นรารัตน์

วันพุธที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2555

ผักและสมุนไพรพื้นเมืองภาคใต้



ผักและสมุนไพรพื้นเมืองภาคใต้


กระเจี๊ยบมอญ (Abelmoschus esculemtus Moench)


ชื่ออื่น กระเจี๊๊ยบขาว กระเจี๊ยบ มะเขือมอญ มะเขือทะวาย (ภาคกลาง) มะเขือพม่า มะเขือมื่น มะเขือละโว้ (ภาคเหนือ)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ต้น เป็นไม้ล้มลุก สูง 1-2 เมตร ลำต้นมีขนหยาบ


ใบ ใบเดี่ยวขนาดใหญ่ รูปฝ่ามือ มีขนคลุม


ดอก สีเหลือง ดอกเดี่ยวออกที่ซอกใบ กลีบดอกสีเหลือง โคนกลีบดอกด้านในสีม่วงแดง


ผล กลมยาว โคนตรงปลายแหลม เป็นจีบ มีขนรอบ ผลเมื่อแก่จะแตกออกเห็น เมล็ดกลม สีดำ



ลักษณะ : ไม้ล้มลุก สูง 0.5-2 ม. มีขนทั่วไป ใบเดี่ยว เรียงสลับรูปไข่หรือค่อนข้างกลม กว้าง 10-30 ซม. ปลายหยักแหลม โคนเว้ารูปหัวใจ เส้นใบออกจากโคนใบ 3-7 เส้น ดอกใหญ่ ออกเดี่ยวๆ ตามง่ามใบ มีริ้วประดับ (epicalyx) เป็นเส้นสีเขียว 8-10 เส้น เรียงเป็นวงรอบโคนกลีบเลี้ยง กลีบเลี้ยง 5 กลีบ กลีบดอก 5 กลีบ สีเหลือง โคนกลีบสีม่วงแดง รูปไข่กลับหรือค่อนข้างกลม เกสรเพศผู้มีจำนวนมาก ก้านชูอับเรณูติดกันเป็นหลอดยาว 2-3 ซม. หุ้มเกสรเพศเมียไว้ อับเรณูเล็กจำนวนมากติดรอบหลอด ก้านเกสรเพศเมียเรียวยาว ปลายแยกเป็น 5 แฉก ยอดเกสรเพศเมียเป็นแผ่นกลมขนาดเล็ก สีม่วงแดง ยื่นพ้นปากหลอดดอก ผลเป็นฝักห้าเหลี่ยม ปลายเรียวแหลม มีขนทั่วไป มีเมล็ดมาก เมล็ดรูปไต ขนาด 3-6 มม.


การขยายพันธุ์ เมล็ด

ฤดูกาลเก็บส่วนขยายพันธุ์ ตุลาคม-พฤศจิกายน

สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมในการเจริญเติบโต ปลูกได้ในเขตร้อนทั่วไป

การใช้ประโยชน์

ทางอาหาร ผลอ่อน ต้มจิ้มน้ำพริก ผสมในแกงส้ม


ทางยา ผล บดเป็นผง ชงน้ำร้อน หรือปั้นเมล็ดรับประทานรักษาแผลในกระเพาะอาหาร

ฤดูกาลที่ใช้ประโยชน์ ตุลาคม-พฤศจิกายน



ดาหลา (Nicolaid elatior Horan)




ชื่ออื่น กาหลา (ภาคใต้,ภาคเหนือ) จินตะหรา (กระบี่) กะลา (ภาคกลาง)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ต้น เป็นพืชตระกูลเดียวกับขิงแต่สูงกว่า สูงประมาณ 2.5-3 เมตร ไม้ล้มลุกเหมือนขิง มีลำต้นเป็นเง้าอยู่ใต้ดิน ลำต้นบนดินเป็นกาล

ใบ มีรูปหอก ปลายใบแหลม ใบกว้างประมาณ 6 นิ้ว ยาว 10-14 นิ้ว ใบมีสีเขียวเข้ม

ดอก แทงก้านออกจากหน่อใต้ดิน ก้านดอกเป็นปล้องคล้ายไผ่สีเขียว สูงประมาณ 80-120 ซม. ดอกสีแดงอมชมพู มีกลีบซ้อนกันหลายชั้น โคนกลีบเป็นสีแดง และส่วนปลายของขอบกลีบเป็นสีขาว กลีบลดขนาดเล็กลงในวงชั้นใน ปลายกลีบที่แบะออก มีจงอยแหลม ส่วนใต้ขอบกลีบมีสีขาว กลีบดอกเรียบเป้นมันไม่มีกลิ่น

การขยายพันธุ์ แยกหน่อ

ฤดูกาลเก็บส่วนขยายพันธุ์ ตลอดทั้งปี

สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมในการเจริญเติบโต พบทางภาคใต้โดยเฉพาะเทือกเขาบูโด ในเขตจังหวัดนราธิวาส ชอบที่ชื้นและมีร่มเงา

การใช้ประโยชน์

ทางอาหาร ดอกตูม หน่ออ่อน ต้มจิ้มน้ำพริก แกงเผ็ด แกงกะทิ แกงคั่ว ผสมในข้าวยำ หรือใช้ยำมีรสชาดเผ็ดร้อน

ทางยา แก้โรคผิวหนัง แก้ลมพิษ ขับลม การใช้สอยอื่น เป็นไม้ประดับ

ฤดูกาลที่ใช้ประโยชน์ พฤษภาคม - สิงหาคม

 ลักษณะทั่วไป  : ไม้ล้มลุกอายุหลายปี มีเหง้าใต้ดิน ใบเดี่ยวขนาดใหญ่  รูปขอบขนาน  ปลายแหลมก้านใบยาว  ดอกออกเป็นช่อแทงก้านดอกจากเหง้าใต้ดิน กลีบประดับ
ช้อนกันหลายชั้น ลดขนาดเล็กลงในวงชั้นใน สีชมพูถึงแดงเข้ม ออกดอกตลอดปี
ต้น :  เป็นพืชที่มีลักษณะคล้ายข่า  มีลำต้นใต้ดินเรียกว่าเหง้า  เหง้านี้จะเป็นบริเวณที่เกิดของหน่อดอกและหน่อต้น  ตาหลา 1 ต้น สามารถให้หน่อใหม่ได้ประมาณ 7 หน่อ
ในเวลา 1 ปี ส่วนลำต้นเหนือดินเป็นกาบใบที่โอบช้อนกันแน่น  เช่นเดียวกับพวกกล้วย  ส่วนนี้คือลำต้นเทียม  ลำต้นเหนือดินสูง 2-3 เมตร มีสีเขียวเข้ม
ใบ : มีรูปร่างยาวรี  กลางใบกว้างและค่อย ๆ เรียวไปหาปลายใบ และฐานใบไม่มีก้าน ใบผิวเกลี้ยงทั้งด้านบนและด้านล่าง ใบยาว 30 - 80 เซนติเมตร กว้าง 10 - 15
เซนติเมตร  ปลายใบแหลม ฐานใบเรียว  ลาดเข้าหาก้านใบ เส้นกลางใบปรากฏชัดทางด้านล่างของใบ
ดอก : ดอกดาหลาเป็นดอกช่อมีลักษณะดอกแบบ head ประกอบด้วยกลีบประดับ มี 2 ขนาด ส่วนโคนประกอบด้วยกลีบประดับขนาดใหญ่มีความกว้าง 2-3 เซนติเมตร
จะมีสีแดงขลิบขาวเรียวซ้อนกันอยู่ และจะบานออก ประมาณ 25 -30 กลีบ  กลีบประดับเล็กนี้จะหุบเล็กเรียงเป็นระดับมีประมาณ 300 - 330 กลีบ
ประโยชน์ : เป็นไม้ดอกไม้ประดับ รับประทานได้ มีรสเผ็ดร้อน ช่วยขับลม แก้ลมพิษ แก้โรคผิวหนัง
การกระจายพันธุ์:  เอเชียตะวันออกเฉียงใต้หมู่เกาะแปซิฟิก  ขยายพันธุ์โดยการแตกหน่อ


ตะลิงปลิง (Averrhoa bilimbi Linn)



ชื่ออื่น บลีมิง (มาเลย์-นราธิวาส) หลิงปลิง มะเฟืองตรน (ภาคใต้) กะลิงปิง ปลีมิง ลิงปลิง (ระนอง)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ต้น เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก สูงประมาณ 5 เมตร แตกกิ่งก้านสาขามาก เปราะหักง่าย เปลือกต้นมีสีชมพู ผิวเรียบมีขนนุ่มปกคลุมตามกิ่ง

ใบ ใบประกอบแบบขนนก ใบย่อยรูปหอก ปลายแหลม โคนมน จะเรียงจากขนาดเล็กไปหาขนาดใหญ่ ที่โคนนั้นจะมีขนาดเล็ก

ดอก ออกดอกเป็นช่อหลายช่อตามลำต้น หรือกิ่ง ดอกมี 5 กลีบ สีแดงเข้ม กลีบเลี้ยงมี 5 กลีบ เช่นกัน สีเขียวอมชมพู ดอกมีกลิ่นหอม เกสรกลางดอกเป็นสีเขียวอ่อน

ผล กลมยาวปลายมน เป็นพูตามยาว ผิวเรียบสีเขียว เมื่อสุกเป็นสีเหลือง เนื้อเหลว ออกเป็นช่อห้อย รสเปรี้ยว เมล็ดแบน

การขยายพันธุ์ แยกต้นปักชำ

ฤดูกาลเก็บส่วนขยายพันธุ์ -

สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมในการเจริญเติบโต พบตามป่าดิบชื้นปัจจุบันนิยมปลูกเพื่อนำมาปรุงเป็นอาหาร

การใช้ประโยชน์

ทางอาหาร ผล เนื้อผลประกอบเป็นเครื่องปรุงอาหารเพิ่มรสชาดให้เปรี้ยว และนิยมบริโภคสดเป็นผลไม้ และแปรรูปเป็นผลไม้แช่ิอิ่ม

ทางยา ใบ รักษาโรคผิวหนัง ขับพยาธิ ขับเสมหะ ต้น ใช้ต้นอ่อนเป็นยาระบาย

ฤดูกาลที่ใช้ประโยชน์ ตุลาคม - มกราคม

ข้อควรระวัง ห้ามบริโภคเกินขนาดจะทำให้อาเจียนได้



ผักเหนาะ (Centella asiatica Urban)




ชื่ออื่น ผักหนอก ผักแว่น (ใต้)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ต้น เป็นไม้ล้มลุก ทอดเลื้อยไปตามดินที่แฉะขึ้นง่าย มีรากออกตามข้อชูใบ ตั้งตรงขึ้นมา

ใบ เป็นใบเดี่ยว มีก้านชูใบยาว ลักษณะใบเป็นรูปไต มีรอยเว้าลึกที่ฐานใบ ขอบใบมีรอยหยักจะเป็นสามเหลี่ยม

ดอก ดอกเป็นดอกช่อคล้ายร่มออกจากข้อมี 2-3 ข้อ ช่อละ 3-4 ดอก แต่ละดอกมีกลีบดอก 5 กลีบ สีม่วงอมแดงโดยเรียงสลับกับเกสรตัวผู้

ผล เล็กมากสีดำ แช่น้ำไม่ตาย ทนน้ำขัง

การขยายพันธุ์ ปักชำไหล

ฤดูกาลเก็บส่วนขยายพันธุ์ ทุกฤดู

สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมในการเจริญเติบโต พบขึ้นทั่วไปตามที่ลุ่มชื้นแฉะตามคันนาริมหนองน้ำ

การใช้ประโยชน์

ทางอาหาร ทั้งต้นกินเป็นผักสด หรือลวกกินกับขนมจีน น้ำพริก นำมาเป็นผักเหนาะกินกับแกง

ทางยา ทั้งต้น นำมาต้มน้ำดื่ม แก้ฟกช้ำได้ลดการอักเสบได้ดี ทำครีมทาผิวหนังแก้อักเสบ เป็นเครื่องดื่ม แก้ร้อนใน การใช้สอยอื่น เป็นไม้ประดับ

ฤดูกาลที่ใช้ประโยชน์ ตลอดปี


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น