นรารัตน์

วันพุธที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2555

สมุนไพรพื้นบ้านใกล้ตัว






สมุนไพร หมายถึง พืชที่ใช้ทำเป็นยารักษาโรค โดยใช้ส่วนต่างของพืชชนิดเดียวหรือหลายชนิดพร้อมกัน พืชสมุนไพรเป็นกลุ่มพืชที่อยู่ในความสนใจ และมีผู้ศึกษาทางด้านพฤกษศาสตร์พื้นบ้านมากที่สุด ยารักษาโรคปัจจุบันหลายขนานที่ผลิตเป็นอุตสาหกรรม ได้มาจากการศึกษาวิจัยการใช้พืชสมุนไพรพื้นบ้านของกลุ่มชนพื้นเมืองตามป่าเขาหรือในชนบท ที่ได้รับการถ่ายทอดมาจากบรรพบุรุษที่ได้สังเกตว่าพืชใดนำมาใช้บำบัดโรคได้ มีสรรพคุณอย่างไร จากการเรียนรู้ด้วยประสบการณ์ และการทดลองแบบพื้นบ้านที่ได้ทั้งข้อดีและข้อผิดพลาด

สมุนไพรพื้นบ้านใกกล้ตัว

 มะรุม ผักอีฮุม นำฝักอ่อนมาแกงใส่ปลาอร่อยนักแล สรรพคุณทางยา เปลือก ถากมาต้มน้ำกินเป็นยาช่วยขับลมในกระเพาะและลำไส้ บำรุงธาตุ ราก รสเผ็ด หวานขม ใช้แก้อาการบวมน้ำ บำรุงธาตุไฟ เจริญอาหาร ยอดและฝักอ่อน ช่วยให้เจริญอาหาร แก้ไข้หัวลม (เปลี่ยนฤดู) ช่วยย่อยอาหาร




ตำลึง ใบตำนิน (ก็ว่า) ใบเป็นผักใช้ทำอาหารได้หลายอย่างทั้ง ผัด ลวก นึ่ง หรือจะใส่ในแกงก็อร่อย มีสรรพคุณทางยาดังนี้ ใบ ใช้ตำหรือบดผสมแป้งดินสอพอง พอกแผล ฝี ช่วยบีบรีดหนองให้แตกออกมา เพื่อให้แผลฝีหายเร็ว ใช้ใบปรุงกับสมุนไพรอื่นๆ เป็นยาเขียว ยาเย็น แก้ขับอาการร้อนในและพิษไข้ให้ตัวเย็นลง หรือนำใบไปตำทาตามผิวหนังแก้ผด ผื่นคัน เถา ใช้ตัดมาคลึงให้นิ่ม บีบเอาน้ำภายในออกมา หยอดตา แก้ตาฝ้า ฟาง ตาแดง ตาแฉะ มีขี้ตามาก ราก แก้ตาเป็นฝ้า ติดเชื้อ ดับพิษปวดแสบปวดร้อนในตา บำรุงธาตุเจริญอาหาร บำรุงหัวใจ บำรุงดี ทำให้ระบบขับถ่ายสะดวก รักษาโรคลำไส้และกระเพาะ
อาหาร ผลสุก มีสีแดงเป็นยาบำรุงร่างกายฯ



บัวบก  กินได้ทั้งต้นเป็นผักสดหรือลวกกินกับอาหารเช่น ป่น ลาบ แจ่ว นำไปประกอบอาหารอื่นเช่น แกงหวาย ยำกับปลาแห้ง คุณค่าทางยา นำมาต้มกินแก้ฟกช้ำ ลดอาการอักเสบได้ ทำเป็นครีมลบรอยแผลเป็น รักษาแผลในกระเพาะอาหาร ช่วยผ่อนคลายให้ความจำและสมองทำงานได้ดี




 กล้วยน้ำว้า เป็นพืชที่ใคร ๆ ก็รู้จักและเคยรับประทาน แต่จะมีซักกี่คนที่รู้ว่ากล้วยน้ำว้านี้ มีประโยชน์หรือคุณค่าทางอาหารอย่างไรบ้าง จริง ๆ แล้วกล้วยน้ำว้ามีคุณค่าทางอาหารอยู่มากมาย เช่น วิตามิน แคลเซียม เหล็ก แมงกานีส และอื่น ๆ อีกหลายชนิด อีกทั้งส่วนต่าง ๆ ของกล้วยยังสามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการประกอบอาหารได้อีกหลายอย่างทั้งคาวและหวาน หรือนำไปทำข้าวของเครื่องใช้ก็ได้ เช่น เครื่องสาน ใบตอง เชือก เป็นต้น สำหรับประโยชน์ทางยาสามารถใช้ได้ทั้งผลดิบและสุก โดยมีการศึกษาวิจัยแล้ว

ผลดิบ มีรสฝาด มีสารสำคัญที่ออกฤทธิ์ชื่อแทนนิน (tannin) ใช้รักษาอาการท้องเสีย โดยให้รับประทานทั้งเปลือกหรือหั่น ตากแห้ง แล้วบดเป็นผงชงน้ำร้อน หรือปั้นเป็นเม็ดรับประทาน นอกจากนี้ ยังมีสรรพคุณยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรียและรักษาแผลในกระเพาะอาหารได้อีกด้วย

ผลสุก มีรสหวาน สรรพคุณเป็นยาระบาย โดยรับประทานครั้งละ 2-3 ผล วันละ 2 เวลา เช้าเย็น ต่อเนื่องกันอย่างน้อย 7-10 วัน จะช่วยไม่ให้ท้องผูก โดยมีสารสำคัญที่ออกฤทธิ์ชื่อ เพคติน (pectin) ซึ่งจะช่วยเคลือบผนังกระเพาะอาหาร ช่วยรักษาแผลในกระเพาะอาหารให้ได้ผลเร็วขึ้น นอกจากนี้ ผลกล้วยน้ำว้าสุกยังมีสรรพคุณเป็นยาอายุวัฒนะ ช่วยบำรุงกำลังบำรุงร่างกายได้




    มะเฟือง   ตามสารอาหารที่พบแล้วก็จะเห็นว่ามะเฟืองหนึ่งผลนั้นสามารถที่จะช่วยเสริมสร้างกระดูกและฟันให้แข็งแรงควบคุมการเต้นของหัวใจให้สม่ำเสมอ ควบคุมกล้ามเนื้อ ช่วยให้เลือดแข็งตัวง่าย กล่อมประสาทช่วยระงับความฟุ้งซ่าน จึงช่วยให้นอนหลับง่ายขึ้นในผู้ที่มีปัญหาเรื่องการนอนไม่หลับส่วนน้ำมะเฟืองคั้นนั้น ตำรายาโบราณกล่าวว่ามีสรรพคุณในการแก้ร้อนใน ดับกระหาย ลดความร้อนภายในร่างกายถอนพิษก็ได้ เป็นยาขับเสมหะ ป้องกันโรคโลหิตจาง โรคเลือดออกตามไรฟัน รวมทั้งยังช่วยขับปัสสาวะ และบรรเทาอาการนิ่วในทางเดินปัสสาวะได้อีกด้วย












ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น