นรารัตน์

วันพุธที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2555

อาหารสมุนไพร




อาหารสมุนไพร

แกงส้มดอกแค



” แกงส้มดอกแค แก้ไข้หัวลม ” มักจะเป็นคำพูดติดปากที่ได้ยินคุ้นหูกันมาตั้งแต่สมัยโบราณ ซึ่งจริง ๆ แล้วแกงส้มนั้นสามารถใช้ผักต่าง ๆ ได้หลากหลายชนิด เช่น แกงส้มผักกระเฉด แกงส้มผักบุ้ง แกงส้มถั่วฝักยาว เป็นต้น และแกงส้มยังมีคุณค่าด้านเป็นยาปรับสมดุลของร่างกายได้ตามหลักของการแพทย์แผนไทย

เครื่องปรุงในการทำ
ดอกแค 2 ถ้วย
กุ้งก้ามกราม 3 ตัว หรือปลาช่อนตัวเล็ก 1 ตัว
น้ำมะขามเปียก 2 ช้อนโต๊ะ
น้ำ 3 ถ้วย

วิธีทำเครื่องแก แกงส้มดอกแค
พริกแห้งเม็ดใหญ่แกะเมล็ดออกแช่น้ำ 5 เม็ด
หอมแดงซอย 3 หัว
กระเทียม 2 หัว
ตะไคร้ซอย 3 หัว
เกลือป่น/กะปิ 1 ช้อนชาวิธีทำ แกงส้มดอกแค
โขลกพริกแห้ง เกลือ ตะไคร้ให้ละเอียด ใส่กระเทียม หอมแดง กะปิ โขลกเข้ากันให้ละเอียด
ดอกแค เด็ดเกสรออก ล้างให้สะอาดใส่ตะแกรงพักให้สะเด็ดน้ำ
ล้างกุ้ง ตัดกรีออก แกะเปลือกที่ตัวกุ้งออกจนถึงเปลือกข้อสุดท้าย ไว้หางผ่าหลัง ดึงเส้นดำออกหรือล้างปลาตัดเป็นท่อนเล็กๆ
ต้มน้ำให้เดือด ใส่กุ้งหรือปลาพอสุกใส่เครื่องแกงที่เตรียมไว้ คนพอให้ทั่ว ใส่น้ำปลา น้ำมะขามเปียก น้ำมะนาว คนพอให้ทั่ว ใส่น้ำปลา น้ำมะขามเปียก น้ำมะนาว คนให้ทั่วชิมรส พอเดือดใส่ดอกแค ยกลงตัดใส่ชามพร้อมเสิร์ฟ

สรรพคุณทางยา

น้ำพริกแกงส้ม รสเผ็ดร้อน ช่วยขับลม ช่วยย่อยอาหาร
ดอกแค รสหวานออกขมเล็กน้อย แก้ไข้หัวลม
มะขามเปียก รสเปรี้ยว ขับเสมหะ แก้ท้องผูก แก้ไอ ลดความร้อนในร่างกาย
มะนาว เปลือกผลรสขมช่วยขับลม น้ำในลูกรสเปรี้ยว แก้เสมหะ แก้ไอ แก้เลือดออกตามไรฟัน ฟอกโลหิต
ประโยชน์ทางอาหาร
แกงส้มดอกแคแก้ไข้หัวลม มีประโยชน์และคุณค่ามากมาย เช่น รสเปรี้ยวของแกงส้มบำรุงธาตุน้ำ รสเผ็ดของน้ำแกงบำรุงธาตุลม ดอกแคมีก้านเกสร รสขม แก้ไข้ ซึ่งการที่จะมุ่งประโยชน์ในการปรับธาตุใดนั้นให้ปรุงรสเน้นไปตามธาตุนั้น

คุณค่าทางโภชนาการ

แกงส้มดอกแค 1 ชุด ให้พลังงานต่อร่างกาย 58 กิโลแคลอรี่ ประกอบด้วย
น้ำ 501.4 กรัม
โปรตีน 111.9 กรัม
ไขมัน 22 กรัม
คาร์โบไฮเดรต 7.3 กรัม
กาก 7.1 กรัม
ใยอาหาร1.1 กรัม
เถ้า 16.8 กรัม
แคลเซียม 435.3 มิลลิกรัม
ฟอสฟอรัส 1,634.7 มิลลิกรัม
เหล็ก 49.2 มิลลิกรัม
วิตามินเอ 1207.7 IU
วิตามินบีหนึ่ง 0.58 มิลลิกรัม
วิตามินบีสอง 1.37 มิลลิกรัม
ไนอาซิน 17.16 มิลลิกรัม
วิตามินซี 30.85 มิลลิกรัม
  




เมี่ยงคำ




เมี่ยงคำเป็นอาหารที่คนภาคกลางนิยมรับประทานเป็นอาหารว่าง ในช่วงฤดูฝน เนื่องจากเป็นช่วงที่ต้นชะพลูออกใบและยอดอ่อนมากที่สุดและรสชาติดีแต่จริงๆ แล้วเมี่ยงคำสามารถรับประทานเป็นอาหารว่างได้ตลอดทั้งปี แล้วแต่ว่าจะมุ่งรับประทานเพื่อความอร่อยหรือจะรับประทานเพื่อการดูแลสุขภาพ (การปรับสมดุลธาตุในร่างกาย)


 วัตุดิบในการทำเมี่ยงคำ

ใบชะพลู หรือใบทองหลาง
มะพร้าวหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ คั่ว
หอมแดงหั่นเป็นชิ้นลูกเต๋า
ขิงหั่นสี่เหลี่ยมลูกเต๋า
มะนาวหั่นทั้งเปลือกเป็นสี่เหลี่ยมลูกเต๋า
พริกขี้หนูซอย
ถั่วลิสงคั่ว
กุ้งแห้ง (เลือกที่เป็นชนิดจืด)
น้ำราดเมี่ยงคำ

น้ำตาลปี๊บ 1 ถ้วย
กะปิ (เผาเพื่อเพิ่มความหอม)
น้ำปลาอย่างดี 1 ถ้วย
ข่าหั่นละอียด 1 ช้อนโต๊ะ
ตะไคร้หั่นฝอย 1 ช้อนโต๊ะ
กุ้งแห้งโขลกละเอียด 1/4 ถ้วย

ขั้นตอนการทำ

คั่วมะพร้าว ในกระทะโดยใช้ไฟอ่อน จนได้มะพร้าวคั่วที่กรอบหอม
ทำน้ำราดเมี่ยงคำ โดยเริ่มจาก ตำโขลก ตะไคร้ ข่า หอมแดงเข้า และกะปิเข้าด้วยกันให้ละเอียด เคี่ยวจนน้ำราดเมี่ยงคำเริ่มเหนียว ยกลงแล้วใส่กุ้งแห้งคั่ว
เคี่ยวน้ำตาลปี๊บด้วยไฟปานกลาง และเติมน้ำปลาลงไป
ใส่เครื่องที่โขลกไว้ลงไป คนให้เข้ากัน
อาจเสริ์ฟเป็นคำๆ โดย ห่อเครื่องต่างๆ ด้วยใบชะพลู หรือใบทองหลาง แล้วเสียบไม้จิ้มฟันเป็นคำไว้ แล้วตักน้ำราดเมี่ยงคำใส่ถ้วยแยกไว้ต่างหาก
วิธีการจัดรับประทาน
ให้จัดใบชะพลูหรือใบทองหลางใส่จานวางเครื่องปรุงอย่างละน้อยลงบนใบชะพลู หรือใบทองหลางที่จัดเรียงไว้ตักน้ำเมี่ยงหยอดห่อเป็นคำๆ รับประทาน

สรรพคุณทางยา

มะพร้าว รสมันหวาน บำรุงกำลัง บำรุงเส้นเอ็น ใช้รักษาโรคกระดูก
ถั่วลิสง รสมัน บำรุงเส้นเอ็น บำรุงธาตุดิน
หอมแดง รสเผ็ดร้อน แก้ไข้เพื่อเสมหะ บำรุงธาตุ แก้ไข้หวัด
ขิง รสหวาน เผ็ดร้อน แก้จุดเสียด แก้เสมหะ บำรุงธาตุ แก้คลื่นเหียนอาเจียน
มะนาว เปลือกผล รสขม ช่วยขับลม น้ำมะนาวรสเปรี้ยว ขับเสมหะ แก้ไอ แก้เลือดออกตามไรฟัน ฟอกโลหิต
พริกขี้หนู รสเผ็ดร้อน ช่วยเจริญอาหาร ขับลม ช่วยย่อย
ใบชะพลู รสเผ็ดเล็กน้อย แก้ธาตุพิการ ขับลม
ใบทองหลาง ขับพยาธิไส้เดือน แก้ตาแดง ตาแฉะ ตับพิษ
ข่า รสเผ็ดปร่าและร้อน ช่วยขับลม ขับพิษโลหิตร้ายในมดลูก ขับลมในลำไส้
ตะไคร้ แก้ปวดท้อง ขับปัสสาวะ บำรุงธาตุ ช่วยเจริญอาหาร และขับเหงื่อ
ประโยชน์ทางอาหาร
เมี่ยงคำเป็นอาหาร ช่วยบำรุงธาตุ ปรับธาตุชั้นหนึ่งในเครื่องเมียงคำที่ประกอบด้วยใบชะพลู มะนาว บำรุงธาตุน้ำ พริก หอม บำรุงธาตุลม ขิงและเปลือกมะนาว บำรุงธาตุไฟ มะพร้าว ถั่วลิสง น้ำตาล กุ้งแห้ง บำรุงธาตุดิน เมื่อทำเมี่ยงคำเป็นอาหารว่าง ผู้รับประทานสามารถปรุงตามสัดส่วนที่สอดคล้องกับธาตุเจ้าเรือนของตนได้ หรือปรุงสัดส่วนตามอาการที่ไม่สบายได้อย่างเหมาะสม

คุณค่าทางโภชนาการ


เมี่ยงคำ 1 ชุด ให้พลังงานต่อร่างกาย 659 กิโลแคลอรี ประกอบด้วย


โปรตีน 114 กรัม
ไขมัน 88.6 กรัม
คาร์โบไฮเดรต 370.7 กรัม
กาก 9.6 กรัม
ใยอาหาร 13.4 กรัม
เถ้า 6.4 กรัม
แคลเซียม 1032 มิลลิกรัม
ฟอสฟอรัส 1679.1 มิลลิกรัม
เหล็ก 51.1 มิลลิกรัม
วิตามินเอ 4973.7 IU
วิตามินบีหนึ่ง 140.2 มิลลิกรัม
วิตามินบีสอง 1.7 มิลลิกรัม
ไนอาซิน 35.2 มิลลิกรัม
วิตามินซี 186.4 มิลลิกรัม





สะเดา-น้ำปลาหวาน-ปลาดุกย่าง


สะเดาเป็นผักพื้นบ้านที่มีรสขม ซึ่งคนไทยนิยมรับประทานเป็นผักตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนต้น คนไทยชอบรับประทานดอกสะเดาในช่วงต้นของฤดูหนาว เนื่องจากเชื่อว่า การกินสะเดาก่อนที่จะเป็นไข้ป้องกันได้ แต่ถ้ากินเมื่อเป็นแล้ว สามารถรักษาให้หายได้ (แต่ต้องเป็นไข้ที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของ อุตุสมุฎฐานที่ร่างกายปรับไม่ทัน) จะทำให้มีอาการครั่นเนื้อครั่นตัว น้ำมูกใส คนโบราณเรียกว่า ?ไข้หัวลม ?การรับประทานสะเดานั้นคนภาคกลางนิยมรับประทานกับน้ำปลาหวานและปลาดุกย่าง เนื่องจากรสหวานของน้ำปลาหวานจะช่วยกลบรสขมของสะเดาได้ จึงทำให้รู้สึกรสชาติกลมกล่อม(อร่อย) เจริญอาหารยิ่งขึ้น

เครื่องปรุง

น้ำตาลปีบ2 ถ้วย (200 กรัม)
น้ำมะขามเปียกข้น ๆ? ถ้วย (80 กรัม)
น้ำปลา? ถ้วย (80 กรัม)
หอมแดงเจียว? ถ้วย (50 กรัม)
กระเทียมเจียว? ถ้วย (50 กรัม)
พริกขี้หนูแห้งหั่นบางๆทอดกรอบ? ถ้วย (50 กรัม)
ดอกสะเดาอ่อน5-10 กำ (500 กรัม)
ปลาดุกอุย? ตัว (400 กรัม)
น้ำมันพืชสำหรับทา1-2 ช้อนโต๊ะ (30 กรัม)

วิธีทำ
น้ำเครื่องปรุงน้ำปลาหวาน
1. ล้างสะเดาให้สะอาด อย่าให้ช้ำ ต้มน้ำให้เดือดเทใส่ภาชนะที่ใส่สะเดาไว้ให้ท่วม ปิดฝา
2. ผสมน้ำตาล น้ำมะขาม น้ำปลา เข้าด้วยกัน ตั้งไฟกลางค่อนข้างเคี่ยวจนเหนียวพอเคลือบพายติด ยกลง
3. ตักใส่ถ้วย โรยหน้าด้วยหอมแดง กระเทียม พริกเสิร์ฟพร้อมสะเดา และปลาดุกย่าง

เครื่องปรุงปลาดุกย่าง
1. ล้างปลาให้สะอาด ผ่าท้อง ควักไส้ออก ล้างให้สะอาด บั้งปลาเฉียงๆ ทั้งสองด้าน
2. นำปลาขึ้นย่างบนตะแกรงที่ทาน้ำมันไว้แล้ว หรือจะทาที่ตัวปลาก็ได้ ย่างไฟกลาง จนสุกเหลืองทั้งสองด้าน

วิธีการลวกสะเดา
ให้นำดอกสะเดาลวกในน้ำเดือด หรืออาจใช้วิธีต้มลงในน้ำเดือดหรือน้ำข้าวร้อนๆ เพื่อลดความขมลงก็ได้ มรกรณีที่ดอกสะเดาออกมาก รับประทานไม่ทัน ชาวบ้านจะมีวิธีเก็บสะเดาไว้รับประทานนานๆ (การถนอมอาหาร) โดยการเก็บดอกสะเดามาลวก 1 ครั้ง แล้วนำไปตากแดดจนแห้งสนิท เก็บไว้ในที่สะอาดและโปร่ง เมื่อต้องการจะรับประทานก็นำดอกสะเดาแห้งมาลวกน้ำร้อนอีกครั้งหนึ่งก็จะได้สะเดาที่มีรสจืด (ไม่ขมหรือขมน้อย) ลักษณะเช่นเดียวกับสะเดาสดทุกประการ

สรรพคุณทางยา
1. ดอกสะเดา รสขมจัด ช่วยเจริญอาหาร บำรุงธาตุ แก้ไข้หัวลม
2. น้ำมะขามเปียก รสเปรี้ยว แก้ไอ ขับเสมหะ เป็นยาระบายแก้ท้องผูก
3. หอมแดง รสเผ็ดร้อน แก้ไข้เพื่อเสมหะ บำรุงธาตุ แก้ไข้หวัด
4. กระเทียม รสเผ็ดร้อน ขับลมในลำไส้ แก้ไอ ขับเสมหะ ช่วยย่อยอาหาร แก้โรคทางผิวหนัง น้ำมันกระเทียมมีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญของเชื้อรา แบคทีเรีย และไวรัส ลดน้ำตาลในเลือด ลดไขมันในหลอดเลือด
5. พริกขี้หนูแห้ง รสเผ็ด ช่วยเจริญอาหาร ขับลม ช่วยย่อย

ประโยชน์ทางอาหาร
สะเดา-น้ำปลาหวาน-ปลาดุกย่าง นิยมใช้เป็นผักในช่วยฤดูหนาว โดยการนำมาลวกกับน้ำร้อน รับประทานกับน้ำปลาหวานและปลาดุกย่าง เพื่อช่วยบรรเทาความร้อนและเจริญอาหาร พร้อมๆ กับการป้องกันการเกิดไข้หัวลมในช่วงที่ธาตุน้ำกระทบธาตุไฟในต้นฤดูร้อน สะเดารสขมจึงบำรุงธาตุไฟและธาตุน้ำเป็นอย่างดี ปรับธาตุทั้งสองเป็นลำดับใครรู้สึกว่าธาตุใดแปรปวนก็แต่งรสให้สอดคล้องตามธาตุของตัวเอง บางครั้งมีปลาเผา ปลาดุดย่าง รับประทานร่วมด้วยก็ยิ่งเสริมธาตุดินมากยิ่งขึ้น

คุณค่าทางโภชนากา
สะเดา-น้ำปลาหวาน-ปลาดุกย่าง 1 ชุด ให้พลังงานต่อร่างกาย 1938 กิโลแคลอรี ประกอบด้วย


- น้ำ 96 กรัม
- โปรตีน 27.8 กรัม
- ไขมัน 16.1 กรัม
- คาร์โบไฮเดรต 331.3 กรัม
- กาก 24.6 กรัม
- ใยอาหาร 8 กรัม
- เถ้า 2.5 กรัม
- แคลเซียม 2038.2 มิลลิกรัม
- ฟอสฟอรัส 751.7 มิลลิกรัม
- เหล็ก 72.5 กรัม
- เรตินอล 2.2 ไมโครกรัม
- เบต้า-แคโรทีน 18055 ไมโครกรัม
- วิตามินเอ 25388 IU
- วิตามินบีหนึ่ง 139.34 มิลลิกรัม
- วิตามินบีสอง 1.2 มิลลิกรัม
- ไนอาซิน 24.85 มิลลิกรัม
- วิตามินซี 984.40 มิลลิกรัม






แกงเลียง


อาหารที่มีรสชาติเฉพาะตัวอร่อยเผ็ดร้อนพริกไทย หอมกลิ่นสมุนไพรจากพืชผักหลากหลายชนิด มีประโยชน์ในการขับพิษ ไข้เป็นอย่างดี

แกงเลียง เป็นแกงที่ประกอบด้วยน้ำพริก ผัก เนื้อสัตว์ น้ำแกงและเครื่องปรุงรส น้ำพริกแกงเลียงจะแปลกกว่าน้ำพริกแกงชนิดอื่นๆ เพราะมีพริกไทย หัวหอม กะปิ กุ้งแห้ง ปลาย่างหรือปลากรอบ น้ำแกงมีลักษณะข้น ผักที่นิยมใส่ที่สามารถบอกลักษณะว่าเป็น

แกงเลียง คือ ใบแมงลักมีกลิ่นหอม่ารับประทาน นอกจากนั้นยังมีผักเช่น ตำลึง ฟักทอง ข้าวโพดอ่อน หัวปลี บวบ ผักหวาน ฯลฯ เนื้อสัตว์ ได้แก่ กุ้งสด เนื้อไก่ ฯลฯ ปรุงรสด้วยน้ำปลาหรือเกลือ อิ้อฮือ! แค่นึกถึงภาพก็น้ำลายไหลซะแล้ว แต่ก่อนอื่นเราไปรู้จักวิธีการทำ “แกงเลียง” ดีกว่าค่ะ

เครื่องปรุง

ฟักทองเนื้อดี หันชิ้นพอคำ จำนวน 10 – 12 ชิ้น
บวบเหลี่ยม (หักชิมดูเสียก่อนว่าไม่ขม) ประมาณ 1 ลูก ขนาดพอดีปอกเปลือกออกจนเกลี้ยงเกลา ให้เหลือเปลือกไว้บ้าง เพื่อรักษาคุณค่าทางอาหาร หั่นเป็นชิ้นขนาด 12 – 15 ชิ้น
ข้าวโพดอ่อนหั่นแฉลบ 4 ฝัก
กระชาย 2 หัว ทุบเบาๆแล้วหั่นเป็นท่อนยาวประมาณ 1 นิ้ว
ตำลึงยอดงามๆสัก 10 ยอดเด็ดเอาแต่ใบอ่อนๆ
ใบแมงลัก 3 – 4 กิ่ง เด็ดเอาแต่ใบหรือยอดดอกอ่อนๆ
กุ้งแม่น้ำหรือกุ้งชีแฮ้ 6 – 7 ตัว ปอกเปลือกเอาเส้นดำออก
น้ำซุป(จากการต้มซี่โครงหมูหรือโครงไก่) 4 ถ้วยตวง
น้ำปลาดี 2 ช้อนโต๊ะ
ถ้าชอบเผ็ดเพิ่มพริกขี้หนูสดอีก5 – 6 เม็ด บุบพอแตก

เครื่องปรุงพริกแกง

พริกชี้ฟ้าแดงผ่าเอาเมล็ดออก 2 เม็ด
กระชาย 4 หัว
หอมแดงหัวขนาดกลาง 5 หัว
พริกไทยขาว 12 เม็ด
กะปิเผาไฟพอสุก 2 ขีดครึ่ง
กุ้งแห้ง 2 ขีดครึ่ง

วิธีทำ

นำเครื่องปรุงพริกแกงโขลกให้ละเอียด ถ้าชอบให้น้ำแกงข้นอีกนิดก็ใช้เนื้อปลา จะย่างหรือต้มสุกก็ได้แล้วนำมาโขลกรวมกับพริกแกง
นำน้ำซุปตั้งไฟพอเดือด ใส่เครื่องแกงลงไป ปรุงรสด้วยน้ำปลา ชิมให้ได้รสเค็มและเผ็ดนิดๆพอน้ำแกงเดือดอีกทีใส่ผักชนิดที่สุกยากลงก่อน เช่น ฟักทอง ข้าวโพดอ่อน ตามด้วยกุ้งสดรอจนแน่ใจว่าผักสุกดีแล้วจึงใส่ใบตำลึง
ใส่ใบแมงลักเป็้นรายการสุดท้ายแล้วคนให้เข้ากัน ตักเสิร์ฟขณะร้อนได้รสชาติดี

สรรพคุณทางยา

พริกไทย รสเผ็ดร้อน ขับลม ขับเหงื่อ ช่วยเจริญอาหาร
หอมแดง รสเผ็ดร้อน แก้ไข้เพื่อเสมหะ บำรุงธาตุ แก้ไข้หวัด
ผักต่าง ๆ เช่น ฟักทอง รสมันหวาน บำรุงร่างกาย บำรุงสายตา
บวบ รสเย็นจืดออกหวาน มีแคลเซียม เหล็กและฟอสฟอรัสมาก
น้ำเต้า
- ผลอ่อน ใช้ปรุงอาหาร
- เมล็ด ประเทศจีนนำมาต้มกับเกลือกินเพื่อเจริญอาหาร เถา, ใบอ่อน, เนื้อหุ้มรอบ ๆ เมล็ด ประเทศอินเดียใช้เป็นยาทำให้อาเจียนและยาระบาย เป็นยาถ่ายพยาธิและแก้อาการบวมน้ำ
ตำลึง รสเย็น ใบสดตำคั้นน้ำแก้พิษแมลงสัตว์กัดต่อย ปวดแสบปวดร้อน และคั้นรับประทานเป็นยาดับพิษร้อน แก้เจ็บตา ตาแดง ตาแฉะ
ข้าวโพด รสมันหวาน
-เมล็ด เป็นยาบำรุงกระเพาะอาหาร ฝาด สมานบำรุงหัวใจ ปอด เจริญอาหาร ขับปัสสาวะ
ใบแมงลัก ใบสด รสหอมร้อน เป็นยาแก้หวัด แก้หลอดลมอักเสบ แก้โรคท้องร่วง ขับลม


หมายเหตุ 
แกงเลียงที่อร่อยมักจะต้องสด ใหม่ จึงจะทำให้น้ำแกงหวานโดยธรรมชาติ และหอมน้ำพริกแกง ควรรับประทานขณะร้อนๆ แกงเลียงมักจะรับประทานกับน้ำพริกกะปิ

ประโยชน์ทางอาหาร
แกงเลียงมีส่วนประกอบพริกขี้หนู หอม พริกไทย กะปิ เกลือ กุ้งแห้ง ผักต่าง ๆ เช่น บวบ ฟักทอง น้ำเต้า ตำลึง ข้าวโพด ใบแมงลัก โบราณเชื่อว่าเป็นอาหารที่ช่วยประสะน้ำนมสำหรับสตรีหลังคลอด ทำให้นมบริบูรณ์ และแก้ไข้หวัดได้เป็นอย่างดี

 


 ที่มา http://www.samunpri.com/food/

  


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น