นรารัตน์

วันพุธที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2555

ผักและสมุนไพรพิ้นเมืองภาคกลาง


ผักและสมุนไพรพิ้นเมืองภาคกลาง


 ชื่อสมุนไพร: กระทือ




ชื่อวิทยาศาสตร์ : Zingiber zerumbet Smith.

วงศ์: ZINGIBERACEAE

ชื่อท้องถิ่น: กระทือป่า กะแวน กะแอน แสมดำ (เหนือ)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ 

กระทือเป็นไม้ล้มลุก สูง 0.5 - 1 เมตร มีเหง้าใต้ดิน เปลือกนอกของเหง้าสีน้ำตาลแกมเหลือง เนื้อในสีเหลืองอ่อน กลิ่นหอม
แทงหน่อใหม่เมื่อถึงฤดูฝน ใบเดี่ยวเรียงสลับ และเป็นรูปหอกแกมขอบขนาน กว้าง 5 - 10 ซม. ยาว 15 - 30 ซม. ด้านล่าง
ของใบมักมีขนนุ่ม ดอกช่อแทงจากเหง้า กลีบดอกสีขาวนวล ใบประดับขนาดใหญ่สีแดง ผลเป็นผลแห้ง

ส่วนที่ใช้เป็นยา
เหง้าและรากนำเอาเหง้าสดขนาดเท่าหัวแม่มือ 2 หัว (ประมาณ 20 กรัม) ย่างไฟ พอสุกตำกับน้ำปูนใส คั้นเอาน้ำดื่มเวลามีอาการ

รสและสรรพคุณ
รสขมและขื่นเล็กน้อย ขับลม แก้ปวดมวนแน่นท้อง แก้บิด บำรุงน้ำนม

การเตรียมยาสมุนไพรอย่างง่ายและวิธีใช้
นำเอาเหง้าสดขนาดเท่าหัวแม่มือ 2 หัว(ประมาณ 20กรัม)ย่างไฟพอสุกตำกับน้ำปูนใส คั้นเอาน้ำดื่มเวลามีอาการ 
 

กุ่มน้ำ




ชื่อวิทยาศาสตร์: Crateva magna DC

ชื่อวงศ์ : CAPPARICADEAE

ชื่อท้องถิ่น: สุพรรณ เรียก อำเภอ 
กะเหรี่ยง-ตะวันตก เรียก เหาะเถาะ 
พิจิตร,ปราจีนบุรี,อุดรธานี เรียก ผักกุ่ม 
มหาสารคาม เรียก ผักก่าม 
ภาคกลาง-ภาคตะวันตก เรียก กุ่มน้ำ 
ละว้า-เชียงใหม่ เรียก รอถะ 
พังงา-ระนอง เรียก ผักกุ่ม 
สงขลา,ชุมพร,ระนอง เรียก กุ่มน้ำ
 
ลักษณะทั่วไป : กุ่มน้ำเป็นไม้ยืนต้น ผลัดใบ ชอบขึ้นบริเวณริมตลิ่ง ใกล้น้ำจึงถูกเรียกว่า “กุ่มน้ำ” มีลำต้นคดงอและแตกกิ่งต่ำ ใบ สีเขียงแตกออกเป็นใบย่อย 3ใบตัวใบรูปหอกขอบขนานเช่นเดียวกับกุ่มบกแต่ใบแคบกว่าปลายใบ เรียวแหลม ดอกออกเป็นช่อกระจายตามยอดใบหรือซอกใบ เมื่อเริ่มออกดอกจะเป็นสีเขียวแล้วค่อยๆ กลายเป็นสีขาวหรือขามอมเหลือง เกสรตัวผู้สีม่วง ก่อนออกดอกจะผลัดใบ และผลิดอกพร้อมกับผลิใบใหม่ มีกลิ่นหอมอ่อนๆ ผลกลมรี สีนวล ผิวแข็ง ภายมีเมล็ดกลมๆ เล็กๆ สีน้ำตาลเข้มรูปเกือกม้าอยู่จำนวนมาก

สรรพคุณทางยา
ราก รสร้อน แก้ปวดท้อง บำรุงธาตุ 
ใบ รสขมหอม ขับเหงื่อ แก้ไข้ เจริญอาหาร ระบาย ขับพยาธิ แก้ปวดเส้น แก้โรคไขข้ออักเสบ 
ดอก รสเย็น แก้เจ็บตา และแก้เจ็บในคอ 
ลูก รสขม แก้ไข้ 
เปลือกต้น รสร้อน แก้สะอึก ขับผายลม ขับเหงื่อ แก้กระษัย 

คติความเชื่อ คนไทยสมัยก่อนปลูกต้นกุ่มไว้เป็นอาหารและยารักษาโรคต้นกุ่มนับเป็นไม้มงคลชนิดหนึ่งที่นิยมปลูก เชื่อว่าจะทำให้ครอบครัว มีฐานะ มีเงิน เป็นกลุ่มเป็นก้อน ดังชื่อของต้นไม้



มะอึก

วงศ์ : SOLANACEAE ชื่อวิทยาศาสตร์ Solanum stramonifolium Jacq 

ชื่อพื้นเมือง: มะเขือปู่

ลักษณะทั่วไป: มะอึกเป็นไม้ล้มลุกหลายปี และเป็นไม้พุ่ม สูงประมาณ 80 - 150 ซม. แตกกิ่งก้านสาขาออกเป็นพุ่มคล้ายมะเขือพวง ลำต้นมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 3 - 4 ซม.จะเป็นสีขาวนวลเมื่อแก่ลำต้นจะมีหนาม แหนม ๆ และขนละเอียดขึ้นเต็มไปหมด 
ใบ มีสีเขียวเรียงแบบสลับ รูปร่างใบเป็นรูปไข่ ขอบใบหยักเว้าลึกเข้าไปหาเส้นกลางใบ มีหนามแข็งอยู่บนเส้นใบ 
ดอก เป็นดอกช่อ ดอกย่อย 3 - 5 ดอก ออกเป็นกระจุกตามบริเวณซอกใบกลีบดอก 5 กลีบสีขาวหรือสีม่วงอ่อนคนติดกันแต่ละกลีบขนาดเล็กปลายแหลมและเมื่อบานกลีบจะโค้งลง

ผลอ่อนสีเขียว มีขนยาวปกคลุมทั่วทั้งผล เส้นผ่าศูนย์กลาง 1.6 - 9 ซม. เมื่อสุกจะค่อย ๆ เป็นสีเหลืองหรือสีเหลือง อมส้ม มีเมล็ดเรียงเป็นแถวอยู่ภายใน เมล็ดกลม จำนวนมาก

การปลูกมะอึกเป็นพืชสวนครัวที่เหมาะที่จะปลูกไว้ในบ้าน เป็นพืชที่ปลูกง่าย ไม่ต้องการการดูแลเอาใจใส่มากนัก มะอึกชอบดินร่วน ไม่มีน้ำขัง วิธีปลูกขุดหลุมลึก 20-30 เซนติเมตร รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยคอกและปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 หลังจากหยอดเมล็ดแล้ว คลุมด้วยเศษหญ้าแห้ง หมั่นรดน้ำเช้า-เย็น โรคและแมลงที่จะเข้าทำลายต้นมะอึกมีน้อยมาก ต้นมะอึกมีความทนทานต่อโรคและแมลงได้ดี หากมีการดูแลเอาใจใส่เรื่องน้ำและความอุดมสมบูรณ์ของดิน

ประโยชน์ทางยา
รากมะอึก รสเย็นและรสเปรี้ยวเล็กน้อย สรรพคุณ แก้โทษจากน้ำดี (ดีฝ่อและดีกระตุก) แก้ไข้สันนิบาต แก้น้ำลายเหนียว กัดฟอกเสมหะ กระทุ้งพิษ ดับพิษร้อนภายใน ขนของผลมะอึกมาทอดกับไข่ให้เด็กรับประทานเพื่อขับพยาธิได้

ประโยชน์ทางอาหาร: ผลอ่อน ผลแก่และสุกเต็มที่ใช้รับประทานเป็นผักได้ ต้นมะอึกจะให้ผลในช่วงกลาง และปลายฤดูฝน

ประโยชน์ต่อสุขภาพ : ผลมะอึก มีรสเปรี้ยว เย็นมรสขื่นเล็กน้อยผลสุกจะมีรสเปรี้ยวจัด สรรพคุณ แก้สดุ้งผวาดีฝ่อ ผลมะอึก 100กรัมให้พลังงานต่อร่างกาย 53 กิโลแคลอรี่ ประกอบด้วย เส้นใย3.6 กรัม แคลเซียม 26 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 41 มิลลิกรัม เหล็ก 0.8 มิลลิกรัม วิตามินบีหนึ่ง 0.07 มิลลิกรัม วิตามินบีสอง 0.05 มิลลิกรัม ไนอาซิน 4.9 มิลลิกรัม วิตามินซี 3 มิลลิกรัม

การปรุงอาหาร: คนไทยทุกภาครับประทานผลมะอึกเป็นผักและเครื่องปรุงรส ผลอ่อน ผลแก่หรือผลสุกสามารถรับประทานสดกับน้ำพริกได้ ผลสุกของมะอึกมีรสเปรี้ยวจัด นิยมนำมาใส่น้ำพริกโดยนำผลมะอึกที่มีสีเหลืองมาขูดหรือใช้ผ้าถูขนอ่อนให้ออกหมดเสียก่อน ล้างน้ำให้สะอาดและฝานเป็นแว่นบางๆขลกรวมกับน้ำพริกอกจากนี้ชาวเหนือและชาวอีสานยังนำผลมะอึกไ ปปรุงกับอาหารประเภทแกงส้ม ส้มตำและชาวใต้ยังนิยมนำผลมะอึกมาใส่แกงเนื้อ แกงปลาย่างอีกด้วย

 
 ตับเต่านา


ชื่อสามัญ :Frog bit

ชื่อวิทยาศาสตร์ :Hydrocharis dubia (Bl.) Back

ชื่อวงศ์ :HYDROCHARITACEAE

ลักษณะทั่วไปเป็นพืชลอยน้ำอายุหลายฤดู ถ้าน้ำตื้นก็จะหยั่งรากลงยึดพื้นดิน ชอบขึ้นในน้ำนิ่งทั่วไป เช่นในนาข้าว ลำต้นเป็นไหลเรียวยาว ใบเป็นใบเดี่ยวรูปร่างกลม ฐานใบเว้าเป็นรูปหัวใจ ขอบใบเรียบ แตกที่ข้อของลำต้นเป็นกลุ่มชูขึ้นเหนือน้ำ มีรากเกิดเป็นกระจุกทางด้านล่างของกลุ่มใบ ใบด้านบนสีเขียวเข้มเป็นมัน ใบด้านล่างสีจางกว่าและกลางใบจะพองออกคล้ายฟองน้ำ ช่วยพยุงลำต้น ดอกเป็นดอกเดี่ยวสีขาว มี 3 กลีบ เกิดตามซอกใบ มีก้านชูดอกเรียวยาว

ประโยชน์ต้นอ่อนใช้รับประทานเป็นผัก
                 ทางยา แก้ลม แก้เสมหะ บำรุงธาตุไฟให้บริบูรณ์


ดอกดิน


สรัสจันทร : Sarat chanthon

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Burmannia coelestris D.Don

ชื่อสามัญ : Broomrape

ชื่อวงศ์ : Burmanniaceae

ชื่ออื่น : ดอกดิน กล้วยมือนาง หญ้าหนวดเสือ

ลักษณะ : ไม้ล้มลุกขนาดเล็ก สูง 10-30 ซม. พบบริเวณทุ่งหญ้าเปิด ตามริมหนองน้ำของป่าพรุ ลำต้นเล็กเรียวบอบบาง ใบเป็นใบเดี่ยว สีเขียวซีด ยาวประมาณ 1-1.5 ซม. ออกเป็นกระจุกที่โคนต้นตามข้อส่วนบนของลำต้น มีใบเกล็ด 2-3 ใบ ดอกมี 2-3 ดอก ที่ส่วนปลายยอดของลำต้นมีสีชมพูจนถึงสีม่วงอ่อนอมฟ้า ปลายกลีบดอกสีเหลืองหรือสีครีม ผลเป็นผลแห้ง ไม่แตกเมื่อแก่
ดอกดิน (เป็นสีแต่งอาหาร)

ประโยชน์ : อาหาร ดอก ก้านดอก ใช้นึ่งเป็นผักจิ้ม ดอกสดใช้แต่งสีอาหาร สีเป็นพวก aucubin ใช้ทำขนมดอกดิน สีของขนมที่ได้มีสีน้ำเงินเข้มเกือบดำ หรือแต่งสีหน้าข้าวเหนียว ให้ได้สีม่วงดำเรียกว่า หม่าข้าว 
                 ทางยา ทั้งต้นและดอกทำยาชงแก้เบาหวาน 

 


 

 


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น