นรารัตน์

วันอังคารที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

แพทย์แผนไทยกับการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวาน

แพทย์แผนไทยกับการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวาน
 โรคเบาหวาน เป็นโรคที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ และวัยผู้ใหญ่ตอนกลาง ซึ่งมีสาเหตุจากร่างกายไม่สามารถใช้น้ำตาลที่รับประทานเข้าไปได้หมด จึงทำให้น้ำตาลคั่งอยู่ในเลือด ถ้ามีน้ำตาลในเลือดมากจะถูกขับออกมาทางปัสสาวะ จึงเรียกอาการดังกล่าวว่า "เบาหวาน"

     โรคเบาหวานเป็นโรคที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ คนที่เจ็บป่วยด้วยโรคนี้มักจะต้องไปพบแพทย์ประจำ รับประทานยาและตรวจร่างกายอย่างต่อเนื่อง นอกจากจะเสียเวลาที่จะต้องไปรอรับการรักษาที่โรงพยาบาลและค่าใช้จ่าย ค่ายาหรือค่าตรวจต่างๆ เมื่อรวมแล้วแต่ละปีก็มีราคาสูงมาก

     เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้ป่วยโรคเบาหวาน คือการทำให้ดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างคนทั่วไป ไม่แสดงโรคแทรกซ้อนตามมา และไม่เกิดอันตรายจากภาวะที่เกิดจากโรคเบาหวาน เช่นภาวะน้ำตาลในเลือดสูง ทำให้ความเข้มข้นของเลือดสูงขึ้น เกิดภาวะช็อก หรือมีอาการที่ควรจะระวัดระวัง คือภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ ผู้ป่วยจะมีอาการตัวเย็น เหงื่อออก ใจสั่น และอาจหมดสติได้ ดังนั้นแพทย์หรือผู้ให้คำแนะนำ ผู้ป่วยโรคเบาหวานจึงให้ผู้ป่วยมีบัตรประจำตัวผู้ป่วยพกไว้ติดตัว และมีน้ำตาลก้อน หรือลูกอมรสหวานติดไว้เพื่อใช้ในกรณีฉุกเฉิน

อาการที่สำคัญของผู้ป่วยโรคเบาหวาน

    ถ่ายปัสสาวะบ่อย และมีปริมาณปัสสาวะมาก เนื่องจากมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงจนล้นออกมาทางปัสสาวะ การปัสสาวะบ่อยทำให้ร่างกายเสียน้ำ ผู้ป่วยจะมีอาการหิวบ่อยและกระหายน้ำตามมา น้ำหนักลดลง ทั้งๆ ที่รับประทานอาหารบ่อยขึ้น

หลักในการควบคุมโรคเบาหวาน

    การรักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในระดับปกติ โดยการปรับพฤติกรรมการรับประทานอาหาร ลดอาหารประเภทแป้งและน้ำตาล   ลดอาหารที่มีไขมันมาก หลีกเลี่ยงผลไม้ที่มีรสหวาน เช่น ทุเรียน ลำไย ละมุด เงาะ ฯลฯ ควรรับประทานผักและผลไม้เพิ่มขึ้น  ตรวจร่างกายเป็นประจำ และรับการรักษาอย่างต่อเนื่อง  ป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดจากโรคเบาหวาน  ออกกำลังกายสม่ำเสมอ  ดูแลรักษาความสะอาดของร่างกาย ระมัดระวังไม่ให้ร่างกายเกิดแผล เพราะจะทำให้แผลหายช้ากินอย่างไรจึงปลอดภัยจากโรคเบาหวาน
 
     ตามภูมิปัญญาดั้งเดิมของคนไทยได้มีการบันทึกไว้ เกี่ยวกับการดูแลรักษาโรคเบาหวาน โดยเน้นพืชผักสมุนไพรพื้นบ้านที่หาง่ายในท้องถิ่น และส่วนใหญ่มักใช้มาประกอบเป็นอาหารกินเป็นประจำ เป็นที่น่าสังเกตว่าคนไทยในสมัยโบราณ "กินปลาเป็นหลัก กินผักเป็นพื้น" มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง แต่ปัจจุบันพฤติกรรมรับประทานอาหารเปลี่ยนแปลงไป มีค่านิยมเลียนแบบสังคมตะวันตก เน้นการรับประทานอาหารที่มีในระดับจากเนื้อสัตว์ ซึ่งมีไขมันสูง กินผักน้อยลง สมุนไพรที่สามารถลดระดับน้ำตาลในเลือด ที่ใช้กินได้แก่มะระ ตำลึง และเตยหอม

     1. มะระ ส่วนใหญ่จะใช้มะระขี้นก โดยใช้ผลดิบแก่ที่ยังไม่สุก และยอดอ่อน ใช้เนื้อรับประทานเป็นผักจิ้ม  ผลของมะระนำมาลวก รับประทานกับน้ำพริก ส่วนผลมะระจีนใช้ประกอบอาหาร เช่นแกงจืด ผัด


                                                           ผลมะระขี้นก
 

สรรพคุณทางยา

    ตามตำรายาไทย เป็นยารสขม ช่วยเจริญอาหาร น้ำคั้นจากผลช่วยแก้ไข้ และใช้อมแก้ปากเปื่อย

    ผลของมะระจีนที่โตเต็มที่แล้วนำมาหั่นตากแห้งชงกับน้ำร้อน ใช้ดื่มแทนน้ำชา แก้โรคเบาหวาน

    ใบสดของมะระขี้นก หั่นชงกับน้ำร้อนใช้ถ่ายพยาธิเข็มหมุด และนอกจากนั้นในผลและใบของมะระยังมีสารที่มีฤทธิ์ลดระดับน้ำตาลในเลือด ได้แก่ พี-อินซูลิน (p-insulin) ซึ่งเป็นสารโปรตีน และคาแรนติน (charantin) ซึ่งเป็นสารผสมของสเตียรอยด์ กลัยโคไซด์ 2 ชนิด การค้นพบสารที่มีฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดจากผลมะระ จึงเป็นข้อมูลสนับสนุนภูมิปัญญาพื้นบ้านที่ได้นำผลมะระมาประกอบเป็นอาหาร และยังช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดได้

     แต่อย่างไรก็ตามการนำสมุนไพรมาใช้เพื่อลดระดับน้ำตาลในเลือดใน ผู้ป่วยโรคเบาหวานต้องไปตรวจร่างกายเป็นประจำและต่อเนื่อง เพื่อดูระดับน้ำตาลในเลือด และเพื่อความปลอดภัย เพราะบางครั้งอาจจะทำให้น้ำตาลในเลือดต่ำกว่าปกติเป็นอันตราย

     2.  ตำลึง ตำลึงเป็นผักพื้นบ้าน ที่มีคุณค่าทางด้านอาหารสูง : ประกอบด้วยวิตามิน 10 แร่ธาตุแคลเซียม ฟอสฟอรัส และวิตามินอื่นๆ อีกมาก ยอดตำลึงใช้ปรุงอาหารได้หลายชนิด เช่นแกงจืด ผัดผัก ลวกจิ้มน้ำพริก แกงเลียง ใส่ก๋วยเตี๋ยว นอกจากจะมีประโยชน์และคุณค่าทางอาหารสูง ในตำลึงยังพบกรดอะมิโนหลายชนิด ในผลตำลึงพบสารคิวเดอร์ บิตาขึ้น–บี (cucurbitacinB)


                                                           ผลตำลึง
 

สรรพคุณทางยา

    ใบและเถาตำลึงมีฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดได้ โดยมีการทดลองใช้น้ำคั้นจากใบและเถาตำลึง น้ำคั้นจากผลดิบ และสารสกัดจากเถาตำลึงด้วยแอลกอฮอล์ พบว่ามีฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดของกระต่ายที่เป็นเบาหวานได้

     3. เตยหอม ใบเตยมีสีเขียว น้ำคั้นจากใบเตย มีกลิ่นหอมนำมาใช้แต่งสีขนม แต่งกลิ่นอาหาร นอกจากนี้ยังนิยมนำมาเป็นเครื่องดื่ม น้ำที่ได้จากใบเตยมีสารสำคัญหลายชนิด เช่น ไลนาลิลอะซีเตท (Linalyl acetate), เบนซิลอะซีเตท (benzyl acetate), ไลนาโลออล(Linalool), และเจอรานิออล (geraniol) และมีสารหอมคูมาริน(Coumarin) และเอททิลวานิลลิน(ethyl vanilin)


                                                         ใบเตยหอม



สรรพคุณทางยา

    ในตำรายาไทย ใช้ใบเตยสดเป็นยาบำรุงหัวใจ ให้ชุมชื่นช่วยลดอาการกระหายน้ำ รากใช้เป็นยาขับปัสสาวะ ใช้รักษาเบาหวาน น้ำต้มรากเตยสามารถลดน้ำตาลในเลือดของสัตว์ทดลองได้

หลักการดูแลสุขภาพผู้ป่วยโรคเบาหวานและการป้องกัน

     การแพทย์แผนไทยเป็นการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม เป็นการปรับพฤติกรรม เป็นการปรับสมดุลของธาตุเจ้าเรือนในร่างกาย หลักเลี่ยงพฤติกรรมก่อโรค 8 ประการคือ การกินอาหารที่ไม่ถูกกับธาตุอาหาร บูด,เน่า,หมักดอง,การเปลี่ยนอิริยาบท, การกระทบความร้อนและความเย็น,การนอน อดข้าว อดน้ำ การกลั้นอุจจาระปัสสาวะ การทำงานเกินกำลัง ความเศร้าใจเสียใจ ความโกรธ พฤติกรรมดังกล่าวเหล่านี้สาเหตุที่ทำให้เกิดความเจ็บปวด

    
    กินข้าวที่อุดมด้วยวิตามิน ได้แก่ข้าวกล้อง ข้าวซ้อมมือ เพราะได้คาร์โบไฮเดรทช่วยย่อยสลายอย่างช้าๆ ให้เวลาตับอ่อนขับอินซูลิน วิตามินบีในข้าวกล้อง ช่วยเผาผลาญน้ำตาลให้หมด ในข้าวกล้องยังมีเส้นใยมากกว่าข้าวขาว 9 เท่า ช่วยให้อิ่มง่าย เป็นผลให้รับประทานแป้งน้อยลง น้ำตาลในเลือดไม่สูง

    หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารประเภทไขมันอิ่มตัว เช่น ไขมันจากสัตว์ เนย หลีกเลี่ยงอาหารทอด

    รับประทานเนื้อสัตว์ลดลง ถ้ากินเป็นพวกปลา หรือถั่วต่างๆ ได้ก็จะทำให้ได้รับโปรตีนที่เพียงพอ และไม่ทำให้น้ำตาลในเลือดสูง

    กินผักสด และผลไม้ที่ไม่มีรสหวาน เพราะในผักมีการต้านอนุมูลอิสระ อุดมด้วยวิตามิน

    ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ตามอัตภาพ เช่น เดิน กายบริหารท่าฤาษีดัดตน

    ใช้หลักธรรมานามัย คือจิตตานามัย จิตรวมมีสมาธิ ชีวิตตานามัย ใช้ชีวิตโดยการดำเนินตามทางสายกลาง และกายนามัย คือ ทำร่างกายให้แข็งแรง รักษาสมดุลของร่างกาย

     รายชื่อผักพื้นบ้านที่มีคุณค่าทางอาหารสูง คือมีวิตามินเอ และเบต้าแคโรทีน มากกว่าผักอื่นที่ควรรับประทาน เพื่อป้องกันการเกิดโรคต่างๆ เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ และโรคมะเร็ง ได้แก่ มะระ กระชาย กระเทียม ยอดแค ใบกะเพรา ใบขี้เหล็ก ผักเชียงดา ผักติ้ว ผักกะเฉด แครอท ใบยอ ใบย่านาง ใบชะพลู ตำลึง ผักกูด ผักแพง ผักชีลาว ผักแว่น ใบบัวบก ใบกระเจี๊ยบ ใบแมงลัก ใบเหมียว ผักหวาน ผักไผ่ เป็นต้น

     เส้นใยในผักพื้นบ้าน ทำให้อิ่มง่าย แคลอรีที่รับประทานเข้าสู่ ร่างกายน้อย จึงช่วยป้องกันและรักษาโรคเบาหวานได้ เส้นใยยังช่วยดูดซับไขมันส่วนเกินในอาหารมื้อนั้นที่เรากินเข้าไป และช่วยขับไขมันมาพร้อมกับกรดน้ำดี ไม่ได้ดูดซึมกลับเข้าสู่ร่างกาย อาหารที่มีเส้นใยสูงจึงช่วยป้องกันรักษาโรคเบาหวาน โรคไขมันในหลอดเลือดสูง เป็นผลในการรักษาระดับความดันโลหิต ป้องกันการเกิดโรคหัวใจในระยะยาวได้

     ผู้ที่ยังไม่เจ็บป่วย ก็สามารถกินเพื่อป้องกัน คนที่ป่วยก็ช่วยรักษาระดับน้ำตาลในเลือดแม้จะไม่ช่วยรักษาแทนยาแผนปัจจุบัน แต่ถ้าเราควบคุมอาหาร กินอาหารที่มีประโยชน์ดังกล่าว ใช้ควบคู่ไปกับยาแผนปัจจุบัน จะช่วยให้เรามีชีวิตที่ยืนยาว มีสุขภาพแข็งแรงไม่มีโรคแทรกซ้อน การปฏิบัติตัวดังกล่าวข้างต้นไม่ได้ยากเกินไป เพราะมีอาหารที่มีอยู่ในท้องถิ่น สามารถนำมาประกอบเป็นอาหารได้ ช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม ปลูกผักริมรั้วไว้กิน ให้ทั้งร่มเงา ให้ทั้งบรรยากาศที่ดี เป็นอาหารพร้อมทั้งมีสรรพคุณทางยา เราเริ่มปลูกผักและเริ่มตั้งแต่วันนี้ เพื่อชีวิตที่เป็นสุขในวันหน้า
           
    ที่มา   http://ittm.dtam.moph.go.th/data_all/articles/article06.htm

รักษาโรคด้วยพืชสมุนไพร

รักษาโรคด้วยพืชสมุนไพร

แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ

กระชาย

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Boesenbergia rotunda (L.) Mansf.

วงศ์ : Zingiberaceae

ชื่ออื่น : กะแอน จี๊ปู ซีฟู เปาซอเร๊าะ เป๊าสี่ระแอน ว่านพระอาทิตย์

ลักษณะ : เป็นไม้ล้มลุกไม่มีลำต้นบนดิน มีเหง้าใต้ดินซึ่งแตกรากออกไปเป็นกระจุกจำนวนมาก อวบน้ำ ตรงกลาลพองกว้างกว่าส่วนหัวและท้าย ใบ เดี่ยว เรียงสลับเป็นระนาบเดียวกัน รูปขอบขนานแกมรูปไข่ กว้าง 4.5-10 เซนติเมตร ยาว 13-15 เซนติเมตร ตรงกลางด้านในของก้านใบมีร่องลึก ดอก ช่อ ออกแทรกอยู่ระหว่างกาบใบที่โคนต้น กลีบดอกสีขาวหรือชมพูอ่อน ใบประดับรูปใบหอกสีม่วงแดง ดอกย่อยบานครั้งละ 1 ดอก

ประโยชน์ทางสมุนไพร : ตำรายาไทยใช้เหง้าแก้โรคในปากเช่นปากเปื่อย ปากเป็นแผล ปากแห้ง ขับระดูขาว ขับปัสสาวะ รักษาโรคบิด แก้ปวดมวนท้อง จากการทดลองในสารสกัดแอลกอฮอล์และคลอโรฟอร์ม พบว่ามีฤทธิ์ต้านเชื้อราที่ทำให้เกิดโรคผิวหนังและในปากได้ดีพอควร

กระเทียม
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Allium sativum L.
วงศ์ : Alliaceae
ชื่อสามัญ : Common Garlic , Allium ,Garlic ,
ชื่ออื่น : กระเทียม (ภาคกลาง) หอมเทียม (ภาคเหนือ) หอมขาว (ภาคอีสาน) เทียม, หอมเทียม (ภาคใต้)
ลักษณะ : ไม่พุ่ม สูง 2-4 เมตร กิ่งอ่อนมีหนาม ใบประกอบชนิดมีใบย่อยใบเดียว เรียงสลับ รูปไข่ รูปวงรีหรือรูปไข่แกมขอบขนานกว้าง 3-5 ซม. ยาว 4-8 ซม. เนื้อใบมีจุดน้ำมันกระจาย ก้านใบมีครีบเล็ก ๆ ดอกเดี่ยวหรือช่อ ออกที่ปลายกิ่งและที่ซอกใบ กลีบดอกสีขาว กลิ่นหอม ร่วงง่าย ผลเป็นผลสด กลมเกลี้ยง ฉ่ำน้ำ
ประโยชน์ทางสมุนไพร : ตำรายาไทยใช้น้ำมะนาวและผลดองแห้งเป็นยาขับเสมหะแก้ไอ แก้โรคเลือดออกตามไรฟัน เพราะมีวิตามินซี น้ำมะนาวเป็นกระสายยาสำหรับสมุนไพรที่ใช้ขับเสมหะเช่นดีปลี

กระเพรา
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Ocimum sanctum L.
วงศ์ : Labiatae
ชื่ออื่น : กอมก้อ กอมก้อดง กะเพราขาว กะเพราแดง
ลักษณะ : กะเพรามี 3 พันธุ์ คือ กะเพราแดง กะเพราขาวและกะเพราลูกผสมระหว่างกะเพราแดงและกะเพราขาว มีลักษณะทั่วไปคล้ายโหระพา ต่างกันที่กลิ่นและกิ่งก้านซึ่งมีขนปกคลุมมากกว่าใบกะเพราขาวสีเขียวอ่อน ส่วนใบกะเพราแดงสีเขียวแกมม่วงแดง ดอกย่อยสีชมพูแกมม่วง ดอกกะเพราแดงสีเข้มกว่ากะเพราขาว
ประโยชน์ทางสมุนไพร : ตำรายาไทยใช้ใบหรือทั้งต้นเป็นยาขับลมแก้ปวดท้อง ท้องเสีย และคลื่นไส้อาเจียน นิยมใช้กะเพราแดงมากกว่ากะเพราขาว โดยใช้ยอดสด 1 กำมือ ต้มพอเดือด ดื่มเฉพาะส่วนน้ำ พบว่าฤทธิ์ขับลมเกิดจากน้ำมันหอมระเหย การทดลองในสัตว์ แสดงว่าน้ำสกัดทั้งต้นมีฤทธิ์ลดการบีบตัวของลำไส้ สารสกัดแอลกอฮอล์สามารถรักษาแผลในกระเพาะอาหาร สาร eugenol ในใบมีฤทธิ์ขับน้ำดี ช่วยย่อยไขมันและลดอาการจุกเสียด

แก้ท้องผูก

ขี้เหล็ก

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cassia siamea Britt.

วงศ์ : Leguminosae

ชื่อสามัญ : Cassod Tree / Thai Copper Pod

ชื่ออื่น ขี้เหล็กแก่น ขี้เหล็กบาน ขี้เหล็กหลวง ขี้เหล็กใหญ่

ลักษณะ : ไม้ยืนต้น สูง 10-15 เมตร ใบประกอบแบบขนนก เรียงสลับใบย่อยรูปขอบขนาน กว้างประมาณ 1.5 ซม. ยาว 4 ซม. ใบอ่อนมีขนสีน้ำตาลแกมเขียว ดอกช่อ ออกที่ปลายกิ่ง กลีบดอกสีเหลือง ผลเป็นฝักแบนยาวและหนา

ประโยชน์ทางสมุนไพร : ตำรายาไทยใช้ดอกเป็นยานอนหลับ ลดความดันโลหิตดอกตูมและใบอ่อนเป็นยาระบาย ใบแก้ระดูขาว แก้นิ่ว ขับปัสสาวะ แก่นแก้ไข้ ทำให้นอนหลับ รักษากามโรค ใบอ่อนและแก่นมีสารกลุ่มแอนทราควิโนนหลายชนิด จึงมีฤทธิ์เป็นยาระบายใช้ใบอ่อนครั้งละ 2-3 กำมือ ต้มกับน้ำ 1-1.5 ถ้วย เติมเกลือเล็กน้อย ดื่มก่อนอาหารเช้าครั้งเดียว นอกจากนี้ในใบอ่อนและดอกตูมยังพบสารซึ่งมีฤทธิ์กดประสาทส่วนกลางทำให้นอนหลับโดยใช้วิธีดองเหล้าดื่มก่อนนอน

ชุมเห็ดเทศ
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Senna alata L.
วงศ์ : Leguminosae
ชื่อสามัญ Ringworm Bush
ชื่ออื่น : ขี้คาก ลับมีนหลวง หมากกะลิงเทศ ชุมเห็ดใหญ่
ลักษณะ : ไม้พุ่ม สูง 1 - 3 เมตร แตกกิ่งออกด้สนข้าง ในแนวขนานกับพื้น ใบประกอบ แบบขนนก เรียงสลับ ใบย่อยรูปขอบขนาน รูปวงรีแกมขอบขนาน หรือรูปไข่กลับ กว้าง 3-7 ซม. ยาว 6-15 ซม. หูใบเป็นรูปสามเหลี่ยม ดอกช่อ ออกที่ซอกใบตอนปลายกิ่ง กลีบดอกสีเหลืองทอง ใบประดับ สีน้ำตาลแกมเหลืองหุ้มดอกย่อยเห็นชัดเจน ผลเป็นฝัก มีครีบ 4 ครีบ เมล็ดแบน รูปสามเหลี่ยม
ประโยชน์ทางสมุนไพร : รสเบื่อเอียน ใบตำทาแก้กลากเกลื้อน โรคผิวหนัง ดอกและใบต้มรับประทานแก้อาการท้องผูก มีสาร แอนทราควิโนน กลัยโคซายด์ หลายชนิด ได้แก่ emodin, aloe - emodin และ rhein ใช้เป็นยาระบายกระตุ้นลำไส้ใหญ่ให้บีบตัว การทดลองในสัตว์ และคน พบว่า ใบแก่มีฤทธิ์ น้อยกว่าใบอ่อน นอกจากนี้น้ำจากใบ ยังมีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรียด้วย

แก้ไอ มีเสมหะ

มะนาว

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Citrus aurantifolia Swing.

วงศ์ : Rutacear

ชื่อสามัญ : Lime

ชื่ออื่น : ส้มมะนาว

ลักษณะ : ไม่พุ่ม สูง 2-4 เมตร กิ่งอ่อนมีหนาม ใบประกอบชนิดมีใบย่อยใบเดียว เรียงสลับ รูปไข่ รูปวงรีหรือรูปไข่แกมขอบขนานกว้าง 3-5 ซม. ยาว 4-8 ซม. เนื้อใบมีจุดน้ำมันกระจาย ก้านใบมีครีบเล็ก ๆ ดอกเดี่ยวหรือช่อ ออกที่ปลายกิ่งและที่ซอกใบ กลีบดอกสีขาว กลิ่นหอม ร่วงง่าย ผลเป็นผลสด กลมเกลี้ยง ฉ่ำน้ำ

ประโยชน์ทางสมุนไพร : ตำรายาไทยใช้น้ำมะนาวและผลดองแห้งเป็นยาขับเสมหะแก้ไอ แก้โรคเลือดออกตามไรฟัน เพราะมีวิตามินซี น้ำมะนาวเป็นกระสายยาสำหรับสมุนไพรที่ใช้ขับเสมหะเช่นดีปลี

ดีปลี

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Piper chaba Hunt

วงศ์ : Piperaceae

ชื่อสามัญ : Long Pepper

ชื่ออื่น :

ลีกษณะ : ไม้เถารากฝอยออกบริเวณข้อเพื่อใช้ยึดเกาะ ใบเดี่ยวรูปไข่แกมขอบขนาน กว้าง 3-5 ซม. ยาว 7-10 ซม. สีเขียวเข้มเป็นมัน ดอกช่อ ออกที่ซอกใบ ดอกย่อยอัดกันแน่น แยกเพศ ผลเป็นผลสด มีสีเขียว เมื่อสุกจะเปลี่ยนเป็นสีแดง รสเผ็ดร้อน

ประโยชน์ทางสมุนไพร : ตำรายาไทยใช้ผลแก่จัดแต่ยังไม่สุกตากแห้งเป็นยาขับลม บำรุงธาตุ แก้ท้องเสีย ขับรกหลังคลอด โดยใช้ผล 1 กำมือ (ประมาณ 10-15 ผล) ต้มเอาน้ำดื่ม นอกจากนี้ใช้เป็นยาแก้ไอ โดยเอาผลแห้งครึ่งผลฝนกับมะนาวแทรกเกลือใช้กวาดคอหรือจิบบ่อยๆ ฤทธิ์ขับลมและแก้ไอ เกิดจากน้ำมันหอมระเหยและสาร piperine พบว่าสารสกัดเมทานอลมีผลยับยั้งการบีบตัวของลำไส้เล็กและสารสกัดปิโตรเลียมอีเธอร์ ทำให้สัตว์ทดลองแท้ง จึงควรระวังการใช้ในสตรีมีครรภ์

แก้ขัดเบา

กระเจี๊ยบแดง

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Hibiscus sabdariffa L.

วงศ์ : Malvaceae

ชื่อสามัญ : Roselle

ชื่ออื่น : กระเจี๊ยบ กระเจี๊ยบเปรี้ย ผักเก็งเค็ง ส้มเก็งเค็ง ส้มตะเลงเครง

ลักษณะ : ไม้พุ่ม สูง 50-180 ซม. มีหลายพันธุ์ ลำต้นสีม่วงแดง ใบเดี่ยว รูปฝ่ามือ 3 หรือ 5 แฉก กว้างและยาวใกล้เคียงกัน 8-15 ซม. ดอกเดี่ยว ออกที่ซอกใบ กลีบดอกสีชมพูหรือเหลืองบริเวณกลางดอกสีม่วงแดง เกสรตัวผู้เชื่อมกันเป็นหลอด ผลเป็นผลแห้ง แตกได้ มีกลีบเลี้ยงสีแดงฉ่ำน้ำหุ้มไว้

ประโยชน์ทางสมุนไพร : ตำรายาไทยใช้ใบและยอดอ่อนซึ่งมีรสเปรี้ยวแก้ไอ เมล็ดบำรุงธาตุ ขับปัสสาวะ มีรายงานการทดลองในผู้ป่วยโรคนิ่วในท่อไต ซึ่งดื่มยาชงกลีบเลี้ยงแห้งของผล 3 กรัมในน้ำ 300 ซีซี วันละ 3 ครั้ง ทำให้ถ่ายปัสสาวะสะดวกขึ้น บางรายนิ่วหลุดได้เอง นอกจากนี้ทำให้ผู้ป่วยกระเพาะปัสสาวะอักเสบมีอาการปวดแสบเวลาปัสสาวะน้อยลง

ตะไคร้

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cymbopogon citratus Stapf

วงศ์ : Gramineae

ชื่ออื่น : ชื่อสามัญ : Lemon Grass

ชื่ออื่น : จะไคร ไคร

ลักษณะ : ไม้ล้มลุก อายุหลายปี สูง 0.75-1.2 เมตร แตกเป็นกอ เหง้าใต้ดินมีกลิ่นเฉพาะ ข้อและปล้องสั้นมาก กาบใบสีขาวนวลหรือขาวปนม่วง ยาวและหนาหุ้มข้อและปล้องไว้แน่น ใบเดี่ยวเรียงสลับ กว้าง 1-2 ซม. ยาว 70-100 ซม. แผ่นใบและขอบใบสากและคม ออกดอกยาก

ประโยชน์ทางสมุนไพร : โคนกาบใบและลำต้นทั้งสดและแห้งมีน้ำมันหอมระเหย ตำรายาไทยใช้เป็นยาขับลม แก้ท้องอืดเฟ้อแน่นจุกเสียดใช้ลำต้นแก่สดประมาณ 1 กำมือ (40-60 กรัม) ทุบพอแหลก ต้มน้ำพอเดือดหรือชงน้ำ ดื่มวันละ 3 ครั้ง ก่อนอาหาร นอกจากนี้ใช้เป็นยาขับปัสสาวะสำหรับผู้ป่วยที่มีอาการขัดเบาหรือปัสสาวะไม่คล่อง โดยผู้ป่วยต้องไม่มีอาการบวมที่แขนและขา พบว่าน้ำมันตะไคร้มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อราและแบคทีเรีย

หญ้าหนวดแมว

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Orthosiphon grandiflorus Bolding

วงศ์ : Labiatae

ชื่อสามัญ : Cat's Whisker

ชื่ออื่น : พยับเมฆ

ลักษณะ : ไม้พุ่ม สูง 0.5-1 เมตร กิ่งและก้านสี่เหลี่ยมสีม่วงแดง ใบ เดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปไข่แกมสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัด กว้าง 2-4 ซม. ยาว 4-7 ซม. ขอบใบหยักฟันเลื่อย ดอก ช่อ ออกที่ปลายกิ่ง มี 2 พันธุ์คือพันธุ์ดอกสีขาวและพันธุ์ดอกสีม่วงน้ำเงิน เกสรตัวผู้ยื่นพ้นกลีบดอกออกมายาวมาก ผล เป็นผลแห้งไม่แตก รูปรีขนาดเล็ก

ประโยชน์ทางสมุนไพร : ตำรายาไทยใช้ทั้งต้นเป็นยาขับปัสสาวะ แก้โรคปวดตามสันหลังและบั้นเอว ใบเป็นยารักษาโรคเบาหวานและลดความดันโลหิต มีการทดลองใช้ใบแห้งเป็นยาขับปัสสาวะ ขับกรดยูริคซึ่งเป็นสาเหตุของโรคเกาด์และรักษาโรคนิ่วในไตกับผู้ป่วยโรงพยาบาลรามาธิบดี โดยใช้ใบแห้งประมาณ 4 กรัม ชงกับน้ำเดือด 750 ซีซี ดื่มต่างน้ำตลอดวัน ได้ผลเป็นที่น่าพอใจของแพทย์ พบว่าในใบมีเกลือโปแตสเซียมสูง ผู้ป่วยโรคหัวใจไม่ควรใช้

ที่มา http://blog.eduzones.com/armza/9380

เครื่องดื่มสมุนไพร

 เครื่องดื่มสมุนไพร


ร้อนๆ แบบนี้ลองหาเครื่องดื่มสมุนไพรมาช่วยดับกระหาย เพิ่มความสดชื่นกันดีกว่า เพราะนอกจากจะสดชื่น อร่อยแล้วนั้น
เครื่องดื่มสมุนไพรยังช่วยเรื่องสุขภาพ ร่างกายในช่วงหน้าร้อนได้ดีค่ะ เรียกว่าความอร่อยมาพร้อมสุขภาพที่ดี

การดูแลสุขภาพในหน้าร้อนก็สำคัญนะคะ เพราะโรคที่จะมาทำลายสุขภาพในหน้าร้อนอย่างเช่น โรคร้อนใน ความดันสูง โรคท้องร่วง โรคท้องเสีย จึงจะพบมากที่สุดในช่วงหน้าร้อนนี้ล่ะคะ การดูแลสุขภาพในหน้าร้อนควรจะใส่ใจกับการรับประทาน และการควบคุมสุขภาพจิตให้อย่าร้อนตามอากาศนะคะ วันนี้เรามีน้ำดื่มสมุนไพรของไทยๆ ที่ช่วยดูแลสุขภาพให้คุณสดชื่น ดื่มแล้วชื่นใจ ผ่อนคลายอากาศร้อนนี้ได้ค่ะ และสรรคุณการดูแลสุขภาพ ครบถ้วนทุกโรคในหน้าร้อนเลยล่ะคะ ลองมาทำรับประทานกันเพื่อสุขภาพที่ดีของคุณและครอบครัวนะคะ

    น้ำกระเจี๊ยบ



นอกจากจะช่วยแก้กระหายน้ำและทำให้สดชื่นแล้ว ยังช่วยเรื่องสุขภาพท้อง ขับปัสสาวะ แก้นิ่ว ช่วยย่อยอาหาร และเป็นยาระบายอ่อนๆ แถมยังช่วยลดไข้และแก้ไอได้อีกด้วย

ส่วนผสม คือ กลีบดอกกระเจี๊ยบแดงสด หรือแห้ง (ใช้ได้ทั้งสองแบบ) น้ำเปล่า 5 ถ้วย เกลือป่นและน้ำตาลทรายแดงตามชอบ

วิธีทำ แสนง่าย แค่นำกลีบดอกกระเจี๊ยบมาล้างให้สะอาด แล้วใส่ลงในหม้อ ต้มไปเรื่อย ๆ จนเนื้อกระเจี๊ยบนุ่ม จากนั้นให้กรองเอาเนื้อออก แล้วนำน้ำกระเจี๊ยบมาต้มไฟอ่อน ๆ ต่อไป จากนั้นให้นำเกลือและน้ำตาลใส่ลงไปตามชอบใจ รอจนน้ำตาลละลายดีแล้วยกลงจากเตาไฟ ตักใส่ขวดแช่เย็นไว้ดื่มยามกระหาย

นอกจากนี้ ยังนิยมนำกลีบดอกกระเจี๊ยบแดงมาชงเป็นชาสมุนไพร โดนหั่นหรือสับเป็นชิ้นเล็ก ๆ นำไปตากแดดหรืออบให้แห้ง เก็บไว้ในกระป๋องที่ปิดฝาสนิท แล้วนำมาชงเหมือนชงชา



    น้ำเก็กฮวย



ช่วยดับร้อนให้ชื่นใจในช่วงหน้าร้อนแล้ว ยังช่วยเรื่องสุขภาพภายใน แก้ร้อนใน กระหายน้ำ ช่วยให้สดชื่น ลดอาการครั่นเนื้อครั่นตัวเพราะอากาศร้อน

ส่วนผสม มีดอกเก็กฮวยแห้ง 30 กรัม น้ำเปล่า 1 ลิตร และน้ำตาลทรายแดง

วิธีทำ นำดอกเก็กฮวยแห้งมาล้างน้ำให้สะอาดแล้วใส่หม้อต้มเคี่ยวประมาณ 5 นาที เติมน้ำตาลทรายแดงชิมรสตามชอบใจ แค่นี้ก็จะได้น้ำเก็กฮวยสีเหลืองอ่อนรสหวานเย็น หากต้องการให้น้ำสีเหลืองอ่องน่าดื่มยิ่งขึ้น ให้ใส่เมล็ดพุดจีนต้มเคียว แค่นี้ก็จะทำให้น้ำเก็กฮวยมีสีสันมากขึ้น



    น้ำว่านหางจระเข้



บำรุงร่างกายให้สดชื่น กระปรี้กระเปร่า แถมยังช่วยเรื่องสุขภาพช่องท้องให้ระบบขับถ่ายดี และท้องไม่ผูก เหมาะอย่างยิ่งสำหรับคนนอนดึกและอ่อนเพลียช่วยเรื่องการผ่อนคลายสุขภาพจิตได้อีกด้วย

ส่วนผสม มี ใบว่านหางจระเข้ 2 ใบ น้ำต้มสุก 1 ถ้วย และน้ำเชื่อม

วิธีทำ ให้นำใบว่านหางจระเข้ขนาดใหญ่และโตเต็มที่มาปอกเปลือก ล้างน้ำให้หมดยางสี เหลือง จากนั้นนำไปใส่เครื่องปั่น เติมด้วยน้ำสุก และปั่นให้ละเอียด นำมากรองด้วยผ้าขาวบาง เติมน้ำเชื่อมเล็กน้อย และนำมาใส่ขวดที่นึ่งแล้วเก็บไว้ในตู้เย็น ทำเก็บไว้ดื่มไม่เกิน 2 วัน



    น้ำรากบัว



พืชโบราณที่กลับมาฮิตที่ครั้งกับน้ำรากบัว ใช้ดื่มเพื่อดับกระหาย และยังมีสรรพคุณช่วยบำรุงสุขภาพร่างกายครบถ้วน อย่างเช่นแก้ท้องร่วง แก้ร้อนใน ขับเสมหะ และบำรุงกำลัง

ส่วนผสม ประกอบด้วย รากบัว 2 ถ้วย น้ำสะอาด 3 ถ้วย และน้ำตาลทรายแดงตามชอบ

วิธีทำ นำรากบัวมาล้างน้ำให้สะอาดแล้วฝานเป็นชิ้นบางๆ นำไปต้มกับน้ำแล้วเคี่ยวจนกระทั่งได้น้ำเป็นสีชมพู แล้วกรองเอากากออก คนที่ชอบหวานก็ให้เติมน้ำตาลทรายแดงเล็กน้อยลงไป จากนั้นนำไปตั้งไฟจนเดือด ชิมรสชาติตามชอบใจ ตั้งทิ้งไว้ให้เย็นก่อนนำไปบรรจุขวดที่สะอาด และนึ่งเตรียมไว้เรียบร้อยแล้ว ตั้งทิ้งไว้ประมาณ 20-30 นาทีก่อนนำไปเก็บในตู้เย็นเพื่อดื่มเวลาเกิดอาการร้อนใน หรือกระหายน้ำ


น้ำว่านกาบหอย



พืชที่คนสมัยใหม่ยังไม่รู้จัก แต่ช่วยเรื่องสุขภาพในหน้าร้อนได้ดีค่ะ ใช้ดื่มเพื่อแก้ร้อนใน กระหายน้ำ และยังแก้ฟกช้ำภายในได้ด้วย

ส่วนผสม ใบว่านกาบหอย 5-15 ใบ น้ำสะอาด 2 ถ้วยครึ่ง และน้ำตาลทราย

วิธีทำ นำใบว่านกาบหอยสดมาล้างให้สะอาด แล้วนำมาหั่นตามขวางเป็นชิ้นเล็กๆ จากนั้นให้นำมาใส่ลงในหม้อน้ำเดือด ต้มให้เดือดประมาณ 3-7 นาที แล้วค่อยเติมน้ำตาลทรายลงไปตามชอบใจ แค่นี้ก็จะได้น้ำว่านกาบหอยสีชมพูอ่อน จากนั้นให้นำมากรองใส่ขวดที่นึ่งแล้ว ตั้งทิ้งไว้ประมาณ 20-30 นาทีแล้วค่อยนำไปเก็บในตู้เย็นไว้ดื่ม

ที่มา http://www.108health.com/108health/topic_detail.php?mtopic_id=1321&sub_id=86&ref_main_id=12

วันพุธที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

สมุนไพรไทย

สมุนไพร...
รายชื่อสมุนไพรไทย



สมุนไพร
 กลุ่มตามประเภทของยารักษาโรค


กรรณิการ์ ยาเจริญอาหาร    
กระแจะ พืชถอนพิษ ยาแก้ไข้ ลดความร้อน  
กระชาย สมุนไพรพิกัดไทย ยาแก้บิด ท้องเดิน โรคกระเพาะอาหาร  
กระดังงาไทย พืชหอมต่างๆ    
กระดังงาสงขลา พืชหอมต่างๆ    
กระทงลาย ยาแก้ไข้ ลดความร้อน ยาแก้บิด ท้องเดิน โรคกระเพาะอาหาร  
กระท้อน ยาแก้บิด ท้องเดิน โรคกระเพาะอาหาร    
กระบือเจ็ดตัว ยาขับประจำเดือน    
กระเบา ยาแก้โรคเรื้อน สมุนไพรแก้มะเร็ง  
กะเพราแดง สมุนไพรพิกัดไทย    
กฤษณา ยาแก้อ่อนเพลีย บำรุงกำลัง ยาบำรุงหัวใจ  
กลิ้งกลางดง ยาแก้โรคเรื้อน    
กันเกรา ยาแก้อ่อนเพลีย บำรุงกำลัง ยาแก้ริดสีดวงทวาร  
กานพูล ยาขับน้ำนม    
กาแฟ ยาบำรุงหัวใจ ยาขับปัสสาวะ  
การบูร พืชหอมต่างๆ    
กุยช่าย ยาขับน้ำนม    
กุหลาบมอญ พืชหอมต่างๆ    
แกแล ยาบำรุงเลือด    
แก้ว ยาถ่ายพยาธิ    
โกฐฬาลำพา ยาแก้ไข้ ลดความร้อน ยาแก้บิด ท้องเดิน โรคกระเพาะอาหาร  
ขมิ้นชัน ยาแก้โรคผิวหนัง    
ขลู่ ยาขับปัสสาวะ    
ข่อย ยาแก้โรคผิวหนัง สมุนไพรแก้มะเร็ง ยาแก้ริดสีดวงทวาร
ขันทองพยาบาท ยาแก้โรคผิวหนัง    
ข่า ยาแก้โรคผิวหนัง สมุนไพรพิกัดไทย  
ขิง สมุนไพรพิกัดไทย ยาเจริญอาหาร  
ขี้เหล็ก ยาถ่าย ยาระบาย    
เข็มแดง ยาแก้บิด ท้องเดิน โรคกระเพาะอาหาร    
ไข่เน่า ยาแก้บิด ท้องเดิน โรคกระเพาะอาหาร ยาเจริญอาหาร  
คนทา ยาแก้ไข้ ลดความร้อน สมุนไพรพิกัดไทย  
คูน ยาถ่าย ยาระบาย    
ไคร้หางนาค ยาขับปัสสาวะ    
ฆ้องสามย่าน ยาแก้บิด ท้องเดิน โรคกระเพาะอาหาร    
จันทน์กะพ้อ พืชหอมต่างๆ    
จันทน์ชะมด ยาแก้ไข้ ลดความร้อน    
จันทน์เทศ ยาแก้อ่อนเพลีย บำรุงกำลัง    
จำปา พืชหอมต่างๆ ยาแก้โรคเรื้อน  
จำปี พืชหอมต่างๆ    
จำปีแขก พืชหอมต่างๆ    
จิก ยาแก้ไอ ขับเสมหะ    
เจตมูลเพลิงขาว ยาขับประจำเดือน    
เจตมูลเพลิงแดง สมุนไพรพิกัดไทย ยาขับประจำเดือน ยาเจริญอาหาร
ชมพู่น้ำดอกไม้ พืชหอมต่างๆ ยาบำรุงหัวใจ  
ชองระอา พืชถอนพิษ ยาแก้อักเสบ ปวดบวม  
ช้าพลู ยาแก้บิด ท้องเดิน โรคกระเพาะอาหาร    
ชะมวง ยาแก้ไอ ขับเสมหะ    
ชะเอมไทย ยาแก้ไอ ขับเสมหะ    
ชิงชี่ สมุนไพรพิกัดไทย    
ชุมเห็ดเทศ ยาถ่าย ยาระบาย    
ดีปลี สมุนไพรพิกัดไทย    
โด่ไม่รู้ล้ม ยาขับปัสสาวะ    
ตองแตก ยาถ่าย ยาระบาย    
ตะเคียนทอง ยาแก้โรคผิวหนัง    
ตะไคร้ ยาเจริญอาหาร    
ตะไคร้หอม พืชหอมต่างๆ    
เถาวัลย์เปรียง ยาขับปัสสาวะ    
ทองพันชั่ง ยาแก้โรคผิวหนัง ยาแก้โรคเรื้อน สมุนไพรแก้มะเร็ง
ทองหลาง ยาแก้อักเสบ ปวดบวม    
ทับทิม ยาถ่ายพยาธิ ยาแก้บิด ท้องเดิน โรคกระเพาะอาหาร  
เท้ายายม่อม ยาแก้ไข้ ลดความร้อน สมุนไพรพิกัดไทย  
เทียนบ้าน ยาแก้อักเสบ ปวดบวม    
ไทรย้อยใบแหลม ยาขับน้ำนม    
นมแมว พืชหอมต่างๆ    
นมสวรรค์ พืชถอนพิษ สมุนไพรพิกัดไทย  
น้อยหน่า ยาแก้โรคผิวหนัง    
นางแย้ม พืชหอมต่างๆ ยาขับปัสสาวะ  
บอระเพ็ด ยาแก้ไข้ ลดความร้อน    
บัวบก ยาแก้โรคผิวหนัง พืชถอนพิษ ยาแก้ไข้ ลดความร้อน
บัวหลวง พืชหอมต่างๆ ยาแก้อ่อนเพลีย บำรุงกำลัง  
บานทน ยาบำรุงหัวใจ    
บานบุรีเหลือง ยาถ่าย ยาระบาย    
บุนนาค พืชหอมต่างๆ ยาแก้อ่อนเพลีย บำรุงกำลัง ยาบำรุงหัวใจ
ประทัดใหญ่ ยาแก้ไข้ ลดความร้อน    
ประยงค์ พืชถอนพิษ    
ปลาไหลเผือก ยาแก้ไข้ ลดความร้อน    
ปาล์มน้ำมัน ยาแก้โรคผิวหนัง    
ปีบ ยาแก้ไอ ขับเสมหะ    
เปล้าน้อย ยาแก้โรคผิวหนัง ยาแก้บิด ท้องเดิน โรคกระเพาะอาหาร  
ผักคราดหัวแหวน ยาแก้อักเสบ ปวดบวม    
ผักชีล้อม พืชถอนพิษ    
ผักบุ้งทะเล พืชถอนพิษ    
ผักเป็ดแดง ยาขับน้ำนม ยาบำรุงเลือด  
ไผ่รวก ยาขับปัสสาวะ    
ฝรั่ง ยาแก้บิด ท้องเดิน โรคกระเพาะอาหาร    
ฝาง ยาบำรุงเลือด    
ฝิ่นต้น ยาแก้บิด ท้องเดิน โรคกระเพาะอาหาร    
แฝกหอม พืชหอมต่างๆ    
พญาปล้องทอง พืชถอนพิษ    
พญาไร้ใบ ยาแก้ริดสีดวงทวาร    
พญาสัตบรรณ ยาแก้ไข้ ลดความร้อน สมุนไพรแก้มะเร็ง  
พริกไทย สมุนไพรพิกัดไทย    
พวงไข่มุก พืชหอมต่างๆ    
พะยอม ยาแก้ไข้ ลดความร้อน ยาบำรุงหัวใจ  
พิกุล พืชหอมต่างๆ    
พิมเสนต้น พืชหอมต่างๆ    
พุดตาน ยาแก้โรคผิวหนัง    
พุทรา ยาแก้ไอ ขับเสมหะ    
เพกา ยาแก้ไอ ขับเสมหะ    
เพชรสังฆาต ยาแก้ริดสีดวงทวาร    
แพงพายฝรั่ง สมุนไพรแก้มะเร็ง    
ไพล ยาแก้บิด ท้องเดิน โรคกระเพาะอาหาร ยาแก้อักเสบ ปวดบวม  
ฟ้าทะลาย ยาแก้ไข้ ลดความร้อน ยาแก้บิด ท้องเดิน โรคกระเพาะอาหาร  
มณฑา พืชหอมต่างๆ    
มะกรูด ยาแก้ไอ ขับเสมหะ    
มะกอก ยาแก้อักเสบ ปวดบวม    
มะกา ยาถ่าย ยาระบาย    
มะเกลือ ยาถ่ายพยาธิ    
มะขวิด ยาแก้อักเสบ ปวดบวม    
มะขาม ยาถ่าย ยาระบาย ยาแก้ไอ ขับเสมหะ  
มะขามแขก ยาถ่าย ยาระบาย    
มะขามป้อม สมุนไพรพิกัดไทย ยาแก้ไอ ขับเสมหะ  
มะคำดีควาย ยาแก้โรคผิวหนัง    
มะดัน ยาแก้ไอ ขับเสมหะ    
มะเดื่ออุทมพร สมุนไพรพิกัดไทย    
มะตูม ยาแก้อ่อนเพลีย บำรุงกำลัง ยาบำรุงหัวใจ  
มะนาว ยาแก้ไอ ขับเสมหะ    
มะปราง ยาแก้ไข้ ลดความร้อน    
มะพร้าว ยาแก้อ่อนเพลีย บำรุงกำลัง ยาบำรุงหัวใจ  
มะเฟือง ยาถ่ายพยาธิ    
มะละกอ ยาขับปัสสาวะ    
มะลิลา พืชหอมต่างๆ ยาแก้อ่อนเพลีย บำรุงกำลัง ยาบำรุงหัวใจ
มะลิซ้อน พืชหอมต่างๆ    
มะลิฝรั่งเศส พืชหอมต่างๆ    
มะแว้งต้น ยาแก้ไอ ขับเสมหะ    
มะแว้งเครือ ยาแก้ไอ ขับเสมหะ    
มะหาด ยาถ่ายพยาธิ    
มะฮอกกานีใบใหญ่ ยาแก้ไข้ ลดความร้อน    
มังคุด ยาแก้บิด ท้องเดิน โรคกระเพาะอาหาร    
โมกมัน ยาเจริญอาหาร    
โมกหลวง ยาแก้ไข้ ลดความร้อน ยาแก้บิด ท้องเดิน โรคกระเพาะอาหาร  
ยอ ยาขับประจำเดือน    
ย่านาง สมุนไพรพิกัดไทย    
ยี่หุบ พืชหอมต่างๆ    
รงทอง ยาถ่าย ยาระบาย    
รสสุคนธ์ ยาบำรุงหัวใจ    
ระย่อมน้อย ยาแก้ไข้ ลดความร้อน    
รางจืด พืชถอนพิษ ยาแก้ไข้ ลดความร้อน ยาแก้อักเสบ ปวดบวม
ราชดัด สมุนไพรแก้มะเร็ง    
รามใหญ่ ยาแก้โรคผิวหนัง ยาแก้โรคเรื้อน  
เร่ว ยาขับน้ำนม    
ละหุ่ง ยาขับน้ำนม    
ลักกะจั่น ยาแก้ไข้ ลดความร้อน    
ลั่นทมขาว พืชหอมต่างๆ ยาถ่าย ยาระบาย ยาแก้ริดสีดวงทวาร
ลั่นทมแดง พืชหอมต่างๆ ยาถ่าย ยาระบาย ยาแก้ริดสีดวงทวาร
ลำดวน พืชหอมต่างๆ    
ลำโพงกาสลัก ยาแก้โรคผิวหนัง    
ลำโพงขาว ยาแก้โรคผิวหนัง ยาแก้โรคเรื้อน  
ลิ้นงูเห่า พืชถอนพิษ    
ลิ้นมังกร พืชถอนพิษ    
เล็บมือนาง ยาถ่ายพยาธิ    
โล่ติ๊น ยาแก้โรคเรื้อน    
ว่านกาบหอยใหญ่ ยาแก้ไอ ขับเสมหะ    
ว่านชักมดลูก ยาขับประจำเดือน    
ว่านธรณีสาร ยาแก้ไข้ ลดความร้อน    
ว่านน้ำ สมุนไพรพิกัดไทย    
ว่านมหากาฬ ยาแก้โรคผิวหนัง    
ว่านหางจระเข้ พืชถอนพิษ ยาถ่าย ยาระบาย  
ว่านหางช้าง ยาแก้อักเสบ ปวดบวม    
สนุ่น ยาบำรุงหัวใจ    
ส้มเช้า ยาถ่าย ยาระบาย    
ส้มป่อย ยาแก้ไอ ขับเสมหะ ยาเจริญอาหาร  
สัมเสี้ยว ยาแก้ไอ ขับเสมหะ    
สมอไทย ยาถ่าย ยาระบาย สมุนไพรพิกัดไทย  
สมอพิเภก ยาถ่าย ยาระบาย สมุนไพรพิกัดไทย ยาแก้บิด ท้องเดิน โรคกระเพาะอาหาร
สลอด ยาถ่าย ยาระบาย    
สลัดได ยาถ่าย ยาระบาย    
สะแกนา ยาถ่ายพยาธิ    
สะเดาบ้าน ยาแก้ไข้ ลดความร้อน ยาเจริญอาหาร  
สะบ้าลิง สมุนไพรแก้มะเร็ง    
สะระแหน่ญี่ปุ่น พืชหอมต่างๆ    
สับปะรด ยาขับปัสสาวะ    
สายน้ำผึ้ง ยาแก้บิด ท้องเดิน โรคกระเพาะอาหาร ยาขับปัสสาวะ  
สายหยุด พืชหอมต่างๆ    
สารภี พืชหอมต่างๆ ยาบำรุงหัวใจ  
สำรอง ยาแก้ไอ ขับเสมหะ    
สีเสียดเหนือ ยาแก้บิด ท้องเดิน โรคกระเพาะอาหาร    
เสม็ด ยาแก้อักเสบ ปวดบวม    
แสลงใจ ยาเจริญอาหาร    
หญ้าปักกิ่ง สมุนไพรแก้มะเร็ง    
หญ้าหนวดแมว ยาขับปัสสาวะ    
หนอนตายหยาก ยาแก้โรคผิวหนัง    
หนามแดง ยาแก้อ่อนเพลีย บำรุงกำลัง    
หนุมานประสานกาย ยาแก้ไอ ขับเสมหะ    
หอมแดง ยาแก้ไข้ ลดความร้อน ยาเจริญอาหาร  
หูกวาง ยาแก้บิด ท้องเดิน โรคกระเพาะอาหาร    
เหงือกปลาหมอดอกขาว สมุนไพรแก้มะเร็ง    
เหงือกปลาหมอดอกม่วง สมุนไพรแก้มะเร็ง    
อบเชย พืชหอมต่างๆ    
อ้อยแดง ยาขับปัสสาวะ    
อัคคีทวาร ยาแก้ริดสีดวงทวาร    
อินทนิลน้ำ ยาขับปัสสาวะ    





--------------------------------------------------------------------------------
  ที่มา http://prasert.freehomepage.com/herb.htm

อาหารสุขภาพ แกงขนุนอ่อน

                                                                      แกงขนุนอ่อน


เครื่องปรุง
•- ขนุนอ่อน1 ลูก (500 กรัม)
•- มะเขือเทศลูกเล็ก (มะเขือส้ม)1 ถ้วย (100 กรัม)
•- ชะอมเด็ดสั้น 1 ถ้วย (100 กรัม)
•- ใบชะพลู 9 ใบ (8 กรัม)
•- ซี่โครงหมูสับ 200 กรัม
- เนื้อหมูหั่นบาง 100 กรัม
- น้ำ 4 ถ้วย (400 กรัม)


เครื่องแกง
•พริกแห้งแช่น้ำ5 เม็ด (10 กรัม)
•ปลาร้าส้ม? 1 ช้อนโต๊ะ (15 กรัม)
•ข่า4 แว่น (10 กรัม)
•หอมแดง5 หัว (25 กรัม)
•กระเทียม3 หัว (30 กรัม)
•เกลือป่น1 ช้อนโต๊ะ (15 กรัม)
* โขลกเครื่องแกงทั้งหมดรวมกันให้ละเอียด


วิธีทำ
1. ทุบขนุนให้นุ่ม ปอกเปลือกผ่าเอาไส้ออก หั่นเป็นชิ้นขนาดพอคำ แช่น้ำผสมน้ำมะนาวหรือน้ำมะขามเปียก เพื่อไม่ให้ขนุนดำ
2. ล้างใบชะพลู หั่นหลาบใบละ 3 ชิ้น
3. เอาน้ำใส่หม้อ ตั้งไฟพอเดือดใส่ซี่โครงหมูเนื้อหมู
4. ละลายเครื่องแกงลงในหม้อ พอเดือดอีกครั้งใส่ขนุนตั้งเคี่ยวให้ขนุนสุก
5. ใส่มะเขือส้มขิมรสถ้าอ่อนเค็มเติมเกลือ ใบชะพลู ชะอม คนให้ทั่ว


สรรพคุณทางยา
1. ขนุนอ่อน รสฝาด มีฤทธิ์ฝาดสมาน แก้อาการท้องเสีย
2. มะเขือเทศ รสเปรี้ยว เป็นผักที่ใช้ แต่งสีและกลิ่นอาหารช่วยระบาย บำรุงผิว
3. ชะอม รากชะอมมีสรรพคุณแก้ท้องเฟ้อ ขับลมในลำไส้ แก้อาการปวดเสียวในท้องได้ดี ยอดชะอมใบอ่อนมีรสจืด กลิ่นฉัน(กลิ่นหมอสุขุม) ช่วยลดความร้อนของร่างกาย
4. ใบชะพลู รสเผ็ดเล็กน้อย แก้ธาตุพิการ ขับลม
5. พริกแห้ง รสเผ็ด ขับลม ช่วยย่อย ช่วยเจริญอาหาร
6. ข่า รสเผ็ดปร่า และร้อน ช่วยขับลม ขับพิษโลหิต ร้ายในมดลูก ขับลมในลำไส้
7. กระเทียม รสเผ็ดร้อน ขับลมในลำไส้ แก้ไอ ขับเสมหะ ช่วยย่อยอาหาร แก้โรคผิวหนัง น้ำมันกระเทียมมีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญของเชื้อรา แบคทีเรีย และไวรัส ลดน้ำตาลในเลือด ลดไขมันในหลอดเลือด
8. หอมแดง รสเผ็ดร้อน แก้ไข้เพื่อเสมหะ บำรุงธาตุ แก้ไข้หวัด


ประโยชน์ทางอาหาร
แกงขนุนอ่อน ขนุนมีรสฝาดจะช่วยในการสมานลำไส้รักษาอาหารท้องเสียได้ โดยปกติอาหารที่มีรสเผ็ดจะช่วยกระตุ้นให้เจริญอาหาร แต่ไม่ควรรับประทานเผ็ดมากจนเกินไป


คุณค่าทางโภชนาการ
แกงขนุนอ่อน 1 ชุด ให้พลังงานต่อร่างกาย 1,053.01 กิโลแคลอรี และประกอบด้วย
- น้ำ 1,322.42 กรัม
- ไขมัน 48.54 กรัม
- คาร์โบไฮเดรต 54.69 กรัม
- โปรตีน 96.16 กรัม
- กาก 21.60 กรัม
- ใยอาหาร 34.6 กรัม
- แคลเซียม 205.83 มิลลิกรัม
- ฟอสฟอรัส 399.6 มิลลิกรัม
- เหล็ก 48.68 มิลลิกรัม
- เรตินอล 65.5 ไมโครกรัม
- เบต้า-แคโรทีน 393 ไมโครกรัม
- วิตามินเอ 13,225.65 IU
- วิตามินบีหนึ่ง 3.46 มิลลิกรัม
- วิตามินบีสอง 0.90 มิลลิกรัม
- ไนอาซิน 13.31 มิลลิกรัม
- วิตามินซี 185.35 มิลลิกรัม
 ที่มา http://www.samunpri.com/food/?p=8

อาหารสุขภาพ ยำใบบัวบก

ยำใบบัวบก




ส่วนผสมยำใบบัวบก
•ใบบัวบก 20 ใบ
•กุ้งเสียบ 15 ตัว
•น้ำพริกเผา 1 ช้อนโต๊ะ
•มะพร้าวคั่ว 2 ช้อนโต๊ะ•น้ำปลา 1 ช้อนโต๊ะ
•น้ำมะนาว 3/4 ช้อนโต๊ะ
•น้ำตาลเล็กน้อย

วิธีทำยำใบบัวบก
1.ล้างใบบัวบกให้สะอาด หั่นเป็นท่อนพอดีคำ พักไว้
2.ผสมน้ำพริกเผา มะพร้าวคั่ว น้ำปลา น้ำมะนาว และน้ำตาลทรายเข้าด้วยกันเป็นน้ำยำ
3.นำใบบัวบกมาคลุกเคล้ากับน้ำยำให้เข้ากัน จากนั้นตักใส่จานและโรยหน้าด้วยกุ้งเสียบ จัดแต่งให้สวยงาม พร้อมเสิร์ฟ
4.นำปลากะพงที่ปั้นได้รูปแล้วเขาอบในเตา ก่อนที่จะนำไปทอดบนกระทะเทฟลอน ใส่น้ำสต๊อกผักลงไปเล็กน้อย
5.แต่งหน้าด้วยมะเขือเทศหั่นขวาง ผักชี และใบสะระแหน่ พร้อมเสิร์ฟกับน้ำจิ้มรสเด็ด
สรรพคุณทางยา
1.บัวบก ทั้งต้นรสหอมเย็น บำรุงหัวใจ บำรุงร่างกาย แก้อ่อนเพลีย แก้ไข้กระหายน้ำ แก้ช้ำใน
2.หอมแดง รสเผ็ดร้อน แก้ไข้เพื่อเสมหะ บำรุงธาตุ แก้ไข้หวัด
3.พริกขี้หนูสด รสเผ็ดร้อน ขับลม ช่วยย่อย ช่วยเจริญอาหาร
4.มะนาว เปลือกผลรสขม ช่วยขับลม น้ำมะนาวรสเปรี้ยว แก้ไอ ขับเสมหะ แก้เลือดออกตามไรฟัน ฟอกโลหิต

คุณค่าทางโภชนาการ
ยำบัวบก 1 ชุด ให้พลังงานต่อร่างกาย 285.67 กิโลแคลอรี่ ประกอบด้วย
•น้ำ 284.23 กรัม
•ไขมัน 3.58 กรัม
•คาร์โบไฮเดรต 42.63 กรัม
•โปรตีน 21.67 กรัม
•กาก 7.91 กรัม
•แคลเซียม 1,174.66 มิลลิกรัม
•ฟอสฟอรัส 379.86 มิลลิกรัม
•เหล็ก 17.49 มิลลิกรัม
•วิตามินเอ 26,869.85 IU
•วิตามินบีหนึ่ง 0.67 มิลลิกรัม
•วิตามินบีสอง 0.34 มิลลิกรัม
•ไนอาซิน 5.02 มิลลิกรัม
•วิตามินซี 29.1 มิลลิกรัม


ใบบัวบก ช่วยควบคุมความดันโลหิตให้เป็นปกติ ชะลอความแก่ กระตุ้นการสมานแผลให้เร็วขึ้น ส่วนผสมยำใบบัวบก ใบบัวบก 20 ใบ กุ้งเสียบ 15 ตัว น้ำพริกเผา 1 ช้อนโต๊ะ มะพร้าวคั่ว 2 ช้อนโต๊ะ น้ำปลา 1 ช้อนโต๊ะ น้ำมะนาว 3/4 ช้อนโต๊ะ น้ำตาลเล็กน้อย วิธีทำยำใบบัวบก ล้างใบบัวบกให้สะอาด หั่นเป็นท่อนพอดีคำ พักไว้ ผสมน้ำพริกเผา มะพร้าวคั่ว น้ำปลา น้ำมะนาว และน้ำตาลทรายเข้าด้วยกันเป็นน้ำยำ นำใบบัวบกมาคลุกเคล้ากับน้ำยำให้เข้ากัน จากนั้นตักใส่จานและโรยหน้าด้วยกุ้งเสียบ จัดแต่งให้สวยงาม พร้อมเสิร์ฟ นำปลากะพงที่ปั้นได้รูปแล้วเขาอบในเตา ก่อนที่จะนำไปทอดบนกระทะเทฟลอน ใส่น้ำสต๊อกผักลงไปเล็กน้อย แต่งหน้าด้วยมะเขือเทศหั่นขวาง ผักชี และใบสะระแหน่ พร้อมเสิร์ฟกับน้ำจิ้มรสเด็ด สรรพคุณทางยา บัวบก ทั้งต้นรสหอมเย็น บำรุงหัวใจ บำรุงร่างกาย แก้อ่อนเพลีย แก้ไข้กระหายน้ำ แก้ช้ำใน หอมแดง รสเผ็ดร้อน แก้ไข้เพื่อเสมหะ บำรุงธาตุ ...

 ที่มา http://www.samunpri.com/food/

ต้มไก่สมุนไพร

ไก่ต้มขมิ้น



เครื่องปรุง

1.ไก่บ้าน 1 ตัว (100กรัม)

2.ตะไคร้ 2 ต้น (30 กรัม)

3.ขมิ้น 2 นิ้ว (10 กรัม)

4.กระเทียม 3 หัว (30 กรัม)

5.หอมแดง 5 หัว (45 กรัม)

6.ข่า 7 แว่น (50 กรัม)

7.เกลือป่น 2 ช้อนชา (5 กรัม)

8.ส้มแขก 5 ชิ้น (5 กรัม)

วิธีทำ

   1. ล้างไก่ให้สะอาด แล้วสับชิ้นพอคำ
   2. ทุบตะไคร้ให้แตก หั่นเป็นท่อน 2-3 นิ้ว ทุบข่า ขมิ้น แล้วบุบหอมแดง กระเทียม
   3. เอาน้ำ 4 ถ้วยใส่หม้อตั้งไฟ พอเดือด ใส่เครื่องที่เตรียมไว้ (ข้อ 2) ต้มสักพักจนเครื่องหอม ใส่ส้มแขก
   4. ใส่ไก่ต้มจนสุก ใส่เกลือ น้ำตาล ปรุงรสตามชอบ ยกล

สรรพคุณทางยา

   1. ตะไคร้ แก้ปวดท้อง ขับปัสสาวะบำรุงธาตุ ช่วยเจริญอาหาร
   2. กระเทียม รสเผ็ดร้อน ขับลมในลำไส้ แก้ไอ ขับเสมหะ ช่วยย่อยอาหาร แก้โรคทางผิวหนัง น้ำมันกระเทียมมีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญของเชื้อรา แบคทีเรีย ไวรัส ลดน้ำตาลในเลือด ลดไขมันในหลอดเลือด
   3. หอมแดง รสเผ็ดร้อน แก้ไข้เพื่อเสมหะ บำรุงธาตุ แก้ไข้หวัด
   4. ข่า รสเผ็ดปร่าและร้อน ขับลมในลำไส้ ขับพิษโลหิตในมดลูก
   5. ขมิ้นชัน รักษาแผลในกระเพาะอาหาร ขับลม เจริญอาหาร รักษาโรคผิวหนัง
   6. ส้มแขก รสเปรี้ยว ลดไขมันในเส้นเลือด แก้ไอขับเสมหะ
   7. มะขาม รสเปรี้ยว ขับเสมหะ แก้ท้องผูก แก้ไอ ลดความร้อนในร่างกาย


คุณประโยชน์ทางอาหาร

ไก่ต้มขมิ้น เป็นอาหารที่มีรสเปรี้ยวนำ เหมาะสำหรับคนธาตุน้ำ เป็นหวัดเรื้อรัง รับประทานเผ็ด ๆ แก้ไอ ขับเสมหะ เพิ่มความสดชื่นให้กับร่างกาย

คุณค่าทางโภชนาการ

ไก่ต้มขมิ้น 1 ชุด ให้พลังงานต่อร่างกาย 1,424.18 กิโลแคลอรี่ ประกอบด้วย

    * น้ำ 866.08 กรัม
    * ไขมัน 45.06 กรัม
    * คาร์โบไฮเดรต 40.03 กรัม
    * โปรตีน 214.88 กรัม
    * กาก 4.44 กรัม
    * แคลเซียม 68.85 มิลลิกรัม
    * ฟอสฟอรัส 273.95 มิลลิกรัม
    * เหล็ก 5.87 มิลลิกรัม
    * เรตินอล 25 ไมโครกรัม
    * เบต้า-แคโรทีน 150 ไมโครกรัม
    * วิตามินเอ 282.35 IU
    * วิตามินบีหนึ่ง 1.32 มิลลิกรัม
    * วิตามินบีสอง 2.94 มิลลิกรัม
    * ไนอาซิน 31.12 มิลลิกรัม
    * วิตามินซี 56.15 มิลลิกรัม
ที่มา http://www.samunpri.com/food/?p=118

“ขิง” ยาอายุวัฒนะ

“ขิง” ยาอายุวัฒนะ



ขิงเป็นพืชล้มลุก มีเหง้าใต้ดิน เปลือกนอกสีน้ำตาลแกมเหลือง เนื้อในสีนวลมีกลิ่นหอมเฉพาะ แทงหน่อหรือลำต้นเทียมขึ้นเป็นกอประกอบด้วยกาบหรือโคนใบหุ้มซ้อนกัน ใบ เป็นชนิดใบเดี่ยว ออกเรียงสลับกันเป็นสองแถว ดอก สีขาว ออกรวมกันเป็นช่อรูปเห็ดหรือกระบองโบราณ แทงขึ้นมาจากเหง้า ชูก้านสูงขึ้นมา ทุกๆ ดอกที่กาบสีเขียวปนแดงรูปโค้งๆ ห่อรองรับ

ประโยชน์ของขิงนั้นมีมากมายกว่านั้นแต่จะมีอะไรบ้างมาดูกันเลย

- เหง้า : รสหวานเผ็ดร้อน ขับลม แก้ท้องอืด จุกเสียด แน่นเฟ้อ คลื่นไส้อาเจียน แก้หอบไอ ขับเสมหะ แก้บิด เจริญอากาศธาตุ สารสำคัญในน้ำมันหอมระเหย จะออกฤทธิ์กระตุ้นการบีบตัวของกระเพาะอาหารและลำไส้ ใช้เหง้าแก่ทุบหรือบดเป็นผง ชงน้ำดื่ม แก้อาการคลื่นไส้อาเจียน แก้จุกเสียด แน่นเฟ้อ เหง้าสด ตำคั้นเอาน้ำผสมกับน้ำมะนาว เติมเกลือเล็กน้อย จิบแก้ไอ ขับเสมหะ

- ต้น : รสเผ็ดร้อน ขับลมให้ผายเรอ แก้จุกเสียด แก้ท้องร่วง       

– ใบ : รสเผ็ดร้อน บำรุงกำเดา แก้ฟกช้ำ แก้นิ่ว แก้ขัดปัสสาวะ แก้โรคตา ฆ่าพยาธิ

- ดอก : รสเผ็ดร้อน แก้โรคประสาทซึ่งทำให้ใจขุ่นมัว ช่วยย่อยอาหาร แก้ขัดปัสสาวะ

- ราก : รสหวานเผ็ดร้อนขม แก้แน่น เจริญอาหาร แก้ลม แก้เสมหะ แก้บิด

- ผล : รสหวานเผ็ด บำรุงน้ำนม แก้ไข้ แก้คอแห้ง เจ็บคอ แก้ตาฟาง เป็นยาอายุวัฒนะ

- แก่น : ฝนทำยาแก้คัน





*** เพียงแค่นำเหง้าขิง ขนาดเท่าหัวแม่มือมาอังไฟให้อุ่นจัด แล้วนำไปบดให้ละเอียด จากนั้นก็นำมาทาให้ทั่วหนังศีรษะ น้ำมันในขิงจะช่วยให้เส้นผมแข็งแรงและยังช่วยกระตุ้นให้เกิดการงอกใหม่ของ เส้นผมอีกด้วย

สรรพคุณ 

ช่วย ดับกลิ่นคาวในอาหาร ใช้ลดอาการคลื่นไส้อาเจียน เพราะในเหง้าขิงแก่ มีน้ำมันหอมระเหย ซึ่งประกอบด้วย GINGEROL และ SHOGAOL แก้อาการท้องอืดเฟ้อ ขับลม ลดอาการไอ และระคายคอ จากการมีเสมหะ ช่วยย่อยอาหาร ช่วยขับเหงื่อ ขับน้ำนม แก้อาการเมารถเมาเรือ แก้บิด บำรุงธาตุ ช่วยในด้านการไหลเวียนของโลหิต ช่วยลดความดัน ช่วยลดคลอเลสเตอ รอล ช่วยลดการอักเสบ ช่วยแก้ปวด ผู้ป่วยหลังผ่าตัดที่มักมีอาการเมายาสลบให้จิบน้ำขิงเข้มข้นสักครึ่งช้อนชา จะช่วยแก้อาการเมายาได้:

    จีนเป็นชนชาติเก่าแก่ ที่มีการใช้ประโยชน์ จากขิงมายาวนาน แพทย์จีนโบราณ จัดขิงเป็นพืชรส เผ็ดอุ่น มีฤทธิ์แก้หวัดเย็น ขับเหงื่อ บำรุงกระเพาะ แก้อาการคลื่นไส้อาเจียน ลดคลอเลสเตอรอล ที่สะสมในตับและเส้นเลือด ชาวบ้านทั่วไปจะรู้ดีว่า ถ้าต้มขิงกับน้ำตาลอ้อย จะช่วยแก้หวัด ถ้าใช้ขิงสดปิดที่ขมับทั้งสองข้าง จะช่วยแก้ปวดหัว และถ้าเอาขิงสอดไว้ใต้ลิ้น จะช่วยแก้อาการกระวนกระวาย แก้คลื่นไส้อาเจียนได้ดี แพทย์จีนโบราณจะใช้ประโยชน์จากขิงสดและขิงแห้ง ในแง่มุมที่ต่างกัน
ขิงแห้ง ใน ภาวะที่ขาดหยาง ภาวะขาดหยาง คือ ภาวะที่ร่างกายอาการเย็น หนาวง่ายทนต่อความเย็นได้น้อย การย่อยอาหารไม่ดี เป็นต้น ทั้งยังมีการใช้ขิงแก่ ในคนไข้ปวดข้อรูมาติกส์ม

ขิงสด จะ ใช้กำจัดพิษที่เกิดจากการติดเชื้อภายในร่างกาย โดยการขับพิษออกมาทางเหงื่อ ขิงสดช่วยทำให้ร่างกาย ปรับสภาพในภาวะที่ร่างกาย มีอาการเย็นได้เช่นเดียวกับขิงแห้ง 



ที่มา http://herbal.muasua.com/%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%82%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E/%E0%B8%82%E0%B8%B4%E0%B8%87-%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%B8%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%92%E0%B8%99%E0%B8%B0.html

น้ำผลไม้เพื่อสุขภาพ

น้ำมะเขือเทศ ป้องกันโรคกระดูกพรุน
 
 
นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษเผยสรรพคุณสุดมหัศจรรย์ของน้ำมะเขือเทศ ว่าเป็นผลไม้ที่สามารถช่วยเสริมสร้างกระดูก และป้องกันโรคกระดูกพรุนได้โดยในมะเขือเทศนั้น มีไลโคพีน และสารแอนตี้อ๊อกซิแดนท์ ซึ่งมีคุณสมบัติในการลดความเสี่ยงของมะเร็งต่อมลูกหมากในผู้ชาย และป้องกันโรคหัวใจได้อีกด้วยซึ่งนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยโตรอนโต แคนาดา ได้ทำการวิจัยและพบว่า ปัจจุบันนี้มีผู้ป่วยเป็นโรคกระดูกพรุนกว่า 3 ล้านคนทั่วประเทศอังกฤษ จึงได้ทำการทดสอบกับผู้หญิงวัยทอง (50-60 ปี) จำนวน 60 คนทั่วประเทศ โดยให้พวกเธองดกินมะเขือเทศเป็นเวลา 1 เดือน และจากการวิจัยดังกล่าว ให้ผลออกมาว่า ผู้หญิงที่ไม่ได้กินมะเขือเทศเลย จะมีระดับ N-telopeptide ในเลือดสูงขึ้น โดย N-telopeptide นี้จะทำให้กระดูกเปราะได้ง่ายจากนั้น ทีมวิจัยได้ให้ผู้หญิงกลุ่มเดิมรับประทานมะเขือเทศที่มีปริมาณไลโคพีน 15 มิลลิกรัม ทั้งในรูปแบบแคปซูล และรูปแบบอื่น ๆ ซึ่งผลก็พบว่ามะเขือเทศสามารถลดระดับ N-telopeptide ในเลือดให้ลดลงได้


จากการวิจัยดังกล่าว นักวิจัยจึงสรุปได้ว่า มะเขือเทศนั้นมีคุณประโยชน์ต่อกระดูกมากมาย ดังนั้น การรับประทานมะเขือเทศสกัดในรูปแคปซูล หรือจะเป็นน้ำมะเขือเทศคั้นสดวันละ 2 แก้ว ก็สามารถเสริมสร้างกระดูกให้แข็งแรงขึ้น และยังลดความเสี่ยงที่จะเป็นโรคกระดูกพรุนได้อีกด้วย

 ประโยชน์ที่ร่างกายจะได้รับ 

คุณค่าทางอาหาร   มีเบต้าแคโรทีนสูงมาก บำรุงสายตา  ช่วยต่อต้านมะเร็ง โดยเฉพาะมะเร็งต่อมลูกหมาก  และมีวิตามินซีสูงด้วย ป้องกันโรคเลือดออกตามไรฟัน ช่วยทำให้คงความหนุ่มสาวไม่เหี่ยวย่น

คุณค่าทางยา   ทำให้สดชื่น แก้กระหายน้ำ ผิวพรรณผ่องใส ช่วยย่อยอาหารดีขึ้น ช่วยฟอกเลือด ป้องกันมะเร็ง
 


น้ำเงาะ
 


เงาะ เป็นไม้ยืนต้น แตกกิ่งก้านสาขา เป็นทรงพุ่มเตี้ย ออกดอกตรงปลายยอด ดอกสีนวล ผลอ่อนมีสีเขียว เมื่อสุกเป็นสีแดง ผิวผลมีขน เนื้อมีสีขาว รสหวาน


ส่วนผสม

    * เนื้อเงาะ 1 ถ้วยตวง
    * น้ำต้มสุก 1 ถ้วยตวง
    * น้ำเชื่อม 1/4 ถ้วยตวง
    * เกลือป่น 1/4 ช้อนชา


วิธีทำ

นำเงาะล้างให้สะอาด แกะเปลือกและเมล็ดข้างในออก เอาแต่เนื้อเงาะ ใส่ในเครื่องปั่น เติมน้ำต้มสุก น้ำเชื่อม เกลือ ปั่นจนเป็นเนื้อเดียวกัน จะได้น้ำเงายสด หวานชื่นใจ

ประโยชน์และคุณค่าทางสมุนไพร

- เงาะ มีสานแทนนิน วิตามินซี มีน้ำตาลสูง
- เปลือกเงาะ ใช้เป็นยาขับพยาธิได้
- ผลสุก ใช้รับประทานได้ ทำผลไม้กระป๋อง ทำแยม เงาะกวน

ที่มา http://herbal.muasua.com/tag/%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%B8%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%9E%E0%B8%A3

กินผัก ผลไม้ ต้านหวัด 2009

กินผัก ผลไม้ ต้านหวัด 2009


กรมอนามัยแนะทานผักสดและผล ไม้ที่มีวิตามินซีสูง เช่น ฝรั่ง มะละกอ ส้ม เงาะ มะม่วง ลิ้นจี่ ตำลึง คะน้า กะหล่ำปลี ช่วยต้านหวัด 2009

นพ.ณรงค์ศักดิ์ อังคะสุวพลา อธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยถึงการกินอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่สาย พันธุ์ใหม่ 2009 ว่า ในช่วงระยะของการเกิดโรคระบาดในขณะนี้ นอกจากจะเน้นการกินอาหารที่ปรุงสุกใหม่ โดยกินอาหารทันทีหลังจากปรุงอาหารให้สุกด้วยความร้อนแล้ว ควรใช้ช้อนกลางทุกครั้งและทุกมื้ออาหาร ซึ่งจะช่วยลดการแพร่กระจายของเชื้อโรคที่จะติดต่อระหว่างคนสู่คนผ่านทางระบบ ทางเดินหายใจและเสมหะ น้ำมูก น้ำลายของผู้ป่วย

การล้างมือก่อนการบริโภคอาหารและหลังการขับถ่าย จะช่วยลดอัตราการปนเปื้อนของเชื้อโรคที่อาจแพร่เข้าสู่ร่างกาย ทั้งที่เกิดจากการสัมผัสทางผิวหรือทางปาก โดยผ่านการหยิบจับอาหารด้วยมือเปล่า และสวมหน้ากากอนามัยปิดปาก จมูก ทุกครั้งที่ไอ จาม รวมทั้งมีการทิ้งขยะประเภททิชชูที่ใช้เช็ดน้ำมูกลงในขยะแบบปิด





นอกจากนี้ การกินอาหารครบทั้ง 5 หมู่ และหลากหลาย โดยเน้นผักสดและผลไม้ที่มีวิตามินซีสูง เช่น ฝรั่ง มะละกอ ส้ม เงาะ มะม่วง ลิ้นจี่ ตำลึง คะน้า กะหล่ำปลี ก็จะเป็นอีกวิธีการหนึ่งที่จะช่วยสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกายด้วย ทั้ง นี้ควรดื่มน้ำสะอาดประมาณ 6-8 แก้วต่อวัน และออกกำลังกายอย่างน้อยสัปดาห์ละ 3-5 วัน วันละ 30 นาที นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ หลีกเลี่ยงการไปในที่ชุมชนหรือสถานที่แออัด และหลีกเลี่ยงการใกล้ชิดผู้ป่วยโรคไข้หวัดใหญ่ จะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคได้

ที่มา http://herbal.muasua.com/%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%B8%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B9%84%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%AB%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B8%8D%E0%B9%882009/%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%9C%E0%B8%B1%E0%B8%81-%E0%B8%9C%E0%B8%A5%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%89-%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%AB%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94-2009.html

น้ำทับทิม

น้ำทับทิม


ทับทิม เป็นผลไม้ที่สวยงามและมีกลิ่นหอมมาก สามารถปลูกได้ในประเทศไทย แต่ที่แท้จริงเป็นผลไม้ที่มีต้นกำเนิดมาจากเปอร์เซีย (ประเทศอิหร่านในปัจจุบัน) และมีแถบอินเดียตอนเหนือบริเวณเทือกเขาหิมาลัย

ในเมืองไทย ทับทิมดูจะเป็นผลไม้ที่ศักดิ์สิทธิ์ และเป็นที่นิยมนำไปถวายแด่พระแม่กวนอิม ในประวัติศาสตร์ พบว่าได้มีการนำทับทิมมาทำเป็นยารักษาโรคตั้งแต่ 80 ปีมาแล้ว ในประเทศเปอร์เซียโบราณมีความเชื่อว่า คุณค่า ทางอาหารทุกชนิดที่มีอยู่ในผลไม้ต่างๆ นั้น รวมกันอยู่ในทับทิม ทับทิมเป็นผลไม้ที่ได้รับการเพาะปลูกอย่างแพร่หลาย โดยมีการใช้ทับทิมเป็นสัญลักษณ์ของผลไม้ ถือว่าเป็นผลไม้จากสวรรค์หรือเป็นของขวัญจากพระเจ้า


 
ส่วนผสม

    * เนื้อลูกทับทิม 1 ถ้วยตวง
    * น้ำต้มสุก 1 ถ้วยตวง
    * น้ำเชื่อม ตามชอบ
    * เกลือ ตามชอบ

วิธีทำ

นำทับทิมแกะเอาแต่เนื้อ 1 ถ้วย ใส่ในผ้าขาวบางขยำเติมน้ำต้มสุข 1 ถ้วย ขยำซ้ำอีก กะว่าให้ได้เนื้อออกมาจากเมล็ดมากที่สุด จากนั้นนำมาเติมน้ำเชื่อมและเกลือป่น คนให้ละลาย ชิมตามชอบ



ประโยชน์และคุณค่าทางสมุนไพร

ทับทิมในตำราแพทย์สมัยโบราณ ในผลทับทิมมีวิตามินมากมายหลายชนิด รวมทั้งแมกนีเซียมและแคลเซี่ยม ซึ่งมีประโยชน์ต่อระบบฟอกโลหิต และ ระบบการหมุนเวียนในร่างกาย ในตำราแพทย์โบราณของเปอร์เซีย (ซึ่งถือว่าเป็นต้นตำรับของวิชาแพทย์ตะวันตกในปัจจุบัน) ระบุว่าทับทิมมี ประโยชน์ดังต่อไปนี้

    * การฟื้นฟูสู่สภาพเดิมของหัวใจและตับ
    * การฟอกไตและท่อปัสสาวะ
    * สมรรถนะในการส่งเสริมการย่อย
    * ขจัดไขมันส่วนเกิน
    * เป็นยาบำรุงกำลัง
    * ช่วยป้องกันการแพ้ท้อง
    * ช่วยปรับฮอร์โมนในวัยหมดประจำเดือน
    * ปรับปรุงระบบการฟอกและหมุนเวียนโลหิต
    * การฟื้นฟูจากโรคเบาหวาน
    * สมรรถนะในการกลั้นเสมหะ
    * ต่อต้านการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศและเพิ่มพลัง
    * ป้องกันโรคขี้หลงขี้ลืมในผู้สูงอายุ
    * ทำให้ผิวหน้าสวย




ที่มา http://herbal.muasua.com/%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%B8%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%9E%E0%B8%A3/%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%B4%E0%B8%A1.html

มะตูม สมุนไพรเพื่อสุขภาพ

มะตูม สมุนไพรเพื่อสุขภาพ







สมุนไพรเป็นสิ่งมหัศจรรย์จากธรรมชาติ ที่บรรพบุรุษไทยของเราใช้ภูมิปัญญาชาวบ้านศึกษาอย่างชาญฉลาด จนนำไปสู่การปรับใช้ในชีวิตประจำวัน เพื่อช่วยในการดูแลสุขภาพกาย-ใจ อย่าง น้ำมะตูม เครื่องดื่มประจำครอบครัวของคนไทยมาตั้งแต่ยุคโบราณกาลที่มีสรรพคุณทางยา และมีคุณประโยชน์ทางอาหารมากมาย จึงถือได้ว่า มะตูม เป็นพืชสมุนไพรยอดฮิตชนิดหนึ่ง ที่ตลาดสมุนไพรขาดไม่ได้ และผู้บริโภคก็หาซื้อได้ง่าย
 
มะตูมเป็นไม้ยืนต้น โดยมีชื่อพื้นเมืองหลายอย่างและใช้เรียกกันแตกต่างไป เช่น ตูม  ตุ่มตัง  กะทันตาเถร (ปัตตานี)  มะปิน (เหนือ) บักตูม หมากตูม (อีสาน)
 
ลักษณะของมะตูม ผล มีผิวเกลี้ยง เปลือก หนาและแข็ง ผลอ่อนสีเขียว ผลแก่สีเหลือง ในผลมะตูมมีเมล็ดตรงกลางเป็นพู มียางเหนียวใส นำมาใช้เป็นกาวจากธรรมชาติได้ เนื้อมะตูมมีกลิ่นหอมเฉพาะตัว เวลานำมาต้มเป็นชาจะมีกลิ่นหอมมาก เวลาสุกเนื้อจะนิ่มเป็นสีเหลืองหอมและมีรสหวานด้วย

มะตูมที่เราพบเห็นกันในปัจจุบัน ส่วนมากจะอยู่ในรูปของมะตูมแห้งเป็นแว่นที่มีขายตามร้านยาแผนโบราณ, ร้านขายสมุนไพรเพื่อสุขภาพ สำหรับผู้ที่รักและห่วงใยสุขภาพเท่านั้น ซึ่งนิยมนำมะตูมแว่นมาต้มเป็นน้ำมะตูมที่มีกลิ่นหอม สำหรับดื่มให้ชื่นใจ แก้กระหายน้ำ แถมยังให้คุณค่าอื่น ๆ ที่มีประโยชน์ต่อร่างกายอีกมากมายด้วย เช่น 

    * เปลือกของรากและลำต้นของมะตูม สามารถลดไข้ และใช้เป็นยารักษาไข้มาลาเรียในสมัยก่อน ขับลมในลำไส้

    * ราก แก้พิษฝี พิษไข้ รักษาน้ำดี      

    * ใบสด แก้ไอ ขับเสมหะ หากมีอาการหลอดลมอักเสบเรื้อรัง ให้เอาใบมะตูมดิบๆ มาคั้นเอาน้ำเพื่อดื่ม ช่วยบรรเทาอาการไอและเสมหะเรื้อรังลงได้มี     

    * ผลมะตูม ผลอ่อนที่มีสีเขียว ใช้เป็นยาเจริญอาหาร ขับลมในท้อง ผลแก่แก้เสมหะ ช่วยย่อยอาหาร และยังสามารถเอาผลสุกมาชงดื่มเป็นยาแก้ร้อนใน หรือ เอามะตูมตากแห้งมาต้มเป็นชาสมุนไพรก็จะได้ผล็อย่างเดียวกัน นอกจากนี้ ผลดิบแห้งยังใช้แก้บิด และแก้ท้องเสียในเด็กได้ด้วย ส่วนผลสุกนั้นกลับเป็นยาระบาย ช่วยย่อยอาหารได้ดีโดยเฉพาะในเด็ก



การดื่มน้ำมะตูมเย็นๆ ยังสามารถทำให้อารมณ์ที่ร้อนรุ่มขุ่นมัวของคุณเย็นลงได้อย่างน่ามหัศจรรย์ พร้อมเติมพลังให้กับร่างกายในยามที่อ่อนล้า คนโบราณยังเชื่ออีกว่าว่า มะตูม เป็นไม้มงคลชนิดหนึ่งที่ควรมีไว้ในบริเวณบ้าน จะสามารถทำให้เกิดกำลังใจ และความมานะพยายามที่จะต่อสู้ฟันฝ่าอุปสรรคต่างๆ ในชีวิต นอกจากนี้ มะตูม ยังมีความเกี่ยวข้องกับพิธีกรรม และพิธีมงคลของไทย อย่างเช่น เวลาเข้ากราบบังคมลาพระเจ้าแผ่นดินไปรับราชการ หรือ ศึกษาต่อ ณ ต่างประเทศ ก็จะได้รับพระราชทานใบมะตูมเป็นสิริมงคล งานสมรสพระราชทานคู่บ่าวสาวก็จะมีใบมะตูมทัดหู การทำน้ำมนต์เพื่อสะเดาะเคราะห์ และการครอบครูก็จะใช้ใบมะตูมเป็นองค์ประกอบในพิธี อีกทั้ง มะตูม ยังช่วยป้องกันสิ่งชั่วร้ายต่างๆ ได้อีกด้วย

ที่มา http://herbal.muasua.com/%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%B8%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%9E%E0%B8%A3/%E0%B8%A1%E0%B8%B0%E0%B8%95%E0%B8%B9%E0%B8%A1-%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%B8%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%82%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E.html

สมุนไพรไทย

กระดังงาสงขลา


ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cananga odorata (Lank.) Hook. f. et. Th., var.fruticosa (Craib) J. Sincl.
ชื่อวงศ์ : ANNONACEAE
ชื่ออื่น : กระดังงอ, กระดังงาเบา, กระดังงาสาขา

รูปลักษณะ : กระดังงาสงขลา เป็นไม้พุ่ม สูง 1-2.5 เมตร ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปใข่หรือรูปขอบขนาน กว้าง 7-9 ซม. ยาว 10-18 ซม. ดอกช่อ ออกเป็นกระจุกที่ปลายกิ่ง กลีบดอกสีเขียวแกมเหลือง กลิ่นหอม ผลเป็นกลุ่มผล
สรรพคุณของ กระดังงาสงขลา : ดอก เป็นยาบำรุงหัวใจ ใช้ได้เช่นเดียวกับกระดังงาไทย

กระดังงาไทย


ชื่อวิทยาศาสตร์ : Kenanga, Ylang Ylang, Cananga odorata (Lamk.) Hook. f. et. Th.
ชื่อวงศ์ : ANNONACEAE
ชื่ออื่น : กระดังงา, กระดังงาใบใหญ่, กระดังงาใหญ่, สะบันงา

รูปลักษณะ : กระดังงาไทย เป็นไม้ยืนต้น สูง 8-15 เมตร ลำต้นตรง เปลือกต้นเกลี้ยงสีเทา กิ่งมักจะลู่ลง ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปวงรีหรือรูปใบหอก กว้าง 5-7 ซม. ยาว 13-20 ซม. ขอบใบเป็นคลื่น ดอกช่อออกเป็นกระจุก ที่ซอกใบ กระจุกละ 4-6 ดอก กลีบดอกสีเหลืองหรือเหลืองอมเขียว มีกลิ่นหอม ผลเป็นกลุ่มผล ผลแก่จะเปลี่ยนจากสีเหลืองอมเขียวเป็นสีดำ

สรรพคุณของ กระดังงาไทย : ดอก มีน้ำมันหอมระเหย ใช้ทอดกับน้ำมันมะพร้าว ทำน้ำมันใส่ผม ใช้ปรุงเป็นยาหอม แก้ลมวิงเวียน จัดอยู่ในพิกัดเกสรทั้งเจ็ด



การบูร


ชื่อวิทยาศาสตร์ : Camphor Tree, Cinnamomum camphora (Linn.) Presl
ชื่อวงศ์ : LAURACEAE

รูปลักษณะ : การบูร เป็นไม้ยืนต้น สูง 10-15 เมตร กิ่งก้านเรียบเกลี้ยง ยอดอ่อนมีใบเกล็ดสีเหลืองแกมน้ำตาลหุ้ม ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปไข่ กว้าง 3-5 ซม. ยาว 5-8 ซม. มีกลิ่นหอม ดอกช่อออกที่ซอกใบ ดอกย่อยมีขนาดเล็ก สีนวล ผลเป็นผลสดขนาดเล็ก

สรรพคุณของ การบูร : เนื้อไม้ เมื่อนำเนื้อไม้มากลั่นไอน้ำ จะได้สารที่มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว คือ การบูร (Camphor) ใช้ผสมในยาน้ำ มีสรรพคุณบำรุงธาตุ ขับเสมหะ ขับลม แก้จุกเสียดแน่นเฟ้อ แก้ปวดท้อง ท้องร่วง ขับเหงื่อ ใช้ผสมในยาหม่อง ยาขี้ผึ้ง ยาครีมทาแก้เคล็ดบวม ขัดยอก แพลง แก้พิษแมลงสัตว์กัดต่อย และโรคผิวหนังเรื้อรัง

ที่มา  http://www.likemax.com/archive/herb/