : มะแว้งต้น เป็นไม้พุ่ม สูง 1-1.5 เมตร ลำต้นมีขนนุ่ม ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปไข่หรือรูปขอบขนาน กว้าง 4-10 ซม. ยาว 6-12 ซม. ขอบใบเว้า ผิวใบมีขนนุ่มทั้งสองด้าน ดอกช่อ ออกตามกิ่งหรือที่ซอกใบ กลีบดอกสีม่วง ผลเป็นผลสด รูปกลม ผลดิบ สีเขียวอ่อน ไม่มีลาย เมื่อสุกสีส้ม
สรรพคุณของ มะแว้งต้น : ผล ใช้แก้ไอขับบเสมหะ รักษาเบาหวาน ขับปัสสาวะ พบสเตอรอยด์ปริมาณค่อนข้างสูง จึงไม่ควรใช้ติดต่อกันเป็นเวลานาน มะแว้งต้นเป็นส่วนผสมหลักในยาประสะมะแว้ง ซึ่งองค์การเภสัชกรรมผลิตขึ้นตามตำรับยาสามัญประจำบ้านแผนโบราณ







มะแว้งเครือ
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Solanum trilobatum Linn.
ชื่อวงศ์ : SOLANACEAE
ชื่ออื่น : แขว้งเครือ
รูปลักษณะ : มะแว้งเครือ เป็นไม้เลื้อย มีหนามตามกิ่งก้าน ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปไข่ กว้าง 4-5 ซม. ยาว 5-8 ซม. ขอบใบเว้า มีหนามตามเส้นใบ ดอกช่อ ออกที่ปลายกิ่งและซอกใบ กลีบดอกสีม่วง ผลเป็นผลสด รูปกลม ผลดิบสีเขียวมีลายตามยาว เมื่อสุกสีแดง
สรรพคุณของ มะแว้งเครือ : ผล ใช้แก้ไอขับเสมหะ โดยใช้ขนาด 4-10 ผล โขลกพอแหลก คั้นเอาน้ำใส่เกลือเล็กน้อย จิบบ่อยๆ หรือเคี้ยวกลืนเฉพาะน้ำจนหมดรสขมเฝื่อน มะแว้งเครือเป็นส่วนผสมหลักในยาประสะมะแว้งเช่นกัน นอกจากนี้ ใช้ขับปัสสาวะแก้ไข้และเป็นยาขมเจริญอาหาร





ว่านกาบหอยใหญ่
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Tradescantia spathacea Swartz (Rhoeo discolor (L'Herit.) Hance)
ชื่อวงศ์ : COMMELINACEAE
รูปลักษณะ : ว่านกาบหอยใหญ่ เป็นไม้ล้มลุก สูง 30-60 ซม. ใบเดี่ยว ออกเป็นกระจุกเหนือดิน กว้าง 3-5 ซม. ยาว 15-45 ซม. หลังใบสีเขียวเข้ม ท้องใบสีม่วงแดง ดอกช่อ ออกที่ซอกใบ ใบประดับขนาดใหญ่คล้ายรูปเรือ กลีบดอกสีขาว ผลแห้ง แตกได้ รูปกระสวย
สรรพคุณของ ว่านกาบหอยใหญ่ : ใบสด ใช้ต้มกับน้ำ เอาน้ำดื่มแก้ไอ เจ็บคอ และกระหายน้ำ


สำรอง

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Scaphium macropodum Beaum.
ชื่อวงศ์ : STERCULIACEAE
ชื่ออื่น : พุงทะลาย
รูปลักษณะ : สำรอง เป็นไม้ยืนต้น สูง ประมาณ 4-5 เมตร ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปไข่แกมขอบขนานหรือรูปไข่แกมใบหอก กว้าง 10-12 ซม. ยาว 15-25 ซม. ดอกช่อ ออกที่ปลายกิ่ง แยกเพศ กลีบดอกสีเขียวอ่อน มีขนสีแดงที่กลีบเลี้ยง ผลแห้ง มีลักษณะแผ่เป็นแผ่นขนาดใหญ่ แตกขณะยังอ่อนอยู่ ทำให้มีลักษณะเหมือนเรือ มีเมล็ดรูปรี สีน้ำตาล เปลือกหุ้มเมล็ดชั้นนอกมีสารเมือกจำนวนมาก ซึ่งจะพองตัวในน้ำ มีลักษณะคล้ายวุ้น
สรรพคุณของ สำรอง : เนื้อผลที่พองตัว ใช้เป็นยาแก้ไอ แก้ร้อนใน




ส้มป่อย
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Acacia concinna (Willd.) DC.
ชื่อวงศ์ : FABACEAE
ชื่ออื่น : ส้มขอน
รูปลักษณะ : ส้มป่อย เป็นไม้พุ่มรอเลื้อย มีหนามตามลำต้น กิ่ง ก้านและใบ ใบประกอบแบบขนนกสองชั้น เรียงสลับ ยาว 7-20 ซม. ใบย่อยรูปขอบขนาน ขนาดเล็ก ดอกช่อ ออกที่ซอกใบ เป็นช่อกลม กลีบดอกเป็นหลอด สีนวล ผลเป็นฝัก สีน้ำตาลดำ ผิวย่นขรุขระ ขอบมักเป็นคลื่น
สรรพคุณของ ส้มป่อย : ฝัก มีสารออกฤทธิ์กลุ่มซาโปนินสูงถึง 20.8% ได้แก่ Acacinius A, B, C, D และ E ซึ่งถ้าตีกับน้ำจะเกิดฟองที่คงทนมาก ใช้สระผมแก้รังแค ต้มน้ำอาบหลังคลอด หรือชุบสำลีปิดแผลโรคผิวหนัง ฝักกินเป็นยาขับเสมหะ แก้น้ำลายเหนียว




ส้มเสี้ยว
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Bauhinia malabarica Roxb.
ชื่อวงศ์ : FABACEAE
ชื่ออื่น : คังโค, แดงโค, เสี้ยวส้ม, เสี้ยวใหญ่
รูปลักษณะ : ส้มเสี้ยว เป็นไม้ยืนต้น สูง 5-10 เมตร ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปไข่กว้าง แยกเป็นสองพู กว้างและยาว 10-15 ซม. ใบมีรสเปรี้ยว ดอกช่อ ออกที่ซอกใบใกล้ปลายกิ่ง กลีบดอกสีชมพูอ่อน ผลเป็นฝักรูปดาบ
สรรพคุณของ ส้มเสี้ยว : รากและลำต้น ใช้แก้ไอ ขับเสมหะ ดอก แก้เสมหะพิการ ใบ มีรสเปรี้ยวฝาด ใช้แก้ไอและฟอกโลหิต





หนุมานประสานกาย

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Schefflera leucantha Vig.
ชื่อวงศ์ : ARALIACEAE
รูปลักษณะ : หนุมานประสานกาย เป็นไม้พุ่มแกมเถา สูง 1-4 เมตร ใบประกอบแบบนิ้วมือ เรียงสลับ ใบย่อยรูปวงรี หรือรูปใบหอก กว้าง 1.5-3 ซม. ยาว 5-8 ซม. ดอกช่อ ออกที่ปลายกิ่ง กลีบดอกสีนวล ผลเป็นผลสด รูปกลม
สรรพคุณของ หนุมานประสานกาย : ใบสด ใช้แก้ไอ และแก้อาเจียนเป็นเลือด ใช้ตำพอกแผลเพื่อห้ามเลือด และสมานแผล พบว่าสารสกัดจากใบ มีสารซาโปนิน ซึ่งมีฤทธิ์ขยายหลอดลม


เพกา

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Oroxylum indicum (Linn.) Kurz
ชื่อวงศ์ : BIGNONIACEAE
ชื่ออื่น : มะลิดไม้, มะลิ้นไม้, ลิดไม้, ลิ้นฟ้า
รูปลักษณะ : เพกา เป็นไม้ยืนต้น สูง 3-12 เมตร แตกกิ่งก้านเล็กน้อย ใบประกอบแบบขนนกสามชั้น ขนาดใหญ่ เรียงตรงข้าม รวมกันอยู่บริเวณปลายกิ่ง ใบย่อยรูปไข่แกมวงรี กว้าง 4-8 ซม. ยาว 6-12 ซม. ดอกช่อ ออกที่ปลายยอด ก้านช่อดอกยาว ดอกย่อยขนาดใหญ่กลีบดอกสีนวลแกมเขียวโคนกลีบเป็นหลอดสีม่วง หนาย่น บานกลางคืน ผลเป็นฝัก รูปดาบ เมื่อแก่จะแตก ภายในมีเมล็ดแบน สีขาว มีปีกบางโปร่งแสง
สรรพคุณของ เพกา : เมล็ด ใช้เป็นยาแก้ไอขับเสมหะ ยาระบาย ราก เป็นยาบำรุงธาตุ แก้ท้องร่วง




ที่มา   http://www.likemax.com/archive/herb/
         














วันพุธที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2555

เพลงเหงาหัวใจดวงเท่าเดิม

สมุนไพรพื้นบ้าน คุณประโยชน์และสรรพคุณ




ขิง 
สรรพคุณทางยา ช่วยขับลม ขับน้ำดี ลดอาการบีบตัวของลำไส้ แก้อาการคลื่นไส้ อาเจียน ปวดศีรษะ ปวดท้อง ป้องกันการอักเสบ มีสารต้านการเกิดมะเร็ง ต้านการเกิดปฏิกิริยากับออกซิเจนและอาการจิตซึมเศร้า ในขิงประกอบด้วย แคลเซียม เป็นส่วนสำคัญในการสร้างกระดูกและฟัน ช่วยในการแข็งตัวของเลือด

การนำไปใช้ ขิงมีทั้งขิงอ่อน ขิงแก่ การนำไปใช้ก็ต่างกัน ขิงแก่นิยมใส่ในอาหารเพื่อดับกลิ่นคาวและเพิ่มความหอม เช่น โขลกรวมกับน้ำพริกแกงแล้วนำไปผัดพริกขิงหมูกับถั่วฝักยาว หรือใส่เป็นน้ำต้มขิงกินกับเต้าฮวยและใส่ในน้ำต้มน้ำตาล หรือซอยบางๆ ใส่ในปูอบวุ้นเส้น ส่วน ขิงอ่อน นิยมกินเป็นผัก เช่น ซอยใส่ในไก่ผัดพริก โรยหน้าโจ๊ก ต้มส้มปลา กินแนมกับไส้กรอกอีสาน ถ้ามีมากก็นำมาดองเป็นขิงดองสามรส กินกับเป็ดย่าง ไข่เยี่ยวม้า

พริกชี้ฟ้า 
สรรพคุณทางยา ป้องกันหลอดลมอักเสบ แผลในกระเพาะอาหาร ทำลายเชื้อแบคทีเรีย ลดก๊าซที่เกิดจากการย่อยอาหาร ลดการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อท้องที่เกิดจากอาการท้องอืดเฟ้อ และป้องกันหวัด ในพริกชี้ฟ้า ประกอบด้วย โปรตีน เส้นใยอาหาร วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 วิตามินซี แคลเซียม และธาตุเหล็ก

การนำไปใช้ พริกชี้ฟ้าแห้งมักใช้พริกสีแดงนำมาตากแห้ง โขลกใส่น้ำพริกแกงต่างๆ นำไปคั่วหรือเผาไฟให้หอมในต้มโคล้ง ต้มยำ พริกชี้ฟ้าสดมีสีเขียว สีแดง สีเหลือง ซึ่งมีเหลืองมีความเผ็ดมากกว่าสีอื่น จึงนิยมมาโขลกกับกระเทียมใส่ในผัดเผ็ด ส่วนสีแดงและสีเขียวนำมาหั่นแฉลบใส่ในแกงเผ็ด แกงเขียวหวาน ผัดพริก หรือหั่นเป็นแว่นใส่ในเครื่องจิ้มประเภทหลนและดองในน้ำส้มสายชูเป็นเครื่องปรุงรสก๋วยเตี๋ยว


พริกขี้หนู 
สรรพคุณทางยา ช่วยย่อย ทำให้เจริญอาหาร ขับลมขับเหงื่อได้ดี ทำให้รูขุมขนสะอาด ผิวพรรณสดใส และมีสารต้านมะเร็ง ในพริกขี้หนูประกอบด้วยคาร์โบไฮเดรต โปรตีน เส้นใยอาหาร แคลเซียม ฟอสฟอรัส วิตามินเอ วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 วิตามินซี และธาตุเหล็ก

การนำไปใช้ พริกขี้หนูแห้งเป็นขี้หนูสดสีแดงที่ตากแดดจนแห้ง นำมาคั่วแล้วป่นเป็นพริกป่น หรือทอดเป็นเครื่องแนมขนมจีนน้ำพริก ยำ ลาบ ทางภาคใต้นิยมโขลกเป็นน้ำพริกแกง พริกขี้หนูสดใช้ทั้งสีแดงและสีเขียว ซอยหรือโขลกทำเป็นน้ำยำต่างๆ ใส่ในผัดกะเพรา ให้ความเผ็ดในต้มยำ ต้มแซบ หรือคั่วพอ
หอมบดผสมกับน้ำส้มสายชูเป็นเครื่องปรุงก๋วยเตี๋ยวเรือ
http://www.baanmaha.com/community/thread22385.html