นรารัตน์

วันพุธที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2555

ผักและสมุนไพรพื้นเมืองภาคเหนือ



  
ผักและสมุนไพรพื้นเมืองภาคเหนือ

กระทือป่า (Zingiber zerumbet Smith)




ชื่ออื่น จี๋กุ๊ก (แพร่) กระทือดง (กาญจนบุรี)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ต้น ลักษณะคล้ายต้นข่า สูงประมาณ 1-2 เมตร แตกแขนงเป็นกอ

ใบ ใบยาวประมาณ 1-1.5 ฟุต กว้าง 10-12 ซม. หน้าใบเห็นเป็นรอยเส้นชัดเจนมีสีเขียว ส่วนหลังใบมีสีเขียวหม่น นุ่ม ๆ มีขนอ่อนนุ่มเต็มหลังใบ (ทั่ว ๆ ใบคล้ายใบของขมิ้น)

ดอก ออกจากเหง้า - ราก ดคนต้น มีสีแดงอมเหลืองอ่อน ๆ กลิ่นหอมแุน ดอกบานจะมีกลีบดอกแตกออกเป็นช่อ ๆ สีขาวเหลือง



การขยายพันธุ์ แยกหน่อ เหง้า/ราก

ฤดูกาลเก็บส่วนขยายพันธุ์ ฤดูฝน

สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมในการเจริญเติบโต ขึ้นตามที่เย็นชื้น

การใช้ประโยชน์

ทางอาหาร ดอกตูม นำมาแกงผักรวม แกงใส่หน่อไม้ ลวกจิ้มน้ำพริก รับประทานเป็นผักสด


ทางยา มีสรรพคุณ ขับลมในกระเพาะได้ดี

ฤดูกาลที่ใช้ประโยชน์  ต้นฤดูฝน





ชะพลู (Piper sarmentosum Roxb)




ชื่ออื่น ช้าพลู พลูลิงนก ฟูนก อีไร (เหนือ) แค ปูลิง อีเลิด (อีสาน) นมวา (ใต้)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ต้น เป็นไม้ล้มลุกแบบเลื้อย ต้นสูงประมาณ 60 ซม. ลำต้นเป็นข้อ ๆ มีสีเขียว

ใบ เป็นใบเดี่ยวขึ้นสลับ เป็นรูปหัวใจ ยาว 17 ซม. กว้าง 14 ซม. ก้านใบยาว 1-5 ซม.

ดอก ดอกเป็นช่อรูปทรงกระบอก สีขาว และค่อย ๆ เปลี่ยนเป็นสีเขียว เป็นปุ่ม ๆ คล้ายดอกปลีและสั้นกว่า

ผล เป็นผลกลุ่ม รูปทรงกระบอก

เมล็ด มีขนาดเล็ก

การขยายพันธุ์ ปักชำลำต้นที่มีราก

ฤดูกาลเก็บส่วนขยายพันธุ์ ฤดูฝน

สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมในการเจริญเติบโต ปลูกในบริเวณที่ชื้นแฉะ ข้างลำธารในป่าดิบแล้ง

การใช้ประโยชน์

ทางอาหาร ใบอ่อน ยอดอ่อน รับประทานเป็นผักสดร่วมกับน้ำพริก แกงแคร่วมกับผักชนิดอื่น ๆ แกงปลาแห้งร่วมกับหัวปลี แกงหอยขม

ทางยา ใบ เจริญอาหาร หับเสมหะ ทำให้เสมหะงวด ทำให้เลือดลมซ่าน ต้น แ้ก้เสมหะในทรวงอก ขับเสมหะ ราก แก้คูถเสมหะ ขับเสมหะให้ตกทางทวารหนัก บำรุงธาตุ ทำให้เสมหะแห้ง

ฤดูกาลที่ใช้ประโยชน์ ฤดูฝน

ข้อควรระวัง ชะพลูมีสารออกซาเลทไม่ควรบริโภคเป็นประจำ




ค้อนหมาขาว (Dracaena angustifolia Poxb)


ชื่ออื่น หมากพู่ป่า (แพร่) ผักก้อนหมา (ลำปาง) พร้าวลำพัน (เชียงใหม่) ต้นข้าวใหม่ (กาญจนบุรี)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ต้น เป็นไม้พุ่ม สูงประมาณ 2-3 เมตร ลำต้นตั้งตรง หนา รูปทรงกระบอก

ใบ ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปดาบ กว้าง 2-3 ซม. ยาว 2050 ซม. เนื้อใบเป็นเส้นใย ผิวใบด้านบนมีสีเขียวเข้ม เป็นมัน

ดอก ดอกช่อ ออกที่ซอกใบด้านปลายกิ่ง ดอกย่อยจำนวนมาก ห้อยลง ก้านช่อดอกยาว กลีบดอกสีขาว

ผล ผลสดมีสีเขียว เป็นรูปทรงกลม พอแก่สีเหลืองส้ม

การขยายพันธุ์ ใช้การปักชำ

ฤดูกาลเก็บส่วนขยายพันธุ์ ฤดูฝน

สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมในการเจริญเติบโต ขึ้นได้ทุกสภาพแวดล้อม

การใช้ประโยชน์

ทางอาหาร ยอดอ่อน ดอก ลวกต้มจิ้มน้ำพริก แกงผักรวมใส่ปลาย่าง ใ่ส่แกงแค

ทางยา ราก ต้มน้ำดื่มแก้ไอ ยาพื้นบ้านใช้ทั้นต้นต้มน้ำดื่มแก้เบาหวาน ทั้นต้นเหนือดิน สกัดด้วยแอลกอฮอล์ มีฤทธิ์ยับยั้งการเกร็งตัวของลำใส้ในสัตว์ทดลอง

ฤดูกาลที่ใช้ประโยชน์ ฤดูฝน




แคหางค่าง (Fernandoa adenophylla Steeins)


ชื่ออื่น แคขน แคลาว แคหัวหมู แคเขา

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ต้น เป็นไม้ยืนผลัดใบ ขนาดกลาง สูง 5-10 เมตร ลำต้นขดงอ เนื้อไม้กิ่งแตกแขนงเป็นพุ่มทึบ ตามกิ่งจะมีขนสีน้ำตาล เปลือกหนา ผิวค่อนข้างเรียบสีเทา

ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนก ออกตรงกันข้าม ใบย่อยมีหลายคู่ รูปขอบขนาน รูปวงรีแกมขอบขนาน แกมใบหอก ถึงรูปใบหอก มีต่อมรูปหอกที่บริเวณใกล้โคนก้านใบ

ดอก ดอกสีเหลืองอ่อน ออกรวมกันเป็นช่อขนาดใหญ่ตามปลายกิ่ง ช่อดอกตั้ง แต่ละช่อยาวประมาณ 40 ซม. 1 ช่อ มี 6-8 ดอก ดอกโคนเชื่อมกันเป็นหลอดรูปถ้วย ปลายแยกเป็นกลีบดอก 5 กลีบ ไม่เท่ากัน ด้านนอกมี ขนสีน้ำตาลแดงหนาแน่นขอบกลีบดอกเป็นคลื่น

ผล เป็นฝักรูปทรงกระบอกยาว มีสันตามยาวของฝัีก 5 เส้น

การขยายพันธุ์ เพาะเมล็ด

ฤดูกาลเก็บส่วนขยายพันธุ์ สิงหาคม-ธันวาคม

สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมในการเจริญเติบโต พบตามป่าเบญจพรรณ และป่าดิบเขา เกือบทุกภาคของประเทศ

การใช้ประโยชน์

ทางอาหาร ดอกและฝักอ่อนมาย่างไฟเพื่อลดความขนหรือนำมาต้มให้สุก รับประทานเป็นผักจิ้มร่วมกับ น้ำพริกแดง หรือน้ำพริกปลาร้า

ทางยา เปลือกต้น ต้มน้ำดื่มแก้ท้องอืดเฟ้อ เมล็ด แก้โรคชัก บำรุงโลหิต ขับเสมหะ ใบ ตำพอกรักษาแผล ราก ต้น เปลือกผล ต้มน้ำอาบ บรรเทาอาการปวดตามร่างกาย ปวดเมื่อย ปวดหลัง

ฤดูกาลที่ใช้ประโยชน์ กรกฎาคม-พฤศจิกายน





โกสน (Codiaeum variegatum Bl)


ชื่ออื่น โกสน (โกรต๋น (ทั่วไป))

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ต้น เป็นไม้พุ่ม สูง 1-3 เมตร ทุกส่วนเกลี้ยง

ใบ ใบมีรูปร่างหลายแบบ ตั้งแต่รูปขอบขนานจนถึงรูปยาวแคบ โคนใบมนหรือแหลม ขอบใบเรียบหรือเป็นคลื่น ปลายใบทู่ สีเขียวหรือลาย มีเส้นแขนงใบประมาณ 10 คู่ ก้านใบยาว 3-5 ซม. ใบลายสีต่าง ๆ อยู่ในใบเีดียวกัน เช่น สีเหลือง ส้ม น้ำตาล เป็นต้น

ดอก ดอกเล็ก ออกดอกเป็นช่อยาวที่ยอด และตามว่ามใบ ช่อยาว 10-20 ซม. มีดอกจำนวนมาก ดอกเพศผู้และเพศเมียอยู่ต่างต้นกัน

ผล เป็นชนิดแก่แล้วแห้ง เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 9 มม. ยาว 7 มม. มีสีขาว

เมล็ด ยาวประมาณ 6 มม.

การขยายพันธุ์ ใช้การปักชำตอนกิ่ง

ฤดูกาลเก็บส่วนขยายพันธุ์ ทุกฤดู

สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมในการเจริญเติบโต ปลูกเป็นไม้ประดับทั่วไป

การใช้ประโยชน์

ทางอาหาร ยอดอ่อนมาเป็นผักสดแกล้มลาบ

ทางยา ใบ แก้โรคระบบทางเดินปัสสาวะผิดปกติ

ฤดูกาลที่ใช้ประโยชน์ ทุกฤดู





 ที่มา http://natureherbel.awardspace.com/pageN1.html















ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น