นรารัตน์

วันพุธที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2555

คลิปสมุนไพร

คลิปสมุนไพร

คลิปสมุนไพร

น้ำผลไม้สมุนไพรเพื่อสุขภาพ



น้ำผลไม้สมุนไพรเพื่อสุขภาพ
น้ำแตงโม


ส่วนผสม
เนื้อแตงโม 50 กรัม ( 5 ช้อนคาว) 
น้ำเชื่อม 15 กรัม ( 1 ช้อนคาว) 
เกลือป่นเสริมไอโอดีน 1 กรัม (1/5ช้อนชา) 
น้ำเปล่าต้มสุก 150 กรัม (10 ช้อนคาว) 

วิธีทำ
นำเนื้อแตงโม น้ำ น้ำเชื่อม เกลือ ใส่ในเครื่องปั่น นำไปปั้นให้ละเอียด ชิมรสตามชอบ

ประโยชน์ที่ร่างกายจะได้รับ
คุณค่าทางอาหาร  มีวิตามินเอ ช่วยบำรุงสายตา และวิตามินซี ช่วย ป้องกันโรคเลือดออกตามไรฟัน
คุณค่าทางยา ช่วยขับปัสสาวะ ปากเป็นแผล แก้ร้อนใน แก้ กระหายน้ำ



น้ำเชอรี่



ส่วนผสม

เชอรี่ 100 กรัม (7 ช้อนคาว) 
น้ำเชื่อม 30 กรัม (2 ช้อนคาว) 
น้ำเปล่าต้มสุก 200 กรัม (14 ช้อนคาว) 
เกลือป่นเสริมไอโอดีน 1 กรัม(1/5 ช้อนชา) 

วิธีทำ
เลือกเชอรี่เด็ดก้านล้างให้สะอาด นำไปใส่เครื่องปั่นใส่น้ำต้มครึ่งหนึ่ง ปั่นให้ละเอียดนำไปกรองเอาแต่น้ำ นำน้ำเปล่าต้มสุกส่วนที่เหลือใส่ลง ไปคั้นกับกากเชอรี่ให้แห้งมากที่สุดนำน้ำเชอรี่ที่คั้นได้ใส่น้ำเชื่อมเติมเกลือ ชิมรสตามชอบ 

ประโยชน์ที่ร่างกายจะได้รับ

คุณค่าทางอาหาร มีวิตามินซีสูงมาก ช่วยป้องกันโรคเลือดออก ตามไรฟัน 
คุณค่าทางยา ช่วยป้องกันโรคโลหิตจาง 


น้ำฝรั่ง


ส่วนผสมน้ำฝรั่ง

ฝรั่งแก่จัด (หันชินเล็ก ๆ) 30 กรัม (2 ช้อนคาว) 
น้ำต้มสุก 200 กรัม (14 ช้อนคาว) 
น้ำเชื่อม 15 กรัม (1 ช้อนคาว) 
เกลือป่นเล็กน้อย 2 กรัม (2/5 ช้อนชา) 

วิธีทำ

เลือกฝรั่งที่แก่จัด ล้างน้ำสะอาด ฝานเฉพาะเนื้อชิ้นเล็ก ๆ นำใส่เครื่องปั่น เติมน้ำสุก ปั่นจนละเอียด แล้วกรองด้วยผ้าขาวบาง เติมน้ำเชื่อมและเกลือป่นเล็กน้อย ชิมรสตามใจชอบ 

ประโยชน์ที่ร่างกายจะได้รับ

คุณค่าทางอาหาร มีวิตามินซีสูง ช่วยป้องกันโรคเลือดออกตามไรฟัน และมีสารเบต้า-คาโรทีน ช่วยลดสารพิษในร่างกาย ทั้งยังป้องกันไม่ให้ไขมันจับที่ผนังหลอดเลือด ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคหลอดเลือดแข็งตัว 

คุณค่าทางยา ช่วยลดระดับไขมันในเลือด ซึ่งเหมาะสำหรับผู้ป่วย เส้นเลือดอุดตัน 


น้ำมะขาม


ส่วนผสม

เนื้อมะขามสด หรือเปียก 20 กรัม (2 ฝักใหญ่) 
น้ำเชื่อม 30 กรัม (2 ช้อนคาว) 
เกลือป่นเสริมไอโอดีน 2 กรัม (2/5ช้อนชา) 
น้ำเปล่า 240 กรัม (16 ช้อนคาว) 

วิธีทำ

นำมะขามสดไปลวกในน้ำต้มเดือด ตักขึ้นแกะเอาแต่เนื้อมะขาม นำไป ต้มกับน้ำตามส่วนผสม
ให้เดือด เติมน้ำเชื่อม เกลือ ชิมรสตามชอบ แต่ถ้าใช้มะขามเปียก ควรแช่น้ำไว้สัก 1/2 ชั่วโมง เพื่อให้มะขามเปียก เปื่อยยุ่ยออกมารวมกับน้ำ ก่อนนำไปต้มจนเดือด แล้วปรุงด้วยน้ำเชื่อม และเกลือ 

ประโยชน์ที่ร่างกายจะได้รับ

คุณค่าทางอาหาร มีวิตามินเอ ช่วยบำรุงสายตา และมีแคลเซียมช่วย บำรงกระดูก รวมทั้งแก้กระหายน้ำ 

คุณค่าทางยา ช่วยขับเสมหะ แก้ไอ เป็นยาระบายท้อง ช่วยการ ขับถ่ายได้ดี ลดอาการโลหิตจาง ป้องกันโรคเลือดออกตามไรฟัน


น้ำมะเฟือง


ส่วนผสม

มะเฟืองหั่น 40 กรัม (1 ผลเล็ก) 
น้ำเชื่อม 30 กรัม (2 ช้อนคาว) 
เกลือป่นเสริมไอโอดีน 1 กรัม (1/5 ช้อนชา) 
น้ำต้มสุก 200 กรัม (14 ช้อนคาว)

วิธีทำ
ล้างมะเฟืองที่แก่จัดให้สะอาด หั่น แกะเมล็ดออกแล้วนำใส่เครื่องปั่น เติม น้ำสุกปั่นละเอียดแล้วเติมน้ำเชื่อม เกลือ ชิมดูรสตามใจชอบ ถ้าต้องการเก็บ ไว้ดื่ม ให้ตั้งไฟให้เดือด 3-5 นาที กรอกใส่ขวด นึ่ง 20-30 นาที เย็นแล้วเข้า ตู้เย็น จะได้น้ำมะเฟืองสีเหลืองอ่อนๆ ดื่มแล้วชื่นใจ 

ประโยชน์ที่ร่างกายจะได้รับ
คุณค่าทางอาหาร น้ำมะเฟืองมีสีเหลืองอ่อนๆ มีกลิ่นหอม ประกอบ ด้วยคุณค่าของวิตามินเอ วิตามินซี ฟอสฟอรัส และแคลเซียมเล็กน้อย 
คุณค่าทางยา เป็นยาขับเสมหะ ป้องกันโรคโลหิตจาง ขับปัสสาวะ รวมทั้งป้องกันเลือดออกตามไรฟัน



น้ำมะม่วง


ส่วนผสม

เนื้อมะม่วงดิบ 100 กรัม (ครึ่งผลเล็ก) 
น้ำต้มสุก 200 กรัม (14 ช้อนคาว) 
น้ำเชื่อม 30 กรัม (2 ช้อนคาว) 
เกลือป่น 1 กรัม (1/5 ช้อนชา) 

วิธีทำ

เตรียมวิธีที่ 1 ใช้มะม่วงดิบ เช่น มะม่วงแก้วหรือมะม่วงแรด เป็นมะม่วง ที่มีรสเปรี้ยวไม่มากนัก จะได้น้ำมะม่วงที่มีรสกลมกล่อม ปอกเปลือกมะม่วงออก ล้างน้ำ สับให้เป็นเส้นๆ เล็กๆ คั้นกับน้ำสุก กรองด้วยผ้าขาวบาง เอากากออก เติม น้ำเชื่อม เกลือป่น ชิมดูตามใจชอบ ใส่น้ำแข็งดื่มจะได้น้ำมะม่วงใส สีขาวนวล มีรส หวานอมเปรี้ยว 
เตรียมวิธีที่ 2 ใช้มะม่วงดิบ เหมือนกับวิธีที่ 1 คือสับเนื้อมะม่วงให้เป็น เส้นๆ ปั่นให้ละเอียด เติมน้ำสุก น้ำเชื่อม และเกลือป่นตามต้องการ ชิมดูรสตาม ใจชอบ น้ำมะม่วงที่เตรียมวิธีนี้จะขุ่นขาว เพราะมีเนื้อมะม่วงป่นอยู่ 
เตรียมวิธีที่3 ใช้มะม่วงสุก ล้างมะม่วงให้สะอาด ปอกเปลือก ฝานเนื้อเข้า เครื่องปั่น เดิมน้ำสุก เติมเกลือเล็กน้อย ชิมดูตามต้องการ ถ้าต้องการหวานให้เติม น้ำเชื่อมลงไป 
น้ำมะม่วงควรเตรียมและดื่มให้หมดใน 1 วัน 

ประโยชน์ที่ร่างกายจะได้รับ

คุณค่าทางอาหาร มีวิตามินเอและวิตามินซีสูง ช่วยบำรุงสายตา ป้องกัน โรคเลือดออกตามไรฟันและยังมีฟอสฟอรัส แคลเซียม และเหล็กเล็กน้อย 
คุณค่าทางยา เป็นยาระบายอ่อน ๆ 


น้ำสับปะรด


ส่วนผสม

น้ำสับปะรด 240 กรัม (1/4 ผลใหญ่) 
น้ำเชื่อม 15 กรัม (1 ช้อนคาว) 
เกลือป่นเสริมไอโอดีน 2 กรัม (2/5 ช้อนชา) 

วิธีทำ
นำสับปะรดล้างให้สะอาด ปอกเปลือกแล้วล้างอีกครั้ง คั้นเอาแต่น้ำ เติมน้ำเชื่อม เกลือ ชิมรสตามชอบ 

ประโยชน์ที่ร่างกายจะได้รับ

คุณค่าทางอาหาร มีแคลเซียม และฟอสฟอรัสมากช่วยบำรุงกระดูก และฟันรองลงมามีวิตามินซีช่วยป้องกันโรคเลือด ออกตามไรฟัน 
คุณค่าทางยา ช่วยย่อยอาหาร ลดอาการแน่นท้อง ลดอาการ อักเสบ บวม ซ่อมแซมเนื้อเยื่อที่สึกหรอ ช่วยขับ เสมหะ


น้ำกระเจี๊ยบแดง


ส่วนผสม

ดอกกระเจี๊ยบสด/แห้ง 20 กรัม (5 ดอก) 
น้ำเชื่อม 30 กรัม (2 ช้อนคาว) 
น้ำเปล่า 200 กรัม (14 ช้อนคาว) 
เกลือป่นเสริมไอโอดีน 2 กรัม (2/5 ช้อนคาว)

วิธีทำ
1 เอาดอกกระเจี๊ยบสดหรือแห้งก็ได้ ล้างน้ำทำความสะอาดนำใส่หม้อ ต้มจนเดือด แล้วลดไฟลงอ่อน ๆ เคี่ยวเรื่อย ๆ จนน้ำเป็นสีแดง จนเข้มข้น 
2. เอาดอกกระเจี๊ยบขึ้นจากหม้อต้ม แล้วเอาน้ำเชื่อมและเกลือใส่ลงไป ปล่อยให้น้ำกระเจี๊ยบเดือด 1 นาที ก็ยกลง ชิมรสตามใจชอบ 
3. เอาขวดแม่โขงมาล้างทำความสะอาด ต้มในน้ำเดือด 20 นาที นำ น้ำกระเจี๊ยบแดงมากรอก แล้วปิดจุกให้แน่น เก็บไว้ได้นาน (ควร แช่ในตู้เย็น) 
หรืออีกวิธีหนึ่ง นำดอกกระเจี๊ยบมาตากแห้ง แล้วนำมาบดเป็นผง นำผงกระเจี๊ยบครั้งละ 1 ช้อนชา ชงในน้ำเดือด 1 ถ้วย (250 มิลลิกรัม )

ประโยชน์ที่ร่างกายจะได้รับ

คุณค่าทางอาหาร ให้วิตามินเอสูงมาก ซึ่งช่วยบำรุงสายตารอง ลงมามีแคลเซียม ช่วยบำรุงกระดูกและฟัน 
คุณค่าทางยา ช่วยขับปัสสาวะ ลดความดันโลหิต เป็นยาระบาย อ่อนๆ และช่วยแก้อาการกระหายน้ำ


น้ำขิง


ส่วนผสม

ขิงสด 15 กรัม (ขนาด 1” x 15” 5 ชิ้น) 
น้ำเชื่อม 15 กรัม (1 ช้อนคาว) 
น้ำเปล่า 240 กรัม (16 ช้อนคาว) 

วิธีทำ

นำขิงมาปอกเปลือกล้างให้สะอาดหั่นเป็นแว่นใส่หม้อใส่น้ำ ตั้งไฟต้ม น้ำจนเดือดสักครู่ยกลง กรองเอาขิงออก ใส่น้ำเชื่อม ชิมรสตามชอบ หรืออีกวิธีหนึ่ง ใช้เหง้าขิงแก่ฝนกับน้ำมะนาว ใช้กวาดคอ หรือใช้ เหง้าขิงสดตำผสมน้ำเล็กน้อย นั้นเอาน้ำและใส่เกลือนิดหน่อยใช้จิบบ่อย ๆ 

ประโยชน์ที่ร่างกายจะได้รับ

คุณค่าทางอาหาร พรั่งพร้อมด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น มีแคลเซียม ช่วยบำรุงกระดูกและฟัน และยัง มีสารเบต้า-แคโรทีนอีกด้วยซึ่งช่วยต้านโรคมะเร็ง 
คุณค่าทางยา 
แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ขับลม และขับเสมหะ แก้อาการ คลื่นไส้ อาเจียน เมารถเมาเรือ ช่วยเจริญอาหาร กินข้าวได้นอกจากนั้นยังลดการจับตัวของลิ่มเลือด ช่วยย่อยอาหารโดยเพิ่มการหลั่งน้ำดีและน้ำย่อย ต่าง ๆ ต้านการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร 


น้ำตะไคร้


ส่วนผสม

ตะไคร้ 20 กรัม (1 ต้น) 
น้ำเชื่อม 15 กรัม (1 ช้อนคาว) 
น้ำเปล่า 240 กรัม (16 ช้อนคาว) 

วิธีทำ
นำตะไคร้มาล้างให้สะอาด หั่นเป็นท่อนสั้น ทับให้แตก ใส่หม้อต้มกับ น้ำให้เดือดกระทั่งน้ำตะไคร้ออกมาปนกับน้ำจนเป็นสีเขียว สักครู่จึงยกลง กรองเอาตะไคร้ออก เติมน้ำเชื่อมชิมรสตามชอบหรืออาจเอาเหง้าแก่ที่อยู่ใต้ดิน ล้างให้สะอาด ฐานเป็นแว่นบาง ๆ คั่วไฟอ่อน ๆ พอเหลือง ชงเป็นชา ดื่มวันละ 3 ครั้ง ๆ ละ 1 ถ้วยชา จะช่วยขับปัสสาวะให้สะดวก 

ประโยชน์ที่ร่างกายจะได้รับ

คุณค่าทางอาหาร มีวิตามินเอ ช่วยบำรุงสายตา นอกจากนี้ยัง แคลเซียมและฟอสฟอรัส ช่วยบำรุงกระดูกและฟัน ช่วย เพิ่มกลิ่นหอมให้กับอาหาร 
คุณค่าทางยา แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ จุกเสียด ขับ ปัสสาวะ ขับเหงื่อได้ดีช่วยลดพิษของสารแปลก ปลอมในร่างกาย รวมทั้งช่วยลดความดันโลหิต 



อาหารสมุนไพร




อาหารสมุนไพร

แกงส้มดอกแค



” แกงส้มดอกแค แก้ไข้หัวลม ” มักจะเป็นคำพูดติดปากที่ได้ยินคุ้นหูกันมาตั้งแต่สมัยโบราณ ซึ่งจริง ๆ แล้วแกงส้มนั้นสามารถใช้ผักต่าง ๆ ได้หลากหลายชนิด เช่น แกงส้มผักกระเฉด แกงส้มผักบุ้ง แกงส้มถั่วฝักยาว เป็นต้น และแกงส้มยังมีคุณค่าด้านเป็นยาปรับสมดุลของร่างกายได้ตามหลักของการแพทย์แผนไทย

เครื่องปรุงในการทำ
ดอกแค 2 ถ้วย
กุ้งก้ามกราม 3 ตัว หรือปลาช่อนตัวเล็ก 1 ตัว
น้ำมะขามเปียก 2 ช้อนโต๊ะ
น้ำ 3 ถ้วย

วิธีทำเครื่องแก แกงส้มดอกแค
พริกแห้งเม็ดใหญ่แกะเมล็ดออกแช่น้ำ 5 เม็ด
หอมแดงซอย 3 หัว
กระเทียม 2 หัว
ตะไคร้ซอย 3 หัว
เกลือป่น/กะปิ 1 ช้อนชาวิธีทำ แกงส้มดอกแค
โขลกพริกแห้ง เกลือ ตะไคร้ให้ละเอียด ใส่กระเทียม หอมแดง กะปิ โขลกเข้ากันให้ละเอียด
ดอกแค เด็ดเกสรออก ล้างให้สะอาดใส่ตะแกรงพักให้สะเด็ดน้ำ
ล้างกุ้ง ตัดกรีออก แกะเปลือกที่ตัวกุ้งออกจนถึงเปลือกข้อสุดท้าย ไว้หางผ่าหลัง ดึงเส้นดำออกหรือล้างปลาตัดเป็นท่อนเล็กๆ
ต้มน้ำให้เดือด ใส่กุ้งหรือปลาพอสุกใส่เครื่องแกงที่เตรียมไว้ คนพอให้ทั่ว ใส่น้ำปลา น้ำมะขามเปียก น้ำมะนาว คนพอให้ทั่ว ใส่น้ำปลา น้ำมะขามเปียก น้ำมะนาว คนให้ทั่วชิมรส พอเดือดใส่ดอกแค ยกลงตัดใส่ชามพร้อมเสิร์ฟ

สรรพคุณทางยา

น้ำพริกแกงส้ม รสเผ็ดร้อน ช่วยขับลม ช่วยย่อยอาหาร
ดอกแค รสหวานออกขมเล็กน้อย แก้ไข้หัวลม
มะขามเปียก รสเปรี้ยว ขับเสมหะ แก้ท้องผูก แก้ไอ ลดความร้อนในร่างกาย
มะนาว เปลือกผลรสขมช่วยขับลม น้ำในลูกรสเปรี้ยว แก้เสมหะ แก้ไอ แก้เลือดออกตามไรฟัน ฟอกโลหิต
ประโยชน์ทางอาหาร
แกงส้มดอกแคแก้ไข้หัวลม มีประโยชน์และคุณค่ามากมาย เช่น รสเปรี้ยวของแกงส้มบำรุงธาตุน้ำ รสเผ็ดของน้ำแกงบำรุงธาตุลม ดอกแคมีก้านเกสร รสขม แก้ไข้ ซึ่งการที่จะมุ่งประโยชน์ในการปรับธาตุใดนั้นให้ปรุงรสเน้นไปตามธาตุนั้น

คุณค่าทางโภชนาการ

แกงส้มดอกแค 1 ชุด ให้พลังงานต่อร่างกาย 58 กิโลแคลอรี่ ประกอบด้วย
น้ำ 501.4 กรัม
โปรตีน 111.9 กรัม
ไขมัน 22 กรัม
คาร์โบไฮเดรต 7.3 กรัม
กาก 7.1 กรัม
ใยอาหาร1.1 กรัม
เถ้า 16.8 กรัม
แคลเซียม 435.3 มิลลิกรัม
ฟอสฟอรัส 1,634.7 มิลลิกรัม
เหล็ก 49.2 มิลลิกรัม
วิตามินเอ 1207.7 IU
วิตามินบีหนึ่ง 0.58 มิลลิกรัม
วิตามินบีสอง 1.37 มิลลิกรัม
ไนอาซิน 17.16 มิลลิกรัม
วิตามินซี 30.85 มิลลิกรัม
  




เมี่ยงคำ




เมี่ยงคำเป็นอาหารที่คนภาคกลางนิยมรับประทานเป็นอาหารว่าง ในช่วงฤดูฝน เนื่องจากเป็นช่วงที่ต้นชะพลูออกใบและยอดอ่อนมากที่สุดและรสชาติดีแต่จริงๆ แล้วเมี่ยงคำสามารถรับประทานเป็นอาหารว่างได้ตลอดทั้งปี แล้วแต่ว่าจะมุ่งรับประทานเพื่อความอร่อยหรือจะรับประทานเพื่อการดูแลสุขภาพ (การปรับสมดุลธาตุในร่างกาย)


 วัตุดิบในการทำเมี่ยงคำ

ใบชะพลู หรือใบทองหลาง
มะพร้าวหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ คั่ว
หอมแดงหั่นเป็นชิ้นลูกเต๋า
ขิงหั่นสี่เหลี่ยมลูกเต๋า
มะนาวหั่นทั้งเปลือกเป็นสี่เหลี่ยมลูกเต๋า
พริกขี้หนูซอย
ถั่วลิสงคั่ว
กุ้งแห้ง (เลือกที่เป็นชนิดจืด)
น้ำราดเมี่ยงคำ

น้ำตาลปี๊บ 1 ถ้วย
กะปิ (เผาเพื่อเพิ่มความหอม)
น้ำปลาอย่างดี 1 ถ้วย
ข่าหั่นละอียด 1 ช้อนโต๊ะ
ตะไคร้หั่นฝอย 1 ช้อนโต๊ะ
กุ้งแห้งโขลกละเอียด 1/4 ถ้วย

ขั้นตอนการทำ

คั่วมะพร้าว ในกระทะโดยใช้ไฟอ่อน จนได้มะพร้าวคั่วที่กรอบหอม
ทำน้ำราดเมี่ยงคำ โดยเริ่มจาก ตำโขลก ตะไคร้ ข่า หอมแดงเข้า และกะปิเข้าด้วยกันให้ละเอียด เคี่ยวจนน้ำราดเมี่ยงคำเริ่มเหนียว ยกลงแล้วใส่กุ้งแห้งคั่ว
เคี่ยวน้ำตาลปี๊บด้วยไฟปานกลาง และเติมน้ำปลาลงไป
ใส่เครื่องที่โขลกไว้ลงไป คนให้เข้ากัน
อาจเสริ์ฟเป็นคำๆ โดย ห่อเครื่องต่างๆ ด้วยใบชะพลู หรือใบทองหลาง แล้วเสียบไม้จิ้มฟันเป็นคำไว้ แล้วตักน้ำราดเมี่ยงคำใส่ถ้วยแยกไว้ต่างหาก
วิธีการจัดรับประทาน
ให้จัดใบชะพลูหรือใบทองหลางใส่จานวางเครื่องปรุงอย่างละน้อยลงบนใบชะพลู หรือใบทองหลางที่จัดเรียงไว้ตักน้ำเมี่ยงหยอดห่อเป็นคำๆ รับประทาน

สรรพคุณทางยา

มะพร้าว รสมันหวาน บำรุงกำลัง บำรุงเส้นเอ็น ใช้รักษาโรคกระดูก
ถั่วลิสง รสมัน บำรุงเส้นเอ็น บำรุงธาตุดิน
หอมแดง รสเผ็ดร้อน แก้ไข้เพื่อเสมหะ บำรุงธาตุ แก้ไข้หวัด
ขิง รสหวาน เผ็ดร้อน แก้จุดเสียด แก้เสมหะ บำรุงธาตุ แก้คลื่นเหียนอาเจียน
มะนาว เปลือกผล รสขม ช่วยขับลม น้ำมะนาวรสเปรี้ยว ขับเสมหะ แก้ไอ แก้เลือดออกตามไรฟัน ฟอกโลหิต
พริกขี้หนู รสเผ็ดร้อน ช่วยเจริญอาหาร ขับลม ช่วยย่อย
ใบชะพลู รสเผ็ดเล็กน้อย แก้ธาตุพิการ ขับลม
ใบทองหลาง ขับพยาธิไส้เดือน แก้ตาแดง ตาแฉะ ตับพิษ
ข่า รสเผ็ดปร่าและร้อน ช่วยขับลม ขับพิษโลหิตร้ายในมดลูก ขับลมในลำไส้
ตะไคร้ แก้ปวดท้อง ขับปัสสาวะ บำรุงธาตุ ช่วยเจริญอาหาร และขับเหงื่อ
ประโยชน์ทางอาหาร
เมี่ยงคำเป็นอาหาร ช่วยบำรุงธาตุ ปรับธาตุชั้นหนึ่งในเครื่องเมียงคำที่ประกอบด้วยใบชะพลู มะนาว บำรุงธาตุน้ำ พริก หอม บำรุงธาตุลม ขิงและเปลือกมะนาว บำรุงธาตุไฟ มะพร้าว ถั่วลิสง น้ำตาล กุ้งแห้ง บำรุงธาตุดิน เมื่อทำเมี่ยงคำเป็นอาหารว่าง ผู้รับประทานสามารถปรุงตามสัดส่วนที่สอดคล้องกับธาตุเจ้าเรือนของตนได้ หรือปรุงสัดส่วนตามอาการที่ไม่สบายได้อย่างเหมาะสม

คุณค่าทางโภชนาการ


เมี่ยงคำ 1 ชุด ให้พลังงานต่อร่างกาย 659 กิโลแคลอรี ประกอบด้วย


โปรตีน 114 กรัม
ไขมัน 88.6 กรัม
คาร์โบไฮเดรต 370.7 กรัม
กาก 9.6 กรัม
ใยอาหาร 13.4 กรัม
เถ้า 6.4 กรัม
แคลเซียม 1032 มิลลิกรัม
ฟอสฟอรัส 1679.1 มิลลิกรัม
เหล็ก 51.1 มิลลิกรัม
วิตามินเอ 4973.7 IU
วิตามินบีหนึ่ง 140.2 มิลลิกรัม
วิตามินบีสอง 1.7 มิลลิกรัม
ไนอาซิน 35.2 มิลลิกรัม
วิตามินซี 186.4 มิลลิกรัม





สะเดา-น้ำปลาหวาน-ปลาดุกย่าง


สะเดาเป็นผักพื้นบ้านที่มีรสขม ซึ่งคนไทยนิยมรับประทานเป็นผักตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนต้น คนไทยชอบรับประทานดอกสะเดาในช่วงต้นของฤดูหนาว เนื่องจากเชื่อว่า การกินสะเดาก่อนที่จะเป็นไข้ป้องกันได้ แต่ถ้ากินเมื่อเป็นแล้ว สามารถรักษาให้หายได้ (แต่ต้องเป็นไข้ที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของ อุตุสมุฎฐานที่ร่างกายปรับไม่ทัน) จะทำให้มีอาการครั่นเนื้อครั่นตัว น้ำมูกใส คนโบราณเรียกว่า ?ไข้หัวลม ?การรับประทานสะเดานั้นคนภาคกลางนิยมรับประทานกับน้ำปลาหวานและปลาดุกย่าง เนื่องจากรสหวานของน้ำปลาหวานจะช่วยกลบรสขมของสะเดาได้ จึงทำให้รู้สึกรสชาติกลมกล่อม(อร่อย) เจริญอาหารยิ่งขึ้น

เครื่องปรุง

น้ำตาลปีบ2 ถ้วย (200 กรัม)
น้ำมะขามเปียกข้น ๆ? ถ้วย (80 กรัม)
น้ำปลา? ถ้วย (80 กรัม)
หอมแดงเจียว? ถ้วย (50 กรัม)
กระเทียมเจียว? ถ้วย (50 กรัม)
พริกขี้หนูแห้งหั่นบางๆทอดกรอบ? ถ้วย (50 กรัม)
ดอกสะเดาอ่อน5-10 กำ (500 กรัม)
ปลาดุกอุย? ตัว (400 กรัม)
น้ำมันพืชสำหรับทา1-2 ช้อนโต๊ะ (30 กรัม)

วิธีทำ
น้ำเครื่องปรุงน้ำปลาหวาน
1. ล้างสะเดาให้สะอาด อย่าให้ช้ำ ต้มน้ำให้เดือดเทใส่ภาชนะที่ใส่สะเดาไว้ให้ท่วม ปิดฝา
2. ผสมน้ำตาล น้ำมะขาม น้ำปลา เข้าด้วยกัน ตั้งไฟกลางค่อนข้างเคี่ยวจนเหนียวพอเคลือบพายติด ยกลง
3. ตักใส่ถ้วย โรยหน้าด้วยหอมแดง กระเทียม พริกเสิร์ฟพร้อมสะเดา และปลาดุกย่าง

เครื่องปรุงปลาดุกย่าง
1. ล้างปลาให้สะอาด ผ่าท้อง ควักไส้ออก ล้างให้สะอาด บั้งปลาเฉียงๆ ทั้งสองด้าน
2. นำปลาขึ้นย่างบนตะแกรงที่ทาน้ำมันไว้แล้ว หรือจะทาที่ตัวปลาก็ได้ ย่างไฟกลาง จนสุกเหลืองทั้งสองด้าน

วิธีการลวกสะเดา
ให้นำดอกสะเดาลวกในน้ำเดือด หรืออาจใช้วิธีต้มลงในน้ำเดือดหรือน้ำข้าวร้อนๆ เพื่อลดความขมลงก็ได้ มรกรณีที่ดอกสะเดาออกมาก รับประทานไม่ทัน ชาวบ้านจะมีวิธีเก็บสะเดาไว้รับประทานนานๆ (การถนอมอาหาร) โดยการเก็บดอกสะเดามาลวก 1 ครั้ง แล้วนำไปตากแดดจนแห้งสนิท เก็บไว้ในที่สะอาดและโปร่ง เมื่อต้องการจะรับประทานก็นำดอกสะเดาแห้งมาลวกน้ำร้อนอีกครั้งหนึ่งก็จะได้สะเดาที่มีรสจืด (ไม่ขมหรือขมน้อย) ลักษณะเช่นเดียวกับสะเดาสดทุกประการ

สรรพคุณทางยา
1. ดอกสะเดา รสขมจัด ช่วยเจริญอาหาร บำรุงธาตุ แก้ไข้หัวลม
2. น้ำมะขามเปียก รสเปรี้ยว แก้ไอ ขับเสมหะ เป็นยาระบายแก้ท้องผูก
3. หอมแดง รสเผ็ดร้อน แก้ไข้เพื่อเสมหะ บำรุงธาตุ แก้ไข้หวัด
4. กระเทียม รสเผ็ดร้อน ขับลมในลำไส้ แก้ไอ ขับเสมหะ ช่วยย่อยอาหาร แก้โรคทางผิวหนัง น้ำมันกระเทียมมีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญของเชื้อรา แบคทีเรีย และไวรัส ลดน้ำตาลในเลือด ลดไขมันในหลอดเลือด
5. พริกขี้หนูแห้ง รสเผ็ด ช่วยเจริญอาหาร ขับลม ช่วยย่อย

ประโยชน์ทางอาหาร
สะเดา-น้ำปลาหวาน-ปลาดุกย่าง นิยมใช้เป็นผักในช่วยฤดูหนาว โดยการนำมาลวกกับน้ำร้อน รับประทานกับน้ำปลาหวานและปลาดุกย่าง เพื่อช่วยบรรเทาความร้อนและเจริญอาหาร พร้อมๆ กับการป้องกันการเกิดไข้หัวลมในช่วงที่ธาตุน้ำกระทบธาตุไฟในต้นฤดูร้อน สะเดารสขมจึงบำรุงธาตุไฟและธาตุน้ำเป็นอย่างดี ปรับธาตุทั้งสองเป็นลำดับใครรู้สึกว่าธาตุใดแปรปวนก็แต่งรสให้สอดคล้องตามธาตุของตัวเอง บางครั้งมีปลาเผา ปลาดุดย่าง รับประทานร่วมด้วยก็ยิ่งเสริมธาตุดินมากยิ่งขึ้น

คุณค่าทางโภชนากา
สะเดา-น้ำปลาหวาน-ปลาดุกย่าง 1 ชุด ให้พลังงานต่อร่างกาย 1938 กิโลแคลอรี ประกอบด้วย


- น้ำ 96 กรัม
- โปรตีน 27.8 กรัม
- ไขมัน 16.1 กรัม
- คาร์โบไฮเดรต 331.3 กรัม
- กาก 24.6 กรัม
- ใยอาหาร 8 กรัม
- เถ้า 2.5 กรัม
- แคลเซียม 2038.2 มิลลิกรัม
- ฟอสฟอรัส 751.7 มิลลิกรัม
- เหล็ก 72.5 กรัม
- เรตินอล 2.2 ไมโครกรัม
- เบต้า-แคโรทีน 18055 ไมโครกรัม
- วิตามินเอ 25388 IU
- วิตามินบีหนึ่ง 139.34 มิลลิกรัม
- วิตามินบีสอง 1.2 มิลลิกรัม
- ไนอาซิน 24.85 มิลลิกรัม
- วิตามินซี 984.40 มิลลิกรัม






แกงเลียง


อาหารที่มีรสชาติเฉพาะตัวอร่อยเผ็ดร้อนพริกไทย หอมกลิ่นสมุนไพรจากพืชผักหลากหลายชนิด มีประโยชน์ในการขับพิษ ไข้เป็นอย่างดี

แกงเลียง เป็นแกงที่ประกอบด้วยน้ำพริก ผัก เนื้อสัตว์ น้ำแกงและเครื่องปรุงรส น้ำพริกแกงเลียงจะแปลกกว่าน้ำพริกแกงชนิดอื่นๆ เพราะมีพริกไทย หัวหอม กะปิ กุ้งแห้ง ปลาย่างหรือปลากรอบ น้ำแกงมีลักษณะข้น ผักที่นิยมใส่ที่สามารถบอกลักษณะว่าเป็น

แกงเลียง คือ ใบแมงลักมีกลิ่นหอม่ารับประทาน นอกจากนั้นยังมีผักเช่น ตำลึง ฟักทอง ข้าวโพดอ่อน หัวปลี บวบ ผักหวาน ฯลฯ เนื้อสัตว์ ได้แก่ กุ้งสด เนื้อไก่ ฯลฯ ปรุงรสด้วยน้ำปลาหรือเกลือ อิ้อฮือ! แค่นึกถึงภาพก็น้ำลายไหลซะแล้ว แต่ก่อนอื่นเราไปรู้จักวิธีการทำ “แกงเลียง” ดีกว่าค่ะ

เครื่องปรุง

ฟักทองเนื้อดี หันชิ้นพอคำ จำนวน 10 – 12 ชิ้น
บวบเหลี่ยม (หักชิมดูเสียก่อนว่าไม่ขม) ประมาณ 1 ลูก ขนาดพอดีปอกเปลือกออกจนเกลี้ยงเกลา ให้เหลือเปลือกไว้บ้าง เพื่อรักษาคุณค่าทางอาหาร หั่นเป็นชิ้นขนาด 12 – 15 ชิ้น
ข้าวโพดอ่อนหั่นแฉลบ 4 ฝัก
กระชาย 2 หัว ทุบเบาๆแล้วหั่นเป็นท่อนยาวประมาณ 1 นิ้ว
ตำลึงยอดงามๆสัก 10 ยอดเด็ดเอาแต่ใบอ่อนๆ
ใบแมงลัก 3 – 4 กิ่ง เด็ดเอาแต่ใบหรือยอดดอกอ่อนๆ
กุ้งแม่น้ำหรือกุ้งชีแฮ้ 6 – 7 ตัว ปอกเปลือกเอาเส้นดำออก
น้ำซุป(จากการต้มซี่โครงหมูหรือโครงไก่) 4 ถ้วยตวง
น้ำปลาดี 2 ช้อนโต๊ะ
ถ้าชอบเผ็ดเพิ่มพริกขี้หนูสดอีก5 – 6 เม็ด บุบพอแตก

เครื่องปรุงพริกแกง

พริกชี้ฟ้าแดงผ่าเอาเมล็ดออก 2 เม็ด
กระชาย 4 หัว
หอมแดงหัวขนาดกลาง 5 หัว
พริกไทยขาว 12 เม็ด
กะปิเผาไฟพอสุก 2 ขีดครึ่ง
กุ้งแห้ง 2 ขีดครึ่ง

วิธีทำ

นำเครื่องปรุงพริกแกงโขลกให้ละเอียด ถ้าชอบให้น้ำแกงข้นอีกนิดก็ใช้เนื้อปลา จะย่างหรือต้มสุกก็ได้แล้วนำมาโขลกรวมกับพริกแกง
นำน้ำซุปตั้งไฟพอเดือด ใส่เครื่องแกงลงไป ปรุงรสด้วยน้ำปลา ชิมให้ได้รสเค็มและเผ็ดนิดๆพอน้ำแกงเดือดอีกทีใส่ผักชนิดที่สุกยากลงก่อน เช่น ฟักทอง ข้าวโพดอ่อน ตามด้วยกุ้งสดรอจนแน่ใจว่าผักสุกดีแล้วจึงใส่ใบตำลึง
ใส่ใบแมงลักเป็้นรายการสุดท้ายแล้วคนให้เข้ากัน ตักเสิร์ฟขณะร้อนได้รสชาติดี

สรรพคุณทางยา

พริกไทย รสเผ็ดร้อน ขับลม ขับเหงื่อ ช่วยเจริญอาหาร
หอมแดง รสเผ็ดร้อน แก้ไข้เพื่อเสมหะ บำรุงธาตุ แก้ไข้หวัด
ผักต่าง ๆ เช่น ฟักทอง รสมันหวาน บำรุงร่างกาย บำรุงสายตา
บวบ รสเย็นจืดออกหวาน มีแคลเซียม เหล็กและฟอสฟอรัสมาก
น้ำเต้า
- ผลอ่อน ใช้ปรุงอาหาร
- เมล็ด ประเทศจีนนำมาต้มกับเกลือกินเพื่อเจริญอาหาร เถา, ใบอ่อน, เนื้อหุ้มรอบ ๆ เมล็ด ประเทศอินเดียใช้เป็นยาทำให้อาเจียนและยาระบาย เป็นยาถ่ายพยาธิและแก้อาการบวมน้ำ
ตำลึง รสเย็น ใบสดตำคั้นน้ำแก้พิษแมลงสัตว์กัดต่อย ปวดแสบปวดร้อน และคั้นรับประทานเป็นยาดับพิษร้อน แก้เจ็บตา ตาแดง ตาแฉะ
ข้าวโพด รสมันหวาน
-เมล็ด เป็นยาบำรุงกระเพาะอาหาร ฝาด สมานบำรุงหัวใจ ปอด เจริญอาหาร ขับปัสสาวะ
ใบแมงลัก ใบสด รสหอมร้อน เป็นยาแก้หวัด แก้หลอดลมอักเสบ แก้โรคท้องร่วง ขับลม


หมายเหตุ 
แกงเลียงที่อร่อยมักจะต้องสด ใหม่ จึงจะทำให้น้ำแกงหวานโดยธรรมชาติ และหอมน้ำพริกแกง ควรรับประทานขณะร้อนๆ แกงเลียงมักจะรับประทานกับน้ำพริกกะปิ

ประโยชน์ทางอาหาร
แกงเลียงมีส่วนประกอบพริกขี้หนู หอม พริกไทย กะปิ เกลือ กุ้งแห้ง ผักต่าง ๆ เช่น บวบ ฟักทอง น้ำเต้า ตำลึง ข้าวโพด ใบแมงลัก โบราณเชื่อว่าเป็นอาหารที่ช่วยประสะน้ำนมสำหรับสตรีหลังคลอด ทำให้นมบริบูรณ์ และแก้ไข้หวัดได้เป็นอย่างดี

 


 ที่มา http://www.samunpri.com/food/

  


สมุนไพร3 ตัว ที่ ให้ประโยชน์ต่อร่างกาย







สมุนไพร3 ตัว ที่ ให้ประโยชน์ต่อร่างกาย ขมิ้นชัน กระเทียม มะรุม 

กระเทียม(Garlic)



พืชล้มลุก มีลำต้นใต้ดิน เรียกว่า หัว หัวมีกลีบย่อยหลายกลีบ เนื้อสีขาว มีกลิ่นฉุน


เฉพาะ ใบยาว แบน ปลายแหลม ภายในกลวง ดอกรวมกันเป็นกระจุกที่ปลายก้าน


ช่อ ดอกสีขาวอมเขียว หรืออมชมพูม่วง ใช้หัวปลูก ชอบอากาศเย็นและดินร่วนซุย


กระเทียมช่วยป้องกันเชื้อโรคทุกชนิด รวมทั้งเชื้อดื้อยาปฏิชีวนะด้วย มีหลักฐาน


พบว่า มีการใช้กระเทียมรักษาและป้องกันโรคมาหลายพันปีแล้ว พบว่ากระเทียม


ช่วยทำให้เลือดดี สามารถควบคุมระดับน้ำตาลและล้างสารพิษ 


ปริมาณที่ควรบริโภคเพื่อส่งเสริมการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันคือ 1,000-1,500 


มิลลิกรัม ซึ่งอาจใช้เป็นรูปกระเทียมสด กระเทียมสกัด กระเทียมผงได้ 


กระเทียมมีสารอัลลิซิน (alliein) ซึ่งเมื่อผสมกับก๊าซออกซิเจนแล้ว จะได้สาร


ประกอบถึง 100 กว่าชนิด ที่ทำปฏิกิริยาได้ทันที (active compounds) จากการ


ศึกษาก็ยังพบว่า กระเทียม ไม่ว่าจะอยู่ในรูป สด แห้ง น้ำมัน หรือปรุงแต่งแล้ว เช่น


ผ่านกระบวนการ aged นั้น ล้วนแล้วแต่มีประโยชน์ทั้งสิ้น 


กระเทียมสามารถต้านการรวมตัวของเลือด(antiaggregative) ลดสลายปริมาณ 


คอเลสเตอรอลและ ไตรกลีเซอไรด์ในเลือด ลดการเกิดโรคหัวใจและความดัน


โลหิตสูง ต้านเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา เชื้อไวรัส และสารที่เป็นพิษต่อตับ จากการ


ทดลองโดยใช้สัตว์ทดลองพบว่า กระเทียม สามารถต้านการเกิดเนื้องอก (tumor 


formation) และการค้นพบที่สำคัญยิ่งคือมีรายงานว่ากระเทียม ทำให้เซลล์เม็ด


เลือดขาวชนิด เอ็นเค (Natural killer , NK) ทำหน้าที่ได้ดีมากขึ้น 


กระเทียมยังส่งเสริมการทำงานของเซลล์แม็คโครเฟ็จ(macrophage) 


และเซลล์ลิมโฟซัยท์(lymphocytes) ซึ่งเซลล์นี้ทำหน้าที่สำคัญในการเพิ่ม


ภูมิคุ้มกันได้ การทดลองใช้กระเทียม แคลปซูลชนิดที่เรียกว่าไคโอลิค (Kyolic) 


ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ของชาวญี่ปุ่น ได้พบว่าทำให้ปฏิกิริยาของเซลล์ NK เพิ่มขึ้น 


156 % ขณะที่กระเทียมสดธรรมดาเพิ่มปฏิกิริยาได้ 140% แต่ราคากระเทียมสด


ในประเทศไทยถูกกว่ามากเราจึงน่าใช้กระเทียมสดมากกว่าผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปที่


ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ ควรกินกระเทียมสดวันละ 7- 10 กลีบในรูปการใช้ผสม


กับอาหารต่างๆ รวมทั้งน้ำจิ้ม คนไทยมีอาหารที่มีกระเทียมสดเป็นส่วนผสม


หลายอย่าง เช่น ขนมจีนซาวน้ำ มีกระเทียมสด ขิง และสับปะรด การกินร่วมกัน


นอกจากอร่อยถูกปากแล้ว สับปะรดยังสามารถดับกลิ่นกระเทียมได้ด้วย วิธีกินให้


พออาจใช้วิธีผสมกันระหว่างการกินกระเทียมสดประมาณ 2 กลีบ และในรูปอื่นที่


ทำให้สุกหรือดองแล้วอีกสัก 4 – 5 กลีบเป็นต้น การดองกระเทียมในน้ำส้มและน้ำ


ผึ้งเป็นที่นิยม มีประโยชน์และหาซื้อได้ง่าย


สาระสำคัญที่พบในกระเทียม นอกจากสารอัลลิซิน (alliein) และ อัลลิอิน (Alliin)


ซึ่งทำให้กระเทียม มีคุณสมบัติในการช่วยป้องกันและรักษาโรคความดันโลหิตสูง 


และโรคหัวใจ นอกจากนั้นยังมีสารประกอบอื่นๆ ที่มีประโยชน์อีกได้แก่ 


1.ซีเลเนียม (Selenium) เป็นสารป้องกันที่ไม่ให้เนื้อเยื้อถูกทำลาย (Anti-oxidant) 


2.วิตามินบี1 ช่วยให้ระบบประสาทและสมองทำงานดีขึ้น


3.สารไดอัลลิน ไดซัลไฟต์ (Diallyl Disulfide) มีคุณสมบัติในการทำลายเชื้อ


แบคทีเรีย สาเหตุการเกิดอาการท้องเสีย


4.สารเกลือแร่ที่พบในกระเทียมคือ เจอร์มาเนียม(Germanium) มีคุณสมบัติใน


การขยายหลอดเลือด


5.สารกลูโคไคนิน (Glucokinin) ช่วยในการลดระดับน้ำตาลในเลือด


6.อัลลิซิน(allicin) มีคุณสมบัติในการยับยั้งเชื้อราประเภท Candida albicans ซึ่ง


เป็นสาเหตุของอาการคันและตกขาวที่ช่องคลอด


อีกประการหนึ่งที่ใช้ได้ผลอย่างไม่น่าเชื่อ คือ กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย 


ป้องกันและรักษาโรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจ เช่น โรคหวัด เยื้อจมูกอักเสบ น้ำมูก


ไหล ภูมิแพ้ (Anti-allergy) มีคนจำนวนมากที่ใช้กระเทียมในการรักษาโรคภูมิแพ้


ทางเดินหายใจ ดีขึ้นอย่างเห็นผล


จากประสบการณ์ ของตัวผมเองในช่วงหนึ่งที่ผมทำงานเป็นประธานชมรมแสง


เทียนเพื่อชีวิต ที่โรงพยาบาลแห่งหนึ่ง ผมต้องอยู่ใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อและผู้ป่วย


เอดส์ จำนวนมาก ซึ่งในจำนวนผู้ป่วยเหล่านี้จะเป็นวัณโรคอยู่ จำนวนมาก ผมก็รับ


ประทานกระเทียมทุกวัน เป็นการป้องกันวัณโรคไว้ก่อน ซึ่งก็ได้ผลดีมาก แต่ทุกสิ่ง


ทุกอย่างก็ย่อมมีทั้งข้อดีและข้อเสีย


การกินกระเทียนร่วมกับยาต้านไวรัสบางตัวพร้อมๆกันไม่ได้ เพราะจะทำให้ยาต้าน


ไวรัสได้ผลน้อยลง


ถ้าคุณประสบปัญหาเหล่านี้เป็นประจำ


-ระดับโคเลสเตอรอนในเลือดสูง


-ตกขาว


-อ่อนเพลีย เวียนศีรษะบ่อยๆ


-ระดับน้ำตาลในเลือดสูง


-เป็นหวัดบ่อยๆ


-ภูมิแพ้


กระเทียมอาจทำให้คุณลืมปัญหาเหล่านี้ได้




แต่ในทางกลับกัน สมุนไพรย่อมมีทั้งคุณและโทษ เหมือนทุกสิ่งทุกอย่างในโลก


ย่อมมีทั้งผลดีและผลเสีย ดังนั้นก่อนใช้กระเทียมอย่างจริงจัง คุณควรศึกษาก่อน


ว่า กรณีห้ามใช้มีดังนี้


- ไม่ควรใช้กระเทียมในขณะใช้ยาต้านการรวมตัวของเลือด(Anticoagulants)


-ไม่ควรใช้ก่อนรับการผ่าตัด อาจทำให้เลือดออกมากว่าปกติ


-ไม่ควรใช้หากใช้ยาป้องกันการขาดน้ำตาลในเลือด(Hyproglycemic drugs)


เราลองมารวมประโยชน์ของกระเทียมดูกันอีกครั้งแล้วกันนะครับ


1.กระเทียมช่วยรักษาระดับโคเลสเตอรอลในเลือดให้เป็นปกติ


2.ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย เชื้อรา และ ไวรัส


3.ช่วยทำให้เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกายได้ดีขึ้น และป้องกันไม่


ให้เลือดเกาะตัวเป็นก้อน อุดตันหลอดเลือด เหมาะกับผู้สูบบุหรี่ หรือดื่มสุราจัด คน


อ้วน หรือผู้ที่ไม่ค่อยได้ออกกำลังกาย


4.ช่วยขจัดสารพิษต่างๆ ออกจากร่างการ โดยขับออกทางอุจจาระ


5.กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ป้องกันและรักษาโรคที่เกี่ยวข้องกับทางเดิน


หายใจ เช่นโรค หวัด เยื่อจมูกอักเสบ น้ำมูกไหล ภูมิแพ้


6.เป็นยาขับลมช่วยบรรเทาอาการเสียดท้อง(Colic) ท้องอืด (Flatulance)


7.ลดและควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ส่งเสริมการทำงานของตับอ่อน ในการสร้าง


ฮอร์โมนอินซูลิน (Insulin) และกลูคากอน (Glucagon)


8.ลดอันตรายจากอนุมูลอิสระ (Free Radicals) ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เกิดการเสื่อม


ของเซลล์ ป้องกันโรคหัวใจและมะเร็ง




ขมิ้นชัน


ขมิ้นชัน กับการดูแลรักษาตัวเอง

ชื่อวิทยาศาสตร์ Curcuma longa L.

ชื่อวงศ์ ZINGIBERACEAE

ชื่อพ้อง Curcuma domestica

ชื่ออื่น ๆ ขมิ้น, ขมิ้นแกง, ขมิ้นชัน, ขมิ้นหยอก, 
ขมิ้นหัว, ขี้มิ้น, ตายอ, หมิ้น Tumeric, 
Curcuma, Yellow Root

ส่วนที่ใช้ เหง้า

การปลูก

ควรปลูกในช่วงต้นฤดูฝนประมาณเดือนพฤษภาคมเป็นต้นไป ขมิ้นชันชอบอากาศ


ร้อนชื้น ชอบดินร่วนซุยที่ระบายน้ำได้ดี ใช้เหง้าแก่ที่อายุ 7-9 เดือน ตัดเป็นท่อน


ให้มีตาท่อนละ 2-5 ตา ปลูกลงแปลงในหลุมขนาด 15 X 15 X 15 เซนติเมตร


การปลูก การเก็บเกี่ยวและการปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยว

ควรเก็บขมิ้นในช่วงที่พืชเจริญเติบโตเต็มที่ช่วงอายุ 9-11 เดือน ประมาณเดือน


ธันวาคม-กุมภาพันธ์ เพราะเหง้ามีความสมบูรณ์เต็มที่ มีความแกร่ง สามารถเก็บ


รักษาเหง้าสดไว้ในสภาพปกติได้นาน ห้ามเก็บเกี่ยวในระยะที่ขมิ้นชันเริ่มแตก


หน่อ เพราะทำให้มีสารเคอร์คูมินต่ำ


คัดแยกและแง่งอออกจากกัน ตัดรากและส่วนต่าง ๆ ที่ไม่ต้องการทิ้ง อาจใช้แปรง


ช่วยขัดผิด คัดเลือกส่วนที่สมบูรณ์ปราศจากโรคและแมลง นำมาล้างด้วยน้ำ


สะอาดหลาย ๆ ครั้ง จากนั้นคัดแยกส่วนที่จะเก็บรักษาไว้ทำพันธุ์ต่อไป และส่วน


ของผลผลิตที่จะนำไปทำแห้ง

สารสำคัญ

เหง้าขมิ้นชันประกอบด้วยสารสำคัญประเภทเคอร์คูมินอยด์เป็นสารสีเหลือง 


ประกอบด้วยเคอร์คูมิน, เดสเมทอกซีเคอร์คูมิน และบิสเดส 


เมทอกซีเคอร์คูมิน และ น้ำมันหอมระเหย มีสีเหลืองอ่อน มีสารสำคัญคือ 


เทอร์เมอโรน และซิงจีเบอรีน 


นอกจากนี้ ยังมีสารกลุ่มเซสควิเทอร์ปีน และโมโนเทอร์ปีน อื่น ๆ อีกหลายชนิด


ผลการศึกษาฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา 


การศึกษาในสัตว์ทดลองหรือในหลอดทดลองพบว่า สารสกัดหรือสารสำคัญของ


ขมิ้นชันมีฤทธิ์ทางยาที่สำคัญพอสรุปได้ดังนี้


1. ฤทธิ์ขับน้ำดี กระตุ้นการขับน้ำดีทำให้การย่อยอาหารดีขึ้นช่วยบรรเทา


อาการจุกเสียด


2. ฤทธิ์ลดการบีบตัวของลำไส้


3. ฤทธิ์ต้านการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร


4. ฤทธิ์ลดการอักเสบ


5. ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและ antioxidant activity ของสารกลุ่มเคอร์คูมินนอยด์


6. ฤทธิ์ต้านการก่อกลายพันธุ์และต้านการเกิดมะเร็งจากการได้รับสารก่อมะเร็งที่


กระตุ้นให้เกิดมะเร็งในอวัยวะต่าง ๆ 


7.ฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย


8.ฤทธิ์ต้านเชื้อราที่เป็นสาเหตุของโรคกลาก


ขมิ้นชัน เป็นสมุนไพรที่ใครๆ ก็รู้จัก เพราะมักจะพบในชีวิตประจำวัน โดยนิยมใช้


ปรุงแต่งกลิ่นและรสในอาหารหลายชนิด โดยเฉพาะอาหารทางภาคใต้ เช่น แกง


เหลือง แกงไตปลา แกงกะหรี่ ไก่ทอดขมิ้น เป็นต้น นับเป็นความฉลาดของคนใต้ 


ที่หาวิธีกินขมิ้นในชีวิตประจำวัน เพราะขมิ้นนั้นปัจจุบัน มีงานศึกษาวิจัยพบว่ามีคุณ


ค่าต่อสุขภาพยิ่งนัก และยังพบว่าขมิ้นชันโดยเฉพาะในภาคใต้ดีที่สุดในโลก เพราะ


มีสารสำคัญคือเคอร์คิวมิน และน้ำมันขมิ้นสูงกว่าประเทศอื่นๆ ที่มีการปลูกขมิ้นทั้ง


หมด คนสมัยก่อนมีการใช้ประโยชน์จากขมิ้นในหลายๆ ด้าน ทั้งเป็นยาภายนอก


และยาภายใน ในส่วนของยาภายนอกเชื่อว่าขมิ้นชัน ช่วยรักษาแผล ทำให้แผลไม่


เป็นหนอง ช่วยสมานแผล ดังนั้น เวลาที่ก่อนจะบวชเป็นพระนาคต้องปลงผมก่อน


อุปสมบท หลังจากโกนผมแล้วเขาจะทาหนังศรีษะด้วยขมิ้น เพื่อรักษาบาดแผลที่


อาจจะเกิดจากใบมีดโกน 


ขมิ้นยังมีสรรพคุณ ในการรักษาพิษแมลงสัตว์กัดต่อย ในสมัยที่ยังเล็กๆ ตอนยุง


กัดเป็นตุ่มแดง คุณยายมักจะใช้ปูนกินกับหมากแต้ม เพราะต้องการฤทธิ์แก้พิษ


ของขมิ้น ที่ผสมอยู่ในปูนที่กินกับหมาก และฤทธิ์ของปูนที่ช่วยให้ขมิ้นติดผิวได้ดี


ขึ้น (ปูนกินกับหมากของคนโบราณ ได้จากการเผาเปลือกหอยจนร้อนจัด สามารถ


บดเป็นฝุ่นละเอียดสีขาว แล้วเอาไปผสมกับขมิ้นจะให้สีส้ม หรือเรียกเป็นสีเฉพาะ


ว่า สีปูน) 


นอกจากนี้ยังนิยมใช้ขมิ้นเป็นเครื่องสำอาง คนในแถบตอนใต้ของเอเชีย และแถบ


ตะวันออกไกล ใช้ขมิ้นทาผิวหน้าทำให้ผิวหน้านุ่มนวล คนมาเลเซียและคนไทย


สมัยก่อนจะใช้ขมิ้นในการอาบน้ำ ทำให้ผิวผ่องยิ่งขึ้น วิธีการอาบน้ำด้วยขมิ้นนั้น 


จะทาขมิ้นหมักไว้ที่ผิวหนังสักพัก แล้วจึงขัดออกด้วยส้มมะขามเปียก นอกจากทำ


ให้ผิวหนังนุ่มนวลแล้ว ขมิ้นยังมีสรรพคุณในการป้องกันการงอกของขน ผู้หญิง


อินเดียจึงใช้ขมิ้นทาผิวหนัง เพื่อป้องกันไม่ให้ขนงอก คนพม่าเชื่อว่าถ้าใช้ขมิ้น


ผสมสมุนไพร ที่ชื่อทาคาน่า ทาผิวเด็กสาวตั้งแต่ยังเล็กๆ จะทำให้เนื้อผิวละเอียด 


จนมีคำกล่าวในบรรดาชายไทยว่าสาวจะสวยต้อง "ผิวพม่า นัยน์ตาแขก" 


ส่วนในการใช้เป็นยารับประทาน เชื่อว่าขมิ้นชันมีสรรพคุณในการกำจัดสารพิษ


ออกจากร่างกาย มีสรรพคุณในการช่วยบรรเทาอาการท้องอืด ช่วยย่อยอาหาร มี


สรรพคุณในการบำรุงร่างกายและช่วยบำรุงตับ รักษาระบบทางเดินหายใจที่ผิด


ปกติ หืด ไอ เวียนศรีษะ รักษาอาการปวดและอักเสบเนื่องจากไขข้ออักเสบ เป็น


ต้น ปัจจุบันมีการศึกษาเพื่อพิสูจน์สรรพคุณของขมิ้น ตามการใช้แบบโบราณ ก็พบ


ว่ามีสรรพคุณมากมายตามที่เคยใช้กันมา เช่น ขมิ้นชันมีสรรพคุณทำให้แผลหาย


เร็วขึ้น มีฤทธิ์ลดการอักเสบ ลดปฏิกิริยาภูมิแพ้ เพิ่มภูมิคุ้นกันให้แก่ร่างกาย มีฤทธิ์


ฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดหนอง มีฤทธิ์ขับน้ำดีช่วยในการย่อยและป้องกันไม่ให้


เป็นนิ่วในถุงน้ำดี มีฤทธิ์ขับลม และมีการศึกษาการใช้ขมิ้นชันรักษาโรคกระเพาะ


ในประเทศไทย (โรงพยาบาลศิริราช) พบว่า ได้ผลดีพอควร 


มีการค้นพบสรรพคุณใหม่ๆ ของขมิ้นชันอีกมากมาย เช่น การป้องกันการแข็งตัว


ของหลอดเลือด การชลอความแก่ การเป็นสารต้านมะเร็งและเนื้องอกต่างๆ พบว่า 


การกินอาหารผสมขมิ้นสามารถทำลายเชื้อไวรัสที่ผ่านมาทางอาหารได้ รวมทั้ง


สามารถป้องกันมะเร็งจากสารก่อมะเร็งต่างๆ และยังมีสรรพคุณในการต้านไวรัส 


โดยเฉพาะเชื้อ HIV อันเป็นต้นเหตุของโรคเอดส์ ขมิ้นชันจึงเป็นอีกความหวังหนึ่ง


ของผู้ป่วยเอดส์ 


ขมิ้นชันยังมีคุณสมบัติ ในการกระตุ้นภูมิคุ้มกันและลดปฏิกิริยาการแพ้ คนที่เป็น


โรคภูมิแพ้และเป็นหวัดบ่อยๆ สมควรกินอาหารใต้ที่ใส่ขมิ้นทุกวันจะได้แข็งแรง 


ตอนนี้สงสารหมอโรคภูมิแพ้ เพราะคนเป็นกันมากเหลือเกินและเราต้องขาดดุลยา


รักษาโรคภูมิแพ้ ที่รักษาไม่หายสักที่ปีละมากมายมหาศาล 




หากจะหันกลับมากินขมิ้นชันกันนั้น ควรเลือกขมิ้นชันที่ได้คุณภาพ คือ ขมิ้นชัน


ต้องมีอายุอย่างน้อย 9-12 เดือน จึงสามารถขุดเหง้ามาทำยาได้ และต้องไม่เก็บ


ไว้นานเกินไป จนน้ำมันหอมระเหยหายหมด และต้องเก็บให้พ้นแสง เพราะแสงจะ


มีปฏิกิริยากับเคอร์คิวมิน อันเป็นสารสำคัญในขมิ้นชัน หากจะกินขมิ้นอย่างเป็นล่ำ


เป็นสันก็ควรปลูกเอง ดูเอง ขุดมาใช้เองดีที่สุด ถูกดี และควบคุมคุณภาพได้ คนที่


ทำไม่ได้ก็จงเลือกแหล่งซื้อที่ไว้ใจได้ 


ปัจจุบันขมิ้นชันแคปซูล อยู่ในบัญชียาหลักแห่งชาติ และเป็นยาในงาน


สาธารณสุขมูลฐาน จึงสามารถที่จะเบิกค่ายาจากระบบประกันได้ และแคปซูล


ขมิ้นชั้นยังสามารถวางจำหน่ายได้ในร้านค้าทั่วไป หากแพทย์ไทย คนไทยช่วยกัน


ใช้ผลิตภัณฑ์จากขมิ้นชัน สุขภาพ เศรษฐกิจ ของคนไทย ของประเทศไทยก็คงจะ


ดีขึ้นอย่างแน่นอน






มะรุม


"มะรุม" มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Moringa oleifera Lam.


วงศ์ 


Moringaceae เป็นพืชกำเนิดแถบใต้เชิงเขาหิมาลัย เป็นไม้ยืนต้น


ขนาดกลางที่ถูกปลูกไว้ในบริเวณบ้านไทยมาแต่โบราณ ต้นมะรุมพบได้


ทุกภาคในประเทศไทย


คุณค่าทางอาหารของมะรุม


มะรุมเป็นพืชมหัศจรรย์ มีคุณค่าทางโภชนาการสูงสุด กล่าวถึงในคัมภีร์ใบเบิ้ลว่า


เป็นพืชที่รักษาทุกโรคใบมะรุมมี โปรตีนสูงกว่านมสด 2 เท่า


การกินใบมะรุมตามชนบทของประเทศกำลังพัฒนาและประเทศโลกที่ 3


เป็นการเพิ่มโปรตีนคุณภาพสูงราคาถูกให้กับอาหารพื้นบ้าน นอกจากนี้ 


มะรุมมีธาตุอาหารปริมาณสูงเป็นพิเศษที่ช่วยป้องกันโรค นั่นคือ


วิตามินเอบำรุงสายตามีมากกว่าแครอต 3 เท่า 


วิตามินซีช่วยป้องกันหวัด 7 เท่าของส้ม


แคลเซียมบำรุงกระดูกเกิน 3 เท่าของนมสด


โพแทสเซียมบำรุงสมองและระบบประสาท 3 เท่าของกล้วย


ใยอาหารและพลังงานไม่สูงมากเหมาะกับผู้ที่ควบคุมน้ำหนัก 


จากอาหารมาเป็นผลิตภัณฑ์สุขภาพ


ปัจจุบันชาวญี่ปุ่นผลิตชาใบมะรุมออกจำหน่ายผลิตภัณฑ์ระบุว่าใช้แก้ไข


ปัญหาโรคปากนกกระจอก หอบหืด อาการปวดหูและปวดศรีษะ 


ช่วยบำรุงสายตา ระบบทางเดินอาหาร และช่วยระบายกาก


ประเทศอินเดีย


หญิงตั้งครรภ์จะกินใบมะรุมเพื่อเสริมธาตุเหล็ก ประเทศฟิลิปปินส์และบอสวานา 


หญิงที่เลี้ยงลูกด้วยนมจะกินแกงจืดใบมะรุม(ภาษาฟิลิปปินส์ เรียก “มาลังเก”)


เพื่อประสะน้ำนมและเพิ่มแคลเซียมให้กับน้ำนมแม่เหมือนกับคนไทย


กล่าวกันว่ามะรุมมีฤทธิ์ชะลอความแก่


เนื่องจากยังไม่พบรายงานการวิจัยเกี่ยวกับมะรุมในด้านนี้


คาดว่าเป็นการสรุปเนื่องจากมะรุมมีสารฟลาโวนอยด์สำคัญคือ


รูทินและเควอเซทิน (rutin และ quercetin)สารลูทีนและกรดแคฟฟีโอลิลควินิก


(lutein และ caffeoylquinic acids)ซึ่งต้านอนุมูลอิสระ ดูแลอวัยวะต่างๆ


ได้แก่ จอประสาทตา ตับ และหลอดเลือดจากการเสื่อมสภาพตามอายุ


การกินสารต้านอนุมูลอิสระชะลอการเสื่อมสภาพในเซลล์ร่างกาย 


ฆ่าจุลินทรีย์ สารเบนซิลไทโอไซยาเนตโคไซด์และเบนซิลกลูโคซิโนเลต


ค้นพบในปี พ.ศ. 2507 จากมะรุมมีฤทธิ์ต้านจุลชีพ สนับสนุนการใช้น้ำคั้น


จากมะรุมหยอดหูแก้ปวดหู ปัจจุบันหลังจากค้นพบแบคทีเรียที่ทำให้เกิดโรค


กระเพาะอาหาร Helicobactor pylori กำลังมีการศึกษาสารจากมะรุม


ในการต้านเชื้อดังกล่าว.......................


การป้องกันมะเร็ง


สารเบนซิลไทโอไซยาเนตไกลโคไซด์ชนิดหนึ่งและสารไนอาซิไมซิน


จากมะรุมสามารถต้านการเกิดมะเร็งที่ถูกกระตุ้นโดยสารฟอบอลเอสเทอร์


ในเซลล์ มะเร็งเม็ดเลือดขาวได้ การทดลองในหนูพบว่าหนูที่ได้รับฝักมะรุมเป็น


อาการเกิดโรคมะเร็งผิวหนังจากการกระตุ้นน้อยกว่ากลุ่มทดลอง


โดยกลุ่มที่กินมะรุมเนื้องอกบนผิวหนังน้อยกว่ากลุ่มควบคุม


ฤทธิ์ลดไขมันและคอเลสเทอรอล


จากการทดลอง 120 วัน ให้กระต่ายกินฝักมะรุม วันละ 200 กรัมต่อกิโลกรัม


น้ำหนักตัวต่อวันเทียบกับยาโลวาสแตทิน 6 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมน้ำหนักตัว


ต่อวันและให้อาหารไขมันมาก


ใบมะรุม 100 กรัม(คุณค่าทางโภชนาการของอาหารอินเดีย พ.ศ. 2537)


พลังงาน 26 แคลอรี


โปรตีน 6.7 กรัม (2 เท่าของนม)


ไขมัน 0.1 กรัม


ใยอาหาร 4.8 กรัม


คาร์โบไฮเดรต 3.7 กรัม


วิตามินเอ 6,780 ไมโครกรัม (3 เท่าของแครอต)


วิตามินซี 220 มิลลิกรัม (7 เท่าของส้ม)


แคโรทีน 110 ไมโครกรัม


แคลเซียม 440 มิลลิกรัม (เกิน 3 เท่าของนม)


ฟอสฟอรัส 110 มิลลิกรัม


เหล็ก 0.18 มิลลิกรัม


แมกนีเซียม 28 มิลลิกรัม


โพแทสเซียม 259 มิลลิกรัม (3 เท่าของกล้วย)


พบว่าทั้งกลุ่มที่กินมะรุมและยามีคอเลสเทอรอลฟอสโฟไลพิดไตรกลีเซอไรด์


ปริมาณคอเลสเทอรอลต่อฟอสโฟไลพิดและ atherogenic index 


ต่ำลงทั้ง 2 กลุ่มมีการสะสมไขมันในตับหัวใจ และท่อเลือดแดง (เอออร์ตา) 


กลุ่มควบคุมปัจจัยด้านการสะสมไขมันในอวัยวะเหล่านี้ไม่มีค่าลดลงแต่อย่างใด


กลุ่มที่กินมะรุมพบการขับคอเลสเทอรอลในอุจจาระเพิ่มขึ้น


ผู้วิจัยจึงสรุปว่าการกินมะรุมมีผลลดไขมันในร่างกาย ที่ประเทศอินเดียมี


การใช้ใบมะรุมลดไขมันในคนที่มีโรคอ้วนมาแต่เดิม


การศึกษาการกินสารสกัดใบมะรุมในหนูที่กินอาหารไขมันสูงมีปริมาณ


คอเลสเทอรอลในเลือดลดลงอย่างมีนัยสำคัญเทียบกับกลุ่มควบคุม


นอกจากนี้กลุ่มทดลองมีปริมาณไขมันในตับและไตลดลง


สรุปว่าการให้ใบมะรุมเพื่อลดปริมาณไขมันทางการแพทย์อินเดีย


สามารถวัดผลได้ในเชิงวิทยาศาสตร์จริง


ฤทธิ์ป้องกันตับ


งานวิจัยการให้สารสกัดแอลกอฮอล์ของใบมะรุมกรณีทำให้ตับ


หนูทดลองเกิดความเสียหาย


โดยยาไรแฟมไพซิน พบว่าสารสกัดใบมะรุมมีฤืธิ์ป้องกันตับ


โดยมีผลกับระดับเอนไซม์แอสาเทตอะมิโนทรานสเฟอเรสอะลานีนทรานมิโน


ทรานสเฟอเรส อัลคาไลน์ฟอสฟาเทสและบิลิรูบินในเลือดและมีผลกับปริมาณ


ไลพิดและไลพิดเพอร์ออกซิเดสในตับ


โดยดูผลยืนยันจากการตรวจชิ้นเนื้อตับ สารสกัดใบมะรุมและซิลิมาริน


(silymarin กลุ่มควบคุมบวก)มีผลช่วยการพักฟื้นของการถูกทำลาย


ของตัวจากยาเหล่านี้ ชาวอินเดียยังได้ทำการทดลองและเชื่อว่ามีคุณสมบัติ


ในการรักษาโรคต่างๆได้ถึง 300 ชนิด


กลุ่มองค์การกุศลมากมายได้หันมาให้ความสนใจอย่างจริงจังกับ พันธุ์ไม้ชนิดนี้ 


รวมทั้งประเทศไทยกลุ่มนักศึกษาแพทย์จำนวน25ท่าน


จากมหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์ได้


ทำการทดลองวิจัยในการที่จะนำมารักษาผู้ป่วยด้วย


โรคงูสวัด


กลุ่มประเทศอื่นๆเช่นอังกฤษ,เยอรมัน,รัสเซีย,ญี่ปุ่น,จีน,ก็หันมาให้ความสนใจ


และทำการค้นคว้าอย่างเร่งด่วนโดยเฉพาะเพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยเป็นโรค มะเร็ง 


เบาหวาน โรคเอดส์ และอีกมากมาย


จากงานวิจัยจากต่างประเทศ


1. ใช้รักษาโรคขาดอาหารในเด็กแรกเกิด ถึง 10 ขวบ และลดสถิติการเสียชีวิต 


พิการ และตาบอด ได้เป็นอย่างดี


2.ใช้รักษาผู้ป่วยเป็นโรคเบาหวานให้อยู่ในภาวะควบคุมได้ ทำให้สามารถลด


การใช้ยาลงโดยความเห็นชอบและการดูแลอย่างใกล้ชิดของแพทย์ผู้รักษาด้วย


3. รักษาโรคความดันโลหิตสูง


4.ช่วยเพิ่มและเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกายถ้าแม้ทานผลิตผลจากมะรุม


ในระหว่างตั้งครรภ์เด็กที่เกิดมาจะไม่ติดเชื้อHIV


นอกจากนี้ยังช่วยให้คนทั่วๆไป สามารถสร้างภูมิคุ้มกันให้กับตัวเอง


ถ้ารับประทานอย่างน้อยอาทิตย์ละ 3 ครั้ง


5.ช่วยรักษาผู้ป่วยโรคเอดส์ให้อยู่ในภาวะควบคุมได้และสามารถมีชิวิตอยู่อย่างคน


ทั่วไปได้ในสังคมการรักษาโรคเอดส์ที่ประสพผลสำเร็จในกลุ่มประเทศอาฟริกา 


แม้แต่ในสหรัฐอเมริกาก็กำลังอยู่ในภาวะทดลอง


6.ถ้ารับประทานสม่ำเสมอจะช่วยป้องกันไม่ให้เป็นโรคมะเร็งแต่


ถ้าหากเป็นก็จะช่วยให้การรักษาพยาบาลง่ายขึ้น


ในบางกรณีสามารถหยุดการเจริญเติบโตของโรคร้ายได้ถ้าใช้ควบคู่ไปกับยา


แพทย์แผนปัจจุบัน หากผู้ป่วยด้วยโรคมะเร็งได้รับการรักษาด้วยรังสี


การดื่มน้ำมะรุมจะช่วยให้การแพ้รังสีฟื้นตัวเร็วขึ้นและมีร่างกายที่แข็งแรง


7. ช่วยรักษาโรคไขข้ออักเสบ โรคเก๊า โรคกระดูกอักเสบ 


โรคมะเร็งในกระดูก โรครูมาติซั่ม


8.รักษาโรคตาเกือบทุกชนิด เช่น โรคตามืดตามัวเพราะขาดสารอาหารที่จำเป็น


โรคตาต้อ เป็นต้นถ้ารับประทานสม่ำเสมอ จะทำให้ตามีสุขภาพที่สมบูรณ์


9. รักษาโรคลำไส้อักเสบ โรคเกี่ยวกับท้อง โรคพยาธิในลำไส้ เป็นต้น


10. รักษาปอดให้แข็งแรง รักษาโรคทางเดินของลมหายใจ และโรคปอดอักเสบ


ในต่างประเทศมีการค้นคว้าและวิจัยอย่างกว้างขวางที่จะนำพืชชนิดนี้มาใช้รักษา


ความเจ็บป่วยของมนุษย์ เนื่องจากมะรุมเป็นพืชที่มีธาตุอาหารปริมาณสูงมาก


ใบ ช่วยแก้เลือดออกตามไรฟัน แก้อักเสบ ใบสดมีฤทธิ์เป็นยาระบายอ่อนๆ


มีแคลเซียม วิตามินซี แร่ธาตุและสารต้านอนุมูลอิสระสูงมาก


นอกจากนี้ยังมีการค้นพบว่า ใบมะรุมมีโปรตีนสูงกว่านมสด 2 เท่า


การกินใบมะรุมตามชนบทของประเทศกำลังพัฒนา และประเทศโลกที่ 3


เป็นการเพิ่มโปรตีนคุณภาพสูงราคาถูกให้กับอาหารพื้นบ้าน